ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

นักวิจัยไทยค้นพบ "กาแล็กซีมวลน้อย" เพิ่มอีก 13 กาแล็กซี ด้วย "กล้องเจมส์ เว็บบ์"

Logo Thai PBS
 นักวิจัยไทยค้นพบ "กาแล็กซีมวลน้อย" เพิ่มอีก 13 กาแล็กซี ด้วย "กล้องเจมส์ เว็บบ์"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักวิจัยไทยค้นพบ "กาแล็กซีมวลน้อย" เพิ่มอีก 13 กาแล็กซี ด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ "เจมส์ เว็บบ์"

วันนี้ (1 ก.พ.2567)  สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) เปิดเผยว่า ดร.ณิชา ลีโทชวลิต นักวิจัย NARIT กลุ่มวิจัยจักรวาลวิทยาและดาราศาสตร์ทฤษฎี นำทีมนักดาราศาสตร์ภายใต้เครือข่ายวิจัย GLASS collaboration ใช้ข้อมูลจากภาพชุดแรกของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ค้นหากาแล็กซีขนาดเล็ก ซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่เอกภพมีอายุประมาณ 550-700 ล้านปี หรือประมาณ 13,000 ล้านปีก่อน ค้นพบกาแล็กซีที่มีมวลน้อยกว่ากาแล็กซีทางช้างเผือก 10-100 เท่า จำนวน 13 กาแล็กซี

นับเป็นกาแล็กซีอีกกลุ่มหนึ่งที่มีมวลน้อยที่สุดเท่าที่เคยค้นพบในช่วงดังกล่าวของเอกภพ การค้นพบนี้ช่วยให้นักดาราศาสตร์มีข้อมูลกาแล็กซีมวลน้อยในช่วงเวลาดังกล่าวของเอกภพเพิ่มมากขึ้น และมากพอที่จะนำมาใช้วิเคราะห์คุณสมบัติทางสถิติได้ งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Astrophysical Journal Letters

อ่านข่าว : ภาพแรกสุดชัดจากเจมส์ เว็บบ์ "กระจุกกาแล็กซี SMACS 0723"

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ อธิบบายเพิ่มว่า เมื่อประมาณ 13,000 ล้านปีก่อน ขณะที่เอกภพมีอายุประมาณ 550-700 ล้านปี เป็นช่วงที่สสารระหว่างกาแล็กซีกลับกลายเป็นพลาสมาอีกครั้ง เรียกว่ายุค Epoch of Reionization เพื่อที่จะเข้าใจวิวัฒนาการเอกภพในยุคดังกล่าว นักดาราศาสตร์จำเป็นต้องศึกษากาแล็กซีในยุค Epoch of Reionization ทั้งมวล อายุ รูปร่าง หรือแม้กระทั่งความเป็นโลหะของกาแล็กซีดังกล่าว โดยเฉพาะกาแล็กซีที่มีมวลน้อย

อย่างไรก็ตามการสังเกตการณ์กาแล็กซีมวลน้อยทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากกาแล็กซีเหล่านั้นอยู่ห่างจากโลกมาก และมีความสว่างน้อยมากทำให้ต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ เช่น กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์

งานวิจัยนี้ คณะผู้วิจัยได้ใช้ข้อมูลภาพถ่ายชุดแรกของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ภายใต้โครงการวิจัย GLASS-JWST-ERS program ค้นหากาแล็กซีมวลน้อย ซึ่งภาพถ่ายชุดแรกนั้นใช้อุปกรณ์ NIRCam สังเกตการณ์เป็นระยะเวลา 20 ชั่วโมง

อ่านข่าว : นาซาเปิดภาพ "ดาวอังคาร" จากเฮลิคอปเตอร์ Ingenuity

ภาพที่ได้จากอุปกรณ์นี้จะทำให้ได้ภาพถ่ายใน 7 ฟิลเตอร์ ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ครอบคลุมความยาวคลื่นระหว่าง 900 – 4,400 นาโนเมตร

ข้อมูลจากภาพถ่ายที่ได้ นำมาสู่การค้นพบกาแล็กซีใหม่ 13 กาแล็กซี ที่มีมวลน้อยกว่ากาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา 10-100 เท่า

เมื่อนำข้อมูลกาแล็กซีที่ถูกค้นพบใหม่มาคำนวณ พบว่ากาแล็กซีเหล่านี้กำลังมีดาวฤกษ์เกิดใหม่จำนวน 1-10 ดวงต่อปี และอายุเฉลี่ยของดาวฤกษ์ภายในกาแล็กซีเหล่านี้อยู่ระหว่าง 30-200 ล้านปี เป็นไปตามทฤษฎีที่นักดาราศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้

นอกจากนี้ จากข้อมูลอายุของดาวฤกษ์ คณะผู้วิจัยสามารถสร้างสูตรคำนวณอย่างง่าย เพื่อประมาณอัตราการเกิดของดาวฤกษ์ใหม่ รวมถึงมวลของกาแล็กซีได้อีกด้วย

ก่อนหน้านี้ ดร.ณิชา นักวิจัยไทยจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เคยร่วมค้นพบหนึ่งใน "กาแล็กซีที่ไกลที่สุด" ด้วยกล้องเจมส์ เว็บบ์ ร่วมกับทีม GLASS ใช้ข้อมูลจากเจมส์ เว็บบ์ สังเกตแสงอันริบหรี่ จากห้วงอวกาศลึก และค้นพบกาแล็กซีที่มีระยะห่างออกไปถึงกว่า 13,500 ล้านปีแสง นับเป็นกาแล็กซีที่ไกลที่สุดกาแล็กซีหนึ่งเท่าที่เคยมีการค้นพบในปัจจุบัน 

อ่าน รู้จัก "ณิชา ลีโทชวลิต" นักวิจัยไทยร่วมค้นพบ "กาแล็กซี" ที่ไกลที่สุด

อ่านข่าวอื่น ๆ

เกาะกระแส "ดาราศาสตร์" 10 เรื่องห้ามพลาด ปี 2567

NASA พบร่องรอยการเคลื่อนที่ของ “ธารน้ำแข็ง” บนดาวอังคาร

เปิดภาพถ่าย “กล้องโทรทรรศน์อวกาศ IXPE” ตลอด 2 ปีของการค้นพบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง