ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ทะเลอ่าวไทยอุ่นขึ้น 1 องศาฯ จับตา 3 เดือนเสี่ยงปะการังฟอกขาว

สิ่งแวดล้อม
5 มี.ค. 67
14:38
1,596
Logo Thai PBS
ทะเลอ่าวไทยอุ่นขึ้น 1 องศาฯ จับตา 3 เดือนเสี่ยงปะการังฟอกขาว
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
อาจารย์ธรณ์ เตือนน้ำทะเลอุ่นขึ้น 1 องศาเซลเซียส พบมีนัยสำคัญร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว จับตาอีก 3 เดือน ปะการังอ่าวไทย-อันดามันเสี่ยงฟอกขาว หลังพบที่ Great Barrier Reef ปะการังฟอกขาว 1,000 กม.

ไม่เพียงแต่อุณหภูมิความร้อนที่ผิวกายของคนสัมผัสได้ถึงความร้อน แต่ระบบนิเวศทางทะเล โดยเฉพาะปะการังถือว่ามีความอ่อนไหวมากที่สุดหากอุณหภูมิน้ำทะเลอุ่นขึ้นเพียงแค่ 1-2 องศาเซลเซียส

จับตาปะการังเริ่มฟอกขาว 

เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ของ ผศ.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า เตือนไว้ 4 ประเด็นคือ น้ำทะเลช่วง ก.พ.ปีนี้ ร้อนกว่าปีที่แล้ว และยังร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้อาจเกิดปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ในช่วง 3 เดือนข้างหน้า ทั้งอ่าวไทยและอันดามัน และ Great Barrier Reef ก็เกิดปะการังฟอกขาวแล้วกว่า 1,000 กิโลเมตร

การฟอกขาวของปะการัง จะส่งผลต่อระบบนิเวศอื่นๆ ทั้งหญ้าทะเล แพลงก์ตอนบลูม กระทบการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และยังรวมไปถึงเรื่องการทำมาหากิน จับสัตว์ทะเล หรือการท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน 

อ่านข่าว โลกร้อนพ่นพิษ นับถอยหลัง 30 ปี ปะการังทั่วโลกตาย 90 %

ปะการังของ Great Barrier Reef ฟอกขาวมากถึง 1,000 กม.

ปะการังของ Great Barrier Reef ฟอกขาวมากถึง 1,000 กม.

ปะการังของ Great Barrier Reef ฟอกขาวมากถึง 1,000 กม.

น้ำทะเลอุ่นขึ้น 1 องศาฯ แตะ 31 องศาฯ 

ผศ.ธรณ์ กล่าวว่า คาดการณ์ว่าอุณหภูมิน้ำทะเลปีนี้หากเทียบกับปี 2566 ในช่วงเวลาเดียวกันสูงกว่า 1 องศาเซลเซียส และในเดือนมี.ค.ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่สถานีที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี วัดอุณหภูมิน้ำทะเลแบบเรียลไทม์ พบว่าเกิน 31 องศาเซลเซียสไปแล้ว และอาจจะร้อนที่สุดตั้งแต่บันทึกมา

หากเกิดปะการังฟอกขาว จะทำให้ปะการังตายและมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยว อย่างแน่นอน เพราะบางแห่งเช่นหมู่เกาะสุรินทร์ 2 ปีปะการังยังฟื้นตัวยาก ตายแล้วตายเลยเพราะมีการฟแกขาวซ้ำซ้อน ถ้าเป็นปีเอลนีโญ่ด้วย 

