สภาพของบึงบอระเพ็ด แหล่งน้ำสำคัญของคนนครสวรรค์ วันนี้มีประมาณน้ำเหลืออยู่ 77 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 34.84 ของความจุ โดยคาดการณ์ว่า ปริมาณน้ำที่มีจะสามารถใช้อุปโภค บริโภคไปได้ถึงปลายเดือนเมษายน
นายระทม ใจสำริด ชาวนา บอกว่า ปริมาณน้ำที่เหลือน้อย ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ 5 ตำบล รอบบึงบอระเพ็ด ต้องหมุนเวียนกันทำนา บางคนปักดำต้นกล้าล่าช้ากว่าปกติไปถึง 2 เดือน ซึ่งหมายความว่า ปีนี้อาจทำนาได้เพียงครั้งเดียว แต่ทุกคนก็ยอมรับเงื่อนไขนี้ เพื่อให้ทุกคนได้ทำนาเหมือนกัน
ระทม ใจสำริด ชาวนา
นายณพล อนุตตรังกูล นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่า ตามธรรมชาติของบึงบอระเพ็ด จะมีปริมาณน้ำไหลเข้ามามาก แต่ขณะเดียวกันก็หมดไปรวดเร็ว เพราะขาดการบริหารจัดการที่ดี ตั้งแต่ปี 2555-2566
หน่วยงานในจังหวัดนครสวรรค์ จึงร่วมกับชาวบ้านจัดตั้งกลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำ เพื่อให้ทุกตำบลได้ใช้น้ำจากบึงบอระเพ็ดอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะภาคารเกษตร
ณพล อนุตตรังกูล นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยมหิดล
ขณะที่พื้นที่นอกเขตชลประทาน อย่าง อ.หนองบัว และ อ.ท่าตะโก ที่มักจะถูกน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝน แต่พอเข้าสู้หน้าแล้งก็ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ก็แก้ปัญหาด้วยการนำเครื่องขุดเจาะน้ำใต้ดิน
พล.ต.อ.สมศักดิ์ จันทร์พิงค์ นายก อบจ.นครสวรรค์
พล.ต.อ.สมศักดิ์ จันทร์พิงค์ นายก อบจ.นครสวรรค์ บอกว่าปีงบประมาณ 2566 ได้ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล จำนวน 27 บ่อ เป่าล้างบ่อน้ำบาดาล 248 บ่อ และระดมเครื่องจักรขุดลอกแหล่งน้ำ เพื่อเก็บกักไว้ใช้ในฤดูแล้งนี้
สอดคล้องกับป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดนครสวรรค์ ที่ระดมบุคลากรในหน่วยงานลงพื้นที่สำรวจทุกหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ เพื่อเอ็กซ์เรย์ปัญหาภัยแล้ง ปีนี้พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงภัย 5 อำเภอ คือ อ.ตากฟ้า, ไพศาลี, ตาคลี, หนองบัว และท่าตะโก
รายงาน : เกษม แซ่กือ ผู้สื่ออาวุโสข่าวไทยพีบีเอส ศูนย์ข่าวภาคเหนือ