ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ฝนตกเพิ่มภาคเหนือ-อีสาน บรรเทาทุกข์เกษตร

สังคม
9 ก.ค. 58
10:21
118
Logo Thai PBS
ฝนตกเพิ่มภาคเหนือ-อีสาน บรรเทาทุกข์เกษตร

หลายจังหวัดภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มมีฝนตกเพิ่มขึ้นส่งให้พื้นที่ทางการเกษตร เริ่มมีน้ำมาล่อเลี้ยงพืชที่ปลูกไว้ ในขณะที่บางพื้นที่ยังคงต้องลดปริมาณจ่ายน้ำประปาต่อไปหลังแหล่งน้ำดิบยังมีปริมาณน้อย

วันนี้ (9 ก.ค.2558) เจ้าหน้าที่การประปาส่วนภูมิภาค สาขาชัยภูมิ ต้องต่อท่อสูบน้ำให้ยาวมากขึ้น เพื่อสูบน้ำจากลำเสียวน้อย ประกอบกับน้ำที่ขุ่นต้องใช้เวลาในการกรองนานมากขึ้น ทำให้ต้องปรับลดปริมาณน้ำที่จัดส่ง และงดจ่ายน้ำในช่วงเวลา 23.00-05.00 น. โดยระดับน้ำที่ลด ถือว่าต่ำมากที่สุดในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา

เช่นเดียวกับจ.นครราชสีมา เจ้าหน้าที่เทศบาล ต.กุดจิก อ.สูงเนิน ต้องลงพื้นที่ชี้แจงชาวบ้านกว่า 1 ครัวเรือน ให้เตรียมภาชนะสำรองน้ำไว้ใช้ หลังปริมาณน้ำในบ่อสามารถใช้ผลิตน้ำประปาได้อีกไม่กี่วัน เนื่องจากเขื่อนลำตะคอง ลดปริมาณการจ่ายน้ำรวมทั้งเกษตรกรสูบน้ำไปใช้ จึงทำให้น้ำยังไหลมาไม่ถึง

ขณะที่ภาคเหนือฝนที่ตกหนักบางพื้นที่ ได้ส่งผลดีต่อพื้นที่เกษตรกรรม โดยเฉพาะนาข้าว ที่ขาดน้ำต่อเนื่องมานานหลายเดือน ขณะที่แหล่งกักเก็บน้ำบางแห่ง เริ่มมีน้ำไหลเข้าเพิ่มมากขึ้น เช่น โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก ที่พบว่าฝนที่ตกนานเกือบครึ่งชั่วโมง ทำให้มีน้ำไหลเข้าเขื่อนเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังมีอีกหลายพื้นที่ยังคงเผชิญกับภาวะภัยแล้ง เช่น อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร เกตรกรต้องปล่อยให้ไร่มะเขือยืนต้นตาย เช่นเดียวกับไร่อ้อยใน จ.กำแพงเพชร ที่ต้องไถกลบทิ้ง เพื่อเตรียมปลูกพืชใช้น้ำน้อย อย่างมันสำปะหลังแทน

ส่วนชาวนาใน ต.ป่างิ้ว อ.เมืองอ่างทอง บางส่วนเสี่ยงปรับผืนพื้นที่เตรียมปลูกข้าวนาปี หลังเริ่มมีฝนตกลงมาในพื้นที่ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ต้องเลื่อนการทำนาออกไปตามที่กรมชลประทานร้องขอ ซึ่งก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะสามารถส่งน้ำให้ได้เมื่อไหร่

ขณะที่อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งอาศัยแม่น้ำลพบุรีที่ไหลผ่าน ใช้ในชีวิตประจำมาตลอดหลายสิบปี แต่ขณะนี้กลับพบว่าแม่น้ำแห้งขอด และเริ่มเน่าเหม็นเนื่องจากระบายไม่ได้ ขณะที่ชาวบ้านยอมรับไม่เคยเห็นแม่น้ำลพบุรีแห้งอย่างรุนแรงเช่นนี้มาก่อน

ส่วนที่จ.นครนายก เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เร่งขุดลอกคลองแม ในอ.ปากพลี เพื่อเตรียมผันน้ำจากแม่น้ำนครนายก ไปช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรกว่า 30,000 ไร่ ที่กำลังขาดแคลนน้ำอย่างหนักจากฝนทิ้งช่วงนานหลายเดือน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง