วันนี้ (26 ม.ค.2567) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ค “Yong Poovorawan” ระบุว่า โควิด-19 ควรฉีดวัคซีนโควิด 19 อีกหรือไม่
- "กยศ." ให้ "ผู้กู้" เริ่มทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ 15 ก.พ.67
- ตำรวจ ปปป.ซ้อนแผนจับ “ศรีสุวรรณ” เรียกรับ 1.5 ล้าน “อธิบดีกรมการข้าว” แลกไม่ยื่นร้องเรียน
วัคซีนทุกชนิดมีประโยชน์ และอาจมีอาการข้างเคียง เช่น วัคซีนโปลิโอชนิดหยอด ชนิดกิน ใช้กันมานานกว่า 50 ปี ก็ยังมีอาการข้างเคียง เป็นวัคซีนเชื้อเป็น หยอดแล้วตัววัคซีนเองยังสามารถทำให้เกิดกล้ามเนื้อลีบเป็นโปลิโอ แต่โอกาสจะเป็นหนึ่งในล้าน แต่ถ้าไม่หยอดโอกาสจะได้รับเชื้อโปลิโอและเป็นโปลิโอมากกว่ามากมาย เราก็หยอดกันมาตลอด จนโรคแทบจะหมดไป
จนมาปัจจุบันเชื้อโปลิโอเหลือน้อยลงไปมาก เราจึงพยายามที่จะเปลี่ยนวัคซีนโปลิโอชนิดกิน มาเป็นชนิดฉีดแบบเชื้อตาย เพราะวัคซีนไม่มีโอกาสให้เด็กเป็นโปลิโอได้เลย
เช่นเดียวกันกับวัคซีนโควิด 19 ก็คงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ในอดีตที่ผ่านมาในปีแรก ถ้าใครติดเชื้อโควิด 19 โอกาสลงปอดสูงมาก ถึงกับเสียชีวิตได้ร้อยละ 3-5 เมื่อเทียบกับอาการข้างเคียงของวัคซีนโควิด 19 ที่มีน้อยกว่ามาก จึงทำให้วัคซีนโควิด 19 ช่วยรักษาชีวิตไว้เป็นจำนวนมากมาย
สถานการณ์ในปัจจุบันเปลี่ยนไป เมื่อติดเชื้อโควิด 19 ในปีนี้ โอกาสเสียชีวิตอาจจะอยู่ที่หนึ่งในพันหรือน้อยกว่า ความต้องการการฉีดวัคซีนจึงเน้นไปอยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มเปราะบางที่เมื่อเป็นโควิดแล้วจะอันตรายถึงชีวิตได้มาก
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :
"หมอยง" เปิดวิวัฒนาการก่อโรคโควิด 19 และการตั้งชื่อ