อ่านข่าว สอบปม "กะเทยฟิลิปปินส์" อยู่ไทยผิด กม. บางคนหนีกลับประเทศ

ตรวจพบน้ำทะเลสถานีศรีราชาอุ่นขึ้น1 องศาฯ วัดค่าได้ 31 องศาฯ

ตรวจพบน้ำทะเลสถานีศรีราชาอุ่นขึ้น1 องศาฯ วัดค่าได้ 31 องศาฯ

ตรวจพบน้ำทะเลสถานีศรีราชาอุ่นขึ้น1 องศาฯ วัดค่าได้ 31 องศาฯ

นอกจากนี้อาจารย์ธรณ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังพบปรากฎการณ์แพลงตอนบูมหรือน้ำทะเลเขียว ซึ่งในอดีตเกิดน้ำทะเลเขียวปีละ 15 ครั้งแต่ปีที่ผ่านมา มากถึง 70 ครั้ง ถือว่าความรุนแรงจะเร่งสปีดทั้งปะการังฟอกขาว หญ้าทะเลตาย และน้ำทะเลเขียวบ่อย ๆ ซึ่งเป็นผลกระทบวงกว้างต่อเนื่องเป็นวงกว้างของห่วงโซ่อาหาร กระทบต่อการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

มีรายงานว่าในช่วงเดือน เม.ย.ปี 2566 พบว่าปะการังฟอกขาว แต่ไม่มากนักโดยอยู่ที่ 5-10 % ประกอบกับเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝน เมื่อฝนตกก็จะช่วยให้อุณหภูมิของน้ำลดลงเป็นสิ่งที่ดีกับตัวปะการังทำให้ไม่ฟอกขาวรุนแรง

อ่านข่าว  

โลกเผชิญ “ซูเปอร์เอลนีโญ-ลานีญา” 5 ครั้ง

เดือนม.ค.67 อุ่นเป็นประวัติการณ์

ขณะที่มีข้อมูลจากคอปเปอร์นิคัส ไคลเมตเชนจ์ เซอร์วิส โดยศูนย์พยากรณ์อากาศยุโรป และองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ หรือ NOAA ที่รายงานชัดเจนตรงกันว่า ช่วงเดือนม.ค.ที่ผ่านมา คือเดือนมกราคมที่อุ่นที่สุด และคาดการณ์ว่าปีนี้อาจจะเป็นปีที่ร้อนที่สุด นับตั้งแต่ที่เก็บข้อมูลมาก็เป็นไปได้

กราฟที่ NOAA เผยแพร่ แสดงให้เห็นว่า ช่วงเดือนม.ค.2567 อุณหภูมิพื้นผิวโลก สูงว่าระดับค่าเฉลี่ยศตวรรษที่ 20 ถึง 1.27 องศาเซลเซียส และสูงกว่าปี 2016 ที่เคยเป็นสถิติปีที่มีเดือนมกราคมที่อุ่นที่สุด 0.04 องศาเซลเซียส ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ 22% ที่ปี 2024 นี้ จะเป็นปีที่อุ่นที่สุดนับตั้งแต่ที่บันทึกไว้ และมีโอกาส 99% ที่ปีนี้จะร้อนที่สุดติด 5 อันดับแรกที่เคยบันทึกไว้

นอกจากนี้เดือนม.ค.ที่ผ่านมา ยังเป็นเดือนที่สถิติอุณหภูมิผิวทะเลสูงกว่าค่าเฉลี่ยเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน ภาวะเอลนีโญ่ ยังส่งผลต่อเนื่อง แต่เริ่มอ่อนกำลังลงในเขตศูนย์สูตร โดยและคาดว่าจะกลับสู่ภาวะปกติ ช่วงเดือนเม.ย.-มิ.ย.นี้โดยมีความเป็นไปได้ 55%ที่จะเกิดภาวะลานีญาได้ในช่วงเดือนมิ.ย.-ส.ค.นี้ 

อ่านข่าวอื่นๆ

ไขคำตอบ "ดาวตกชนิดลูกไฟ" แสงเขียวเหนือท้องฟ้าไทย

"นักข่าวอาชีพ" กับคุณค่าข่าว ยึดจริยธรรม-กฎหมาย





 

 

