อ่าน : วันวาเลนไทน์ 2567 "จดทะเบียนสมรส" กับเรื่องที่ "คู่รัก" ต้องรู้
วันนี้ (12 ก.พ.2567) ภายหลังการประชุมการให้บริการของผู้ประกอบการให้บริการภาคพื้นของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้รับการร้องเรียนจากสายการบิน เช่น คาเธ่ย์ แปซิฟิก, โคเรียนแอร์, ออลนิปปอนแอร์เวย์ เอเชียน่า ระบุว่า มีปัญหาการให้บริการภาคพื้นที่จากบุคลากรมีไม่เพียงพอ อุปกรณ์ไม่มีคุณภาพของการบินไทยที่ทำให้การบริการล่าช้า
อ่าน : ครม.ไฟเขียว หยุด 12 เม.ย. “เพิ่มหยุดสงกรานต์” รวมเป็น 5 วัน
ปัจจุบันสนามบินสุวรรณภูมิ มีผู้ให้บริการภาคพื้น ได้แก่ การบินไทย, บางกอกแอร์เวย์ส (BFS) ซึ่งตามมติคณะรัฐมนตรีก่อนหน้านี้สมัยที่ตนเองเป็น รมว.คมนาคม ให้การบินไทยในฐานะสายการบินแห่งชาติได้สิทธิในการให้บริการภาคพื้นยาวนานกว่า 30 ปี
วันนี้ได้เรียกผู้ประกอบการภาคพื้นเข้ามาหารือ ซึ่งส่วนตัวต้องการให้สายการบินไปใช้ที่อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) แทน ในระหว่างที่มีการซ่อมแท็กซี่เวย์ แต่สายการบินส่วนใหญ่มีความกังวลว่า หากใช้งานที่อาคาร SAT-1 จะมีปัญหาเรื่องระบบขนส่งกระเป๋าจะรองรับไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องของในระบบ โดยจะให้บริษัท หรือ บริษัทบริการภาคพื้น ท่าอากาศยานไทย จำกัด (OSCA) ซึ่งเป็นบริษัทที่เข้ามาให้บริการในช่วงโควิด-19 ที่มีปัญหาเรื่องบุคลากรภาคพื้นขาดแคลน โดยให้ ทอท.หารือภายใน 2 สัปดาห์
อ่าน : "Narcissistic" คลั่งรัก-หลงตัวเอง โรคร้ายทำลายทุกคน
ปัจจุบันการบินไทยเหลือสัญญาอีก 12 ปี และสัญญาระบุว่า สามารถยกเลิกสัญญาได้ หากการให้บริการไม่เป็นไปตามสัญญาโดยจะพิจารณาเดือนต่อเดือน หากการบินไทยไม่สามารถทำให้บริการดีขึ้นก็อาจจะพิจารณาเรื่องสัญญา
ด้านนายกีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทอท.อยู่ระหว่างจัดประมูลหาผู้ให้บริการภาคพื้นรายที่ 3 แต่ขณะที่อยู่ระหว่างคณะกรรมการ ตาม ม.35 ที่กำลังพิจารณา TOR โดยกระบวนการหลังจากนี้หากคณะกรรมการเห็นชอบคาดว่า ภายในเดือน ก.พ.จะเข้าสู่กระบวนการการรับฟังความคิดเห็นคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
จากนั้นในช่วงปลายเดือน เม.ย.คาดว่า จะสามารถประมูลได้ แต่หลังจากการประมูลคาดว่า ต้องใช้เวลาประมาณ 3 เดือนจึงจะได้ตัวผู้ประกอบการรายใหม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ ทอท.ได้หารือผู้ประกอบการ 2 ราย ที่ให้บริการในปัจจุบันซึ่งยินยอมให้บริษัท OSCA เข้ามา
เนื่องจากช่วงหลังโควิด-19 ก.คมนาคม ได้เรียกประชุมผู้ประกอบการว่า เกิดวิกฤตในเรื่องของการให้บริการภาคพื้น ซึ่งในขณะนั้นก็ได้มีการขอความเห็นไปทาง สคร.ในเรื่องของการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน แต่ สคร.มีความเห็นมาว่า ปัญหาในการให้บริการสามารถให้บริการชั่วคราวได้ โดยอยู่บนพื้นฐานว่า ผู้ให้บริการรายปัจจุบันไม่สามารถที่จะให้บริการได้
ขณะที่นโยบายวีซ่าฟรี ทำให้มีความต้องการการบินเพิ่มขึ้น โดยในเดือน พ.ย.อยู่ที่ประมาณ 800 เที่ยวบินต่อวันแต่ล่าสุดอยู่ที่วันละ 1,000 เที่ยวบินต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 พร้อมยืนยันว่า SAT-1 สามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึงวันละ 400 เที่ยวบิน ซึ่งปัจจุบันมีการใช้งานเพียงวันละ 82 เที่ยวบิน เท่านั้น