วันนี้ (4 เม.ย.2567) ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีนักข่าวรับเงินจากแหล่งข่าว แถลงหลังการประชุม ว่า การตรวจสอบข้อเท็จจริง ได้รับความร่วมมือจากผู้สื่อข่าวซึ่งถูกพาดพิงกรณีรับเงินจากแหล่งข่าว รวมถึงองค์กรต้นสังกัดสื่อที่ถูกพาดพิงได้ทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง ผลการตรวจสอบภายในมาให้แล้ว
อ่านข่าว : เปิดแถลงการณ์ปมทนาย "บิ๊กโจ๊ก" อ้างเส้นทางเงินโยงนักข่าว-สมาคมนักข่าว
ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความฯ
นอกจากนี้หน่วยงานของตำรวจและพยานอื่นที่รู้เห็น ได้เข้าให้ข้อเท็จจริงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ยังคงเหลือ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ที่ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงกรณีให้เงินผู้สื่อข่าว ซึ่งทางคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จริงได้ทำหนังสือถึง พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. มาให้ข้อเท็จจริงแล้วจำนวน 2 ครั้ง แต่ท่านได้แจ้งเหตุติดภารกิจปฏิบัติหน้าที่ราชการ ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมเพื่อให้ข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวได้
ในวันนี้ที่ประชุมได้มีมติให้ส่งหนังสือพร้อมคำถาม เพื่อให้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ตอบคำถามกลับมาเป็นลายลักษณ์อักษร ก่อนวันที่ 25 เม.ย.2567
ดร.วิเชียร กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่นางสาว น.ริณี เรืองหนู นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ทำหนังสือขอให้คณะกรรมการชุดนี้พิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณี นายษิทรา เบี้ยบังเกิด เปิดแถลงข่าว และโพสต์เฟซบุ๊กถึงเส้นทางเงินจากเว็บพนันเชื่อมโยงนายตำรวจระดับสูง พาดพิงถึงนักข่าว อุปนายกองค์กรสื่อ รวมถึงสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 มี.ค.2567 นั้น
- นายกสมาคมนักข่าวฯ ยื่นสภาทนายความ สอบปมนักข่าวรับเงินเว็บพนัน
- สมาคมนักข่าวฯ โต้ "ทนายตั้ม" ปัดรับเงินบริจาค-ขู่ฟ้องกลับ
ที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีนักข่าวรับเงินจากแหล่งข่าว พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีนักข่าวรับเงินจากแหล่งข่าว ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาวิชาชีพกิจการการแพร่ภาพและการกระจายเสียง (ประเทศไทย) ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ให้ทำการตรวจสอบเฉพาะกรณีที่นักข่าวรับเงินจากแหล่งข่าว จากการให้สัมภาษณ์ของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เท่านั้น
หากคณะกรรมการชุดนี้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องที่ทางสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยส่งมา อาจถูกคู่กรณีที่ถูกพาดพิงหยิบยกในประเด็นอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีนี้ได้ ทั้งนี้คณะกรรมการฯ ยินดีจะให้ความร่วมมือ ถ้าองค์กรวิชาชีพสื่อมีความเห็นและมีมติมอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบ ทางคณะกรรมการก็พร้อมรับเรื่องมาดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป
อ่านข่าวอื่นๆ :