สถิติอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สังเกตได้จากอากาศที่ร้อนแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะในแถบยุโรปหรือว่าพื้นที่เขตอบอุ่น นอกจากจะทําให้เกิดภัยแล้งและไฟป่าลุกลามหลายพื้นที่แล้ว เรื่องหนึ่งที่ส่งผลกระทบก็คือ อันตรายที่เกิดขึ้นกับสุขภาพอย่างที่เราคาดไม่ถึง
ประชาชนจำนวนมากในกรุงการาจีของปากีสถาน พากันออกมาเล่นน้ำคลายร้อนบริเวณชายหาด ท่ามกลางคลื่นความร้อนที่พัดปกคลุมทั่วประเทศ ด้านเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานด้านอุตุนิยมวิทยาปากีสถาน ระบุว่า อุณหภูมิในพื้นที่อยู่ที่ประมาณ 38 องศาเซลเซียส แต่คาดว่าน่าจะสูงขึ้นอีกเนื่องจากอากาศชื้น
นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยภาคกลาง เปิดเผยว่า สภาพอากาศร้อน ทำให้ไก่ออกไข่ลดลง 10-15% แม้ผู้เลี้ยงไก่พยายามปรับวิธีให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เพื่อให้ไก่ออกไข่ ทั้งการพ่นละอองน้ำลดความร้อน และให้ไก่กินอาหารเพิ่มในเวลากลางคืน แต่ก็ไม่เป็นผลมากนัก ทั้งยังต้องมีต้นทุนค่าน้ำค่าไฟเพิ่มขึ้นถึง 40% เฉลี่ยรายได้ลดลงถึง 20% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอากาศร้อน ที่อุณหภูมิมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นทุกปี ทำให้นักวิชาการจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มองว่า ปัญหานี้จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งการเพิ่มความรุนแรงของโรคเดิม และทำให้เกิดโรคอุบัติใหม่
ฮีทสโตรก คือภาวะที่อุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน 40.5 องศาเซลเซียส เกิดจากการที่อยู่ในสถานที่ที่อุณหภูมิร้อนมาก ๆ และร่างกายไม่สามารถปรับตัวลดอุณหภูมิให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ทำให้ส่งผลเสียต่อระบบประสาท หัวใจ และไต ซึ่งอาจรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ ทั้งนี้ยังมีหลายคนที่แยกความแตกต่างของภาวะฮีทสโตรก และภาวะเป็นลมธรรมดาไม่ได้ ดังนั้นวันนี้จึงจะพาคุณผู้ชมไปดูความแตกต่างของอาการว่าต่างกันอย่างไร ? ปัจจุบันสถิติผู้ป่วยภาวะฮีทสโตรกเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน มีวิธีป้องกัน หรือรับมือกับภาวะฮีทสโตรกได้อย่างไร ร่วมพูดคุยกับ อ. นพ.ธนดล โรจนศานติกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกายภาพ แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "รู้ทันกันได้" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/WanmaiVarietyRuTanKanDai