วันนี้ (9 ม.ค.2567) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบพระราชบัญญัติอากาศสะอาดเพื่อประชาชน ซึ่งผ่านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจสอบตามกฎหมายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
อ่านข่าว : "ญี่ปุ่น" แผ่นดินไหว 6.0 อาฟเตอร์ช็อกใกล้จุดเดิมวันปีใหม่
ถือเป็นการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา ที่ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องฝุ่น PM 2.5 ที่มีผลต่อสุขภาพของพี่น้องประชาชนเป็นสิทธิพื้นฐานที่พี่น้องประชาชนควรได้รับ
ทั้งนี้ ช่วงวันที่ 10-11 ม.ค.นี้จะเดินไปทางไป จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามเรื่องปัญหาฝุ่น PM 2.5 รัฐบาลยืนยัน จากทุกมาตรการทั้ง ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เน้นเร่งสร้างอากาศสะอาด สภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ความปลอดภัยต่อสุขภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของพี่น้องประชาชนทุกคน
อ่านข่าว รู้จักร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด "สู้ฝุ่น PM2.5" เร่งออก กม.รอง 22 ฉบับ
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงครม.เห็นชอบร่างพ.ร.บ.อากาศสะอาด
ขณะที่โซเชียลได้ทวีต X ที่รัฐบาลไฟเขียวพ.ร.บ.อากาศสะอาด โดยจักรพล (ท็อป) ตั้งสุทธิธรรม @jakkaphon13 ระบุว่า ขอบคุณครับท่านนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ทำงานกับท่าน
กล้ายืนยันสุดตัวว่านายกรัฐมนตรีเศรษฐา เดินหน้าอย่างเต็มที่ เพื่อแก้ปัญหา PM2.5 ท่านห่วงใย จริงจัง และตั้งใจขจัดปัญหานี้อย่างแท้จริง
รับลูกประชุมสภาพิจารณากฎหมายสะอาด
ส่วนนายณัฐวุฒิ บัวประทุม @nuttha_MFP สส.ก้าวไกล ทวีตX ว่า
วิปฝ่ายค้าน ป/ช เพื่อเตรียมการประชุมสภา ประจำสัปดาห์ โดยมีวาระสำคัญคือร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด ซึ่งรัฐบาลขอแทรกมาเป็นวาระด่วน เพื่อพิจารณาในวันที่ 11 ม.ค.นี้ โดยพรรคก้าวไกล ได้เสนอร่างพ.รบ.ฝุ่นพิษ และมลพิษข้ามพรมแดน รอนายกรัฐมนตรีลงนาม เพื่อนำมาพิจารณาไปพร้อมกัน รวมเป็นทั้งหมด 7 ร่าง
วิปฝ่ายค้าน ป/ช เพื่อเตรียมการ #ประชุมสภา ประจำสัปดาห์ โดยมีวาระสำคัญคือร่าง พรบ.#อากาศสะอาด ซึ่ง รบ.ขอแทรกมาเป็นวาระด่วนเพื่อพิจารณาในวันพฤหัส โดยสำหรับพรรค #ก้าวไกล ได้เสนอร่าง พรบ.#ฝุ่นพิษ และมลพิษข้ามพรมแดน รอนายกฯ ลงนาม เพื่อนำมาพิจารณาไปพร้อมกัน รวมเป็นทั้งหมด 7 ร่าง pic.twitter.com/puBVgFDG0k
— ณัฐวุฒิ บัวประทุม (@nuttha_MFP) January 9, 2024
คลี่ร่างพ.ร.บ.อากาศสะอาด มีอะไรใหม่
สำหรับสำหรับร่างพ.ร.บ.อากาศสะอาด มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 34 มาตรา 37 และมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญ
เหตุผลและความจำเป็นในการกำจัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพ.ร.บ.นี้เพื่อกำหนดให้มีการพัฒนาและบูรณาการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศให้เป็นระบบ ลดสาเหตุการเกิดมลพิษที่แหล่งกำเนิด และป้องกันมลพิษ ฝุ่น ควัน และกลิ่น เข้าสู่สภาพแวดล้อมและชั้นบรรยากาศ
รวมทั้งพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพอากาศระบบการเฝ้าระวัง ระบบการเตือนภัยและระบบการจัดการในสถานการณ์วิกฤตจากมลพิษทางอากาศ และการพัฒ นาองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการมลพิษทางอากาศ เพื่อให้อากาศสะอาด
โดยมีทั้งหมด 102 มาตรา 10 หมวดและบทเฉพาะกาล
นายกรัฐมนตรี นั่งบอร์ดคุมอากาศสะอาด
สาระสำคัญนอกจากกำหนดนิยามแล้ว ยังมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อการจัดการอากาศสะอาด มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ และการตั้งผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการและตัวแทนจากภาคประชาสังคม การตั้งคณะกรรมการอากาศสะอาดระดับจังหวัด มีผู้ว่าฯราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ
นอกจากนี้ให้มีการพัฒนามาตรฐานคุณภาพอากาศสะอาด ระบบเฝ้าระวัง การเตือนภัย รวมทั้งจัดทำแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทต่างๆ เช่น การเผาป่า พื้นที่เกษตร การเผาในที่โล่ง ยานพาหนะ โรงงานอุตสาหกรรม การก่อสร้าง สถานที่ประกอบกิจการ เป็นต้น มาตรการควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด
ขณะที่ยังมีข้อเสนอให้คณะกรรมการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด กำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขสำหรับการประกาศเขตเฝ้าระวังมลพิษทางอากาศ รวมทั้งการกำหนดเครื่องมือและมาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่ออากาศสะอาด การแต่งตั้งเจ้าพนักงาอากาศสะอาด
อ่านข่าว 31 จังหวัดอ่วมฝุ่น PM 2.5 กทม.ฝุ่นพิษระดับสีแดง 3 พื้นที่
ปัญหาการจราจร เป็นหนึ่งในแหล่งกำเนิดฝุ่นในกทม.-ปริมณฑล
เอาผิดปรับทางแพ่ง-ปรับพินัย
และที่สำคัญกำหนดความรับผิดทางแพ่ง ต้องชดใช้การจ่ายค่าสินไหมทดแทนและค่าเสียหายตามมาตรา 72 และมาตรา 73 ส่วนโทษทางอาญา ให้ผู้กระทำโดยเจตนาหรือประมาท ปล่อยทิ้งอากาศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกินหนึ่ง100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท ตลอดระยะเวลา
ส่วนเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศก่อให้เกิดหรือมีส่วนก่อให้เกิดภาวะมลพิษทางอากาศจนก่อให้เกิดการแพร่กระจายเข้ามาในราชอาณาจักร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท และปรับไม่เกินอีกวันละ 1 ล้านบาทตลอดระยะเวลาที่ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องหรือหยุดการกระทำเช่นนั้น
ส่วนหมวดที่ 10 มาตรการปรับเป็นพินัย กล่าวคือ มาตรา 86 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขจัดทำรายงานการปล่อยอากาศเสียมาตรา 38 (3) มีความผิดทางพินัยต้องชำระค่าปรับเป็นพินัยไม่เกิน 50,000 บาท ผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษฝ่าผืนมาตรา 39 มีความผิดพินัยต้องชำระค่าปรับเป็นพินัยไม่เกิน 100,000 บาท
ทั้งนี้ พ.ร.บ.นี้ให้ใช้บังคับเมื่อกำหนด 60 วันนับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
อ่านข่าว ฝุ่น PM 2.5 ภัยร้ายต่อสมอง-ระบบประสาท