ศาลปกครองสูงสุด ยกฟ้องคดีชาวบ้านยื่นฟ้องกรมเจ้าท่า สร้างเขื่อนกันทรายและกันคลื่นปากร่องน้ำสะกอม จนชายหาดถูกกัดเซาะเสียหายรุนแรง หลังต่อสู้นาน14 ปี ให้เหตุผลความเสียหายไม่ได้มาจากการสร้างเขื่อนเพียงอย่างเดียว แต่มีปัจจัยคลื่นลม ไม่อยู่ในเงื่อนไขต้องทำ EIA
กรมเจ้าท่าทุ่มงบประมาณเกือบ 220 ล้านบาท ก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ความยาว 3.4 กิโลเมตร บริเวณบ้านทุ่งใหญ่ หมู่ที่ 3 -7 ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา หลังถูกคลื่นกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง 2 ปี จนทิวสนโค่นล้มกว่า 30 ต้น และต้องซ่อมถนนเลียบชายทะเล
ปัญหากัดเซาะชายฝั่งบริเวณอ่าวตัว ก. ยังวิกฤต นักวิชาการระบุ อีก 20 ปี แนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทยหรือตลอดแนวถนนสุขุมวิทสายเก่าจะหายไป 1.3 กิโลเมตร หากยังไม่มีมาตรการรับมือที่เป็นรูปธรรม อีก 100 ปี ข้างหน้า จะขยับรุกชายฝั่งเข้าไปอีก 6-8 กิโลเมตร
ที่ผ่านมาภาครัฐก่อสร้างเขื่อนริมทะเลเพื่อป้องกันการกัดเซาะ ทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทยกว่า 900 โครงการ ด้วยงบประมาณหลายหมื่นล้านบาท แต่ผลกระทบก็ยังเพิ่มขึ้น ขณะที่บางส่วนของชายหาดได้หายไป ชัดเจนว่าโครงสร้างแข็งแบบนี้ ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
การแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม ถือเป็นหนึ่งแนวทางที่ทางกรมโยธาธิการและผังเมือง เลือกใช้เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่นเดียวกับหาดแม่รำพึง จ.ประจวบคีรีขันธ์ และหาดทรายรี จ.ชุมพร ที่ผ่านมามีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ว่าจะสามารถช่วยแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้จริงหรือไม่ ?
ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอ่าวไทยที่เกิดขึ้น หน่วยงานภาครัฐ อย่างกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยการก่อสร้างเขื่อน หรือกำแพงกันคลื่น ขณะที่นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง สะท้อนว่าวิธีดังกล่าว จะยิ่งเป็นการส่งผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงหรือไม่?
การกัดเซาะชายฝั่ง ภัยคุกคามที่กำลังถูกแก้ไข ด้วยโครงการขนาดใหญ่ที่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามที่มากกว่าเดิม ด้วยงบประมาณมหาศาลในการสร้างกำแพงกันคลื่นที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ในขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอ้างความเดือดร้อนของผู้ที่ได้รับผลกระทบ นักวิชาการและภาคประชาชนชี้ให้เห็นถึงหายนะที่ไม่รู้จุดจบของโครงสร้างถาวรริมทะเล
ภารกิจดำน้ำสำรวจความสมบูรณ์ของอ่าวไทยที่อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร แล้วไปออกเรือกับนักวิจัยเพื่อตามหาสัตว์ตัวโตอย่าง "วาฬบรูด้า" ที่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ติดตามชมได้ในสารคดี "2 องศา วิกฤตอากาศเปลี่ยน" วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2562 เวลา 21.15 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ภัยจากการที่น้ำทะลกัดเซาะชายฝั่ง แต่ละปีชายฝั่งทั้งอ่าวไทยและอันดามัน มีพื้นที่ชายฝั่งหายไปทุกปี ปีละ 30 เมตร มีพี่น้องในบางพื้นที่ต้องไร้ที่อยู่อาศัย ต้องทิ้งถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่น ภัยเงียบนี้จะอันตรายและส่งผลรุนแรงอย่างไร ติดตามทั้งหมดได้ในรายการรู้สู้ภัย Don't Panic วันเสาร์ที่ 28 ก.ย. 62 เวลา 11.00 - 11.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live