ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิดรับฟังความเห็นพัฒนาประตูช้างเผือก จ.เชียงใหม่

ภูมิภาค
6 ก.พ. 67
17:22
694
Logo Thai PBS
เปิดรับฟังความเห็นพัฒนาประตูช้างเผือก จ.เชียงใหม่
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ประตูเมืองเชียงใหม่มีด้วยกัน 5 ประตู ที่ได้ชื่อว่าสำคัญที่สุด คือ“ประตูช้างเผือก“หรือ ประตูหัวเวียง อยู่ทิศเหนือ การพังทลายของประตูนำมาสู่การขุดค้นทางโบราณคดี เผยให้เห็นร่องรอยแต่ละยุคสมัย และเกิดเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อพัฒนาประตูช้างเผือกที่ทุกคนอยากเห็น

หากย้อนไปเมื่อปี 2528 การสร้างประตูท่าแพขึ้นมาใหม่ เป็นเรื่องที่ถึงขนาดคนในเชียงใหม่ สาปแช่ง บอกว่าเป็น “ขึดเมือง” คือสิ่งอัปมงคลของเมือง

หรือการพังทลายของประตูช้างเผือก เมื่อ 25 ก.ย.65 ก็คือจุดเริ่มต้นที่สำคัญนำมาสู่การขุดค้นทางโบราณคดีอีกครั้ง

การขุดค้นโบราณคดีประตูช้างเผือกเคยขุดก่อนหน้านี้เมื่อปี 2538 และการขุดค้นโบราณคดีปี 2566 ครั้งนี้ไม่เพียงขุดและฝั่งกลบเหมือนครั้งก่อนแต่จะเป็นการฟื้นคุณค่า และความจริงแท้ รวมถึงการพัฒนาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของประตูช้างเผือก เป็นที่มาของเวทีคืนข้อมูลการขุดค้นและรับฟังความเห็นของประชาชนครั้งแรก

กิจกรรมแบ่งเป็นช่วงเช้า คือ มีการปาฐกถาของ ศ.เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโบราณคดีล้านนา อดีตหัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ม.เชียงใหม่ และการบรรยายบริเวณประตูช้างเผือก พื้นที่การขุดค้นทางโบราณคดี โดยสายกลาง จินดาสุ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่

อ่านเพิ่มเติม : “ประตูช้างเผือก” เชียงใหม่ อ่านล้านนาผ่านก้อนหินและผืนดิน www.thaipbs.or.th/news/content/334234

ช่วงบ่ายมีกิจกรรมบรรยาย เช่น ประตูช้างเผือกจากภาพถ่ายและเอกสารทางประวัติศาสตร์ อ.ณัฐพงษ์ ปัญจบุรี สาขาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เล่าพัฒนาการของประตูช้างเผือกที่ปรากฎหลักฐานชั้น 1 ทางประวัติศาสตร์ของประตูการใช้งานอดีตจนถึงปัจจุบัน

ประตูช้างเผือกผ่านการบอกเล่าของภาคประชาสังคม นักโบราณคดีที่ขุดค้น และมาสู่เวทีเสวนาแลกเปลี่ยน อนาคต การอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานประตูช้างเผือก

ศ.เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโบราณคดีล้านนา กล่าวถึงการอนุรักษ์ และพัฒนาประตูช้างเผือก เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน คนพูดอ้อมไปอ้อมมา ทำไมเมื่อขุดค้นประตูช้างเผือก ได้เห็นและได้ความรู้จะกลบทิ้งน่าเสียดาย เสนอว่า เรื่องแรกควรจะรักษา เรื่องที่สองประตูช้างเผือกกล้ม อดีตเป็นเรื่องละเอียดอ่อนการสร้างใหม่คนไม่เห็นด้วย

ประตูช้างเผือกพิสูจน์ในแง่ของกฎหมาย กรมศิลปากรต้องอนุรักษ์ ถ้าจะอนุรักษ์และพัฒนาประตูช้างเผือกสร้างใหม่ได้ไม่ผิดกฎหมาย ทำไมจะสร้างแบบท่าแพไม่ได้

 เรื่องที่สาม การสร้างขึ้นมาใหม่เป็นซุ้มแบบประตูเมือง ตามแบบเสาที่ขุด การใช้ประโยชน์ก็จะเปลี่ยนแปลงไป ประตูท่าแพช่วงนั้นสำเร็จได้ เพราะช่วงนั้นไม่มีพื้นที่ของเมือง