 
โลกร้อนพ่นพิษ นับถอยหลัง 30 ปี ปะการังทั่วโลกตาย 90 %

โลกร้อนพ่นพิษ นับถอยหลัง 30 ปี ปะการังทั่วโลกตาย 90 %

อ่านให้ฟัง
 
00:03
นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล เผยปะการังได้รับผลกระทบฟอกขาวในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา แต่พบว่า ปะการังบริเวณอ่าวไทยปรับตัวได้ดีขึ้น พร้อมเผยนักวิทย์คาดหากไม่ชวนลดโลกร้อนในอีก 30 ปีข้างหน้าปะการังอาจตายถึง 90 % ทั่วโลก

รายงานฉบับที่ 6 ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) ปี 2022 ระบุว่า มีความเป็นไปได้สูงมากที่โลกจะร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ภายใน 2030 - 2040

 
<"">

แต่ข้อเท็จจริงอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นทะลุ 1.5 องศาเซลเซียส ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2015 ย่อมส่งผลให้เกิดความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศทั้งบนดินและในทะเลลึก โดยเฉพาะปะการังปะการัง (Coral) เป็นสัตว์ทะเล ประเภทสัตว์ชั้นต่ำ ไม่มีกระดูกสันหลัง

จัดอยู่ใน (Phylum Coelenterate) อยู่ใน (Class Anthozoa) มีโครงสร้างภายนอกเป็นหินปูน ที่ตัวปะการังสร้างขึ้น มาเองโดยอาศัยแคลเซียม ซึ่งมีอยู่มากมายในท้องทะเล

ตัวปะการัง อยู่ภายในโครงสร้างหินปูน เรียกว่า โพลิป ( Polyp ) มีลักษณะเป็นถุงอ่อนนิ่มขนาดเล็ก เมื่อมีอยู่จำนวนมากจะก่อตัวเป็นแนวปะการัง ซึ่ง ระบบนิเวศปะการัง มีความหลากหลายทางชีววิทยา ทั้งพันธุ์พืชและสัตว์ 

 
<"">

แต่เมื่อน้ำทะเลร้อนจัด ระบบนิเวศเปลี่ยน การปล่อยน้ำเสีย หรือแม้แต่การใช้ครีมกันแดดของมนุษย์ที่ลงไปเล่นน้ำทะเล ก็ทำให้กิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว (coral bleaching) หรือเนื้อเยื่อปะการังมีสีซีดหรือจางลงจากการสูญเสีย สาหร่ายซูแซนเทลลี (zooxanthellae) ต้องออกมาจากเนื้อเยื่อของปะการัง

น้ำทะเลอุณหภูมิสูง เสี่ยงปะการังฟอกขาว

รศ.สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกกับ ไทยพีบีเอส ออนไลน์ ว่า โลกไม่ได้ร้อนเพิ่มขึ้นแค่ 1.5 องศาเซลเซียส แต่บางพื้นที่สูงขึ้นมากกว่านั้น เช่นที่ขั้วโลกเหนือ อุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3 - 4 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ไม่ได้กระทบเฉพาะในชั้นบรรยากาศ แต่ยังส่งผลไปในทะเลด้วย โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตที่อ่อนไหวที่สุดอย่าง ปะการัง

 
รศ.สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยปกติ ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเพียง 1 องศาเซลเซียส ก็จะทำให้ปะการังเกิดการฟอกขาวและอาจจะตายได้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า ปะการังฟอกขาวเกิดขึ้นปีเว้นปี หรือในแต่ละพื้นที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากน้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้น

ปีนี้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงถึง 40 องศาเซลเซียส จึงต้องเฝ้าระวังว่า ปะการังจะได้รับผลกระทบแค่ไหน แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศที่ได้รับผลกระทบคือ ออสเตรเลีย โดยเฉพาะในเกรตแบร์ริเออร์รีฟ (Great Barrier Reef) ที่มีปะการังฟอกขาวพอสมควร

ส่วนสถานการณ์ปะการังฟอกขาวในไทยช่วง 10 ปีที่แล้ว ได้รับผลกระทบมาก แต่ปัจจุบันปะการังทนทานต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้น และแม้จะมีการฟอกขาวก็ยังถือว่าน้อย

 
<"">

รศ.สุชนา อธิบายว่า อุณหภูมิทั่วโลกที่สูงขึ้นทำให้น้ำแข็งขั้วโลกและขั้วโลกใต้ละลาย แม้ระยะทางจะห่างจากไทยกว่า 10,000 กม.อาจรู้สึกไม่ส่งผลกระทบ แต่เมื่อน้ำแข็งขั้วโลกละลายระดับน้ำก็จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ หมายความว่าปะการังก็จะอยู่ในน้ำที่ลึกกว่าปกติ และแสงจากดวงอาทิตย์ก็จะส่องลงไปถึงปะการังยากขึ้น ก็จะทำให้ปะการังตายได้

ระดับน้ำที่สูงขึ้น ยังส่งผลต่อปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งทำให้ตะกอนก็จะตกลงไปในทะเล และเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ปะการังตายได้ ทุกอย่างส่งจะผลเชื่อมโยงกันหมด

รศ.สุชนา กล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์คำนวณว่าในอีก 30 ปีข้างหน้า หากอุณหภูมิโลกยังสูงขึ้นและยังมีการทำกิจกรรมที่ต่อเนื่องกับทะเลและปะการัง ปะการังมากกว่า 90% ทั่วโลกจะสูญพันธุ์ไป และจะส่งผลกระทบต่อตัวสัตว์และมนุษย์เป็นห่วงโซ่ เพราะปะการังเปรียบเสมือนบ้านให้กับสัตว์นานาชนิด ถ้าไม่มีบ้าน สัตว์เหล่านั้นก็อยู่ไม่ได้ สุดท้ายก็จะสูญพันธุ์ไป

สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนปะการัง "ทะเลอันดามัน" ปรับตัว

ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวในไทยจะเกิดขึ้นทั้งในอ่าวไทยและอันดามัน แต่ในทะเลฝั่งอันดามันปะการังจะมีอ่อนไหวมากกว่า เนื่องจากน้ำทะเลใส แสงแดดจะส่องถึงปะการังได้มากกว่าจึงฟอกขาวมากกว่า ขณะที่ปะการังฝั่งอ่าวไทยจะฟอกขาวน้อยกว่า เนื่องจากน้ำขุ่นแสงแดดส่องลงมาได้น้อย

 
<"">

นอกจากนี้ ปัญหาดินตะกอน และมลพิษก็ส่งผลกระทบต่อการฟอกขาวของปะการังเช่นกัน แต่อีกมุมหนึ่งก็ทำให้ปะการังในพื้นที่ฝั่งอ่าวไทยปรับตัว ทนต่อการฟอกขาวและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้สูงกว่าปะการังฝั่งอันดามัน

รศ.สุชนา กล่าวว่า ผลการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ พบว่า หากอุณหภูมิในทะเลอันดามันสูงเกิน 30 องศาเซลเซียส จะทำให้ปะการังฟอกขาวได้ง่าย ขณะที่ อ่าวไทยถ้าอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ปะการังอาจจะยังไม่ฟอกขาว

 
<"">

ทั้งนี้ พบข้อมูลว่า ปะการังในพื้นที่อ่าวไทยตอนบนเคยมีการฟอกขาวที่รุนแรง โดยอุณหภูมิช่วงดังกล่าวอยู่ที่ 33-34 องศาเซลเซียสขึ้นไปจึงจะมีการฟอกขาวหนัก แต่การจัดการที่ดีในปัจจุบัน ทำให้ปะการังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ระดับหนึ่งแต่ยังคงต้องติดตามและเฝ้าระวังให้ถี่ขึ้น

 
<"">

ในช่วงเดือน เม.ย.ปี 2566 พบว่า ปะการังมีการฟอกขาว แต่ไม่มากนักโดยอยู่ที่ 5 -10 % ประกอบกับเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝน เมื่อฝนตกก็จะช่วยให้อุณหภูมิของน้ำลดลงเป็นสิ่งที่ดีกับตัวปะการังทำให้ไม่ฟอกขาวรุนแรง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง