ภายหลังงานสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 3 โครงการศึกษากำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า และหลักเกณฑ์การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง
นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยว่า ผลสรุปเบื้องต้นพบว่า ค่าโดยสารสูงสุดในการเดินทางของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่วนใหญ่ยอมรับการจ่ายค่าโดยสารสูงสุดในการเดินทาง 1 ครั้งทุกสายรวมกัน ไม่เกิด 42 บาทต่อเที่ยวหรือระยะทาง 13 กม.
ส่วนมาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาทตลอดสาย โดยได้นำร่องรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ พบว่าตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค.66 ถึงปัจจุบัน มีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนพบว่ามีประชาชนใช้บริการเพิ่มขึ้น
รถไฟฟ้าสายสีชมพู
สำหรับสายสีแดง ในวันทำงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-12 ส่วนในวันหยุดเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วง วันทำงานมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 วันหยุดร้อยละ 12 ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่า จะสูญเสียรายได้ทั้งหมด ประมาณ 300 ล้านบาทต่อปี
อ่านข่าว : กกพ.คาดค่าไฟฟ้า "พ.ค.-ส.ค." อยู่ที่ 4.20-4.25 บาทต่อหน่วย
มั่นใจว่าหากหลังจากนี้ 9 เดือนที่เหลือ มีผู้โดยสารใช้บริการมากขึ้น จะทำให้ชดเชยน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยจะมีการเสนอให้ ก.คมนาคม พิจารณาต่อมาตรการดังกล่าวในช่วงสิ้นเดือนนี้
กรมฯ คาดว่า ภายในปี 2567 นี้ จะสามารถดำเนินมาตรการค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย กับรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 2 เส้นทาง ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เนื่องจากพบว่า ปริมาณผู้โดยสารของทั้ง 2 เส้นทาง ยังมีไม่มาก หรือยังมีจำนวนไม่เกิน 3-4 แสนคนต่อวัน ทำให้สามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารได้ง่าย ซึ่งจะใช้วิธีให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ชดเชยรายได้ให่แก่เอกชนเช่นเดิม
อ่านข่าว : ครม.เห็นชอบลดภาษีดีเซล 1 บาทต่อลิตรนาน 3 เดือน
นอกจากนี้ ยังเสนอว่า หากในอนาคตการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า จะไม่ให้ดำเนินการในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐบาลและเอกชน (PPP Gross Cost) โดยจะให้รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนทั้งหมดเอง 100% มิฉะนั้นจะไม่สามารถลดค่าโดยสารได้
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
ส่วนกรณีที่ ก.คมนาคม มีแผนจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซิน ในอัตราเพิ่มขึ้น 0.50 บ.เฉพาะสถานีมันในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อนำเงินมาสนับสนุนเข้ากองทุนตั๋วร่วม ซึ่งจะทำให้อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าเหลือ 20 บาทตลอดสาย นั้น กรมฯ มองว่า สามารถดำเนินการได้เนื่องจากเรื่องนี้เป็นแผนระยะยาว ของ พ.ร.บ.ตั๋วร่วม โดยใช้วิธีการให้ รฟม.ชดเชยรายได้ให้กับเอกชนต่อไป
อ่านข่าว : แห้ว “ดิจิทัลวอลเล็ต” 10,000 บาท แจกไม่ทัน พ.ค.นี้
อย่างไรก็ตาม การสัมมนาครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากนี้จะสรุปผลการเปิดรับฟังความคิดเห็นทั้งหมด เสนอต่อกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาเห็นชอบ ภายในเดือน ก.พ.นี้ แต่ยอมรับว่า จะสามารถบังคับใช้ได้หลังจากร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางราง พ.ศ....ที่ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการเสนอคณะรัฐมนตรี ผ่านการพิจารณา
อ่านข่าวอื่น ๆ
สภา กทม.เคาะจ่ายหนี้ "รถไฟฟ้าสายสีเขียว" 2.3 หมื่นล้าน
"ศักดิ์สยาม" ลาออก สส.-เลขาฯพรรคภูมิใจไทยแล้ว
รวบเยาวชนชาย อายุ 8-15 ปี ก่อเหตุงัดบ้านครูลักทรัพย์
ระทึก! "โรงงานพลุระเบิด” สุพรรณบุรี ตาย 20 คน สาหัส 7 คน