ประตูช้างเผือกมีข่วง สร้างแบบเดิม อนุรักษ์ที่มีอยู่ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์และศึกษาประวัติศาสตร์ของเมือง

รศ.สมโชติ อ๋องสกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโบราณคดีล้านนา มองเรื่องนี้ว่า ประตูช้างเผือก หรือ ประตูหัวเวียง ควรเป็นแหล่งสร้างความรู้กลางเมืองเชียงใหม่ เป็นเดชเมือง กล่าวคือเพราะสร้างเมืองเชียงใหม่ วันเกิดเมืองวันพฤหัสบดี เดชเมืองอยู่ที่ทิศเหนือทักษาเมืองจึงมีคติรองรับ

การขุดแต่งโบราณคดีเผยความรู้ ควรเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต เป็นโจทย์ใหญ่ของเมืองประวัติศาสตร์ หลักฐานความรู้ไปสู่เมืองมรดกโลก

รศ.สมโชติ ย้ำโจทย์การพัฒนาประตูช้างเผือก เกี่ยวข้องหลายฝ่าย เช่น เทศบาลนครเชียงใหม่ ธนารักษ์ โยธาธิการและผังเมือง จังหวัด คณะกรรมการเมืองเก่า ต้องได้รับข้อมูล และสื่อสารกับสังคม

เสาวคนธ์ ศรีบุญเรือง เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ มองว่าการพัฒนาประตูช้างเผือก มองเป็น “ข่วงกว้างๆ” การออกแบบต้องอยู่บนความภูมิใจและใช้ประโยชน์ของชาวบ้านได้ด้วย นอกจากความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ การออกแบบทำประตูแบบท่าแพ และไล่ระดับเหมือนแจ่งหัวริน ถ้าเป็นกระจกแสดงพื้นที่โบราณสถานด้านล่างกังวลปัญหา ภูมิทัศน์โดยรอบต้องสอดคล้องกับกติการ่วมกัน เช่น ป้ายโฆษณาที่ไม่บดบังภูมิทัศน์เมือง

อดุลย์ เหรัญญะ อดีตประธานกรรมาธิการสถาปนิกล้านนา ระบุถึงการประสานประโยชน์พื้นที่สาธารณะ ในมุมของสถาปนิก มีแนวทาง 3 แนวทาง คือ เรื่องแรก งบประมาณ เวลา ความสมบูรณ์ข้อมูลทางวิชาการ เรื่องที่สอง ถ้ามีความขัดแย้ง คงไม่สามารถทำได้ เรื่องที่สาม มองว่าเป็นของส่วนรวม การออกแบบควบคู่กับการพัฒนา เช่น การปิดการเดินรถความขัดแย้งทางจราจรน่าจะลดลง การพัฒนาโบราณสถานจำลองใต้ดินควรโผล่ขึ้นมา 20-30 เปอร์เซ็นต์ หรือใช้วัสดุกระจกเปิดเผยบางส่วนด้านล่าง ควรมองข่วงประตูช้างเผือกและภูมิสถาปัตยกรรมเข้ากับเมือง

ชินณวุฒิ วิลยาลัย ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ระบุว่านโยบายหลังจากขุดเจอประตูช้างเผือก เพื่อให้ประชาชนได้ใช้งานได้ การจะอนุรักษ์ภาคประชาชนมีส่วนร่วมอนุรักษ์

การพัฒนาประตูช้างเผือกทุกส่วนต้องช่วยกันเสนอแนวทางการพัฒนา แนวทางการพัฒนายังไม่ฟันธงทางไหน อยากฟังความเห็นทุกภาคส่วน ต่อจากนี้จะนำไปพัฒนาต่อ

สำหรับประตูช้างเผือก หรือประตูหัวเวียง เป็นประตูมงคล เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ หรืองานมงคล จะเข้าเมืองประตูทิศนี้ ประตูมีการพัฒนาหลายช่วงในอดีตไม่เห็นในแบบปัจจุบันปรับตามแบบความเหมาะสมหลายยุคสมัย ดังนี้การพัฒนาประตูเมืองจึงต้องรับฟังความเห็นทุกฝ่ายเพื่อประโยชน์การใช้งานควบคู่การอนุรักษ์ในปัจจุบัน

ร่วมแสดงความเห็น หรือข้อเสนอ แนวทางการพัฒนาประตูช้างเผือกเพิ่มเติม ที่ สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ www.facebook.com/finearts7chiangmai

โกวิทย์ บุญธรรม ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส ศูนย์ข่าวภาคเหนือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง