ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"บิ๊กป๊อด" ตอบกระทู้สดครั้งแรก แก้กัดเซาะชายฝั่งปากพนัง

การเมือง
15 ก.พ. 67
19:17
228
Logo Thai PBS
"บิ๊กป๊อด" ตอบกระทู้สดครั้งแรก แก้กัดเซาะชายฝั่งปากพนัง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"บิ๊กป๊อด" โผล่สภาตอบกระทู้ถามสดครั้งแรกของ สส.นครศรีธรรมราช แก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งปากพนัง ย้ำตั้งทีมหารูปแบบที่เหมาะสมผลจะออก มี.ค.นี้

วันนี้ (15 ก.พ.2567)ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพานรองประธานสภาฯคนที่สอง เป็นประธานการประชุม นายพิทักษ์เดช เดชเดโช สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจาถาม พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ทรัพยากร ธรรม ชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนกรณีการกัดเซาะชายฝั่ง ถือเป็นครั้งแรกที่พล.ต.อ.พัชรวาท มาตอบกระทู้ถามสดด้วยตัวเอง

นายพิทักษ์เดช กล่าวว่า ตลอดแนวชายฝั่งของ อ.ปากพนัง และอ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ประชาชนได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้น มานานถึง 8 ปีแล้ว และอยากให้ทบทวนการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โดยดีใจแทนชาวบ้านที่ พล.ต.อ.พัชรวาท มาตอบกระทู้

ด้านพล.ต.อ.พัชรวาท ชี้แจงว่า การแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่ง อ.ปากพนัง อ.หัวไทร เนื่องจากกรมโยธาธิการและผังเมือง มีโครงการสร้างเขื่อนหินใหญ่เรียงเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง แต่ต้องมีการทบทวนโครงการเนื่องจากมีความกังวลเรื่องผลกระทบต่อเนื่องจากโครงการ และอาจจะกระทบไปถึงบริเวณปลายแหลมตะลุมพุกได้

แต่ชาวบ้านอยากได้เขื่อนกันคลื่นที่มีความแข็งแรง คงทน ถาวร แต่ปัจจุบันทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) แก้ไขโดยการปักรั้วไม้ชะลอคลื่น ซึ่งเป็นโครงการไม่ถาวร และอยู่ได้ไม่นาน ชาวบ้านไม่ค่อยเห็นด้วย ประกอบประกาศกระทรวง ทส.กำหนดว่าการสร้างเขื่อนกั้นคลื่นทุกขนาดต้องทำอีไอเอ จึงทำให้การแก้ปัญหาล่าช้า

ยืนยัน ทส.ให้ความสำคัญกับประชาชนที่เจอปัญหาคลื่นกัดเซาะโดยเฉพาะ อ.ปากพนัง มีชายฝั่งที่สมบูรณ์ และสวยงาม การแก้ปัญหาต้องไม่ให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ข้างเคียง

ทางกระทวงฯ จึงมอบหมายให้นักวิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้คณะอนุกรรมการบูรณาการด้านการจัดการการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ศึกษารูปแบบที่เหมาะสมให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันหรือช่วงมี.ค.นี้ ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาวทาง ทส.พยายามเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง