เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เผชิญกับปัญหาภัยแล้งเกือบ 6 เดือนแล้ว แม้บางจุดจะเริ่มมีฝนตกลงมา แต่ปริมาณน้ำดิบในแอ่งน้ำสำคัญ อย่างแอ่งน้ำหน้าเมือง เหลือใช้ได้อีกแค่ 14 วัน ก่อนหน้านี้ หน่วยงานในพื้นที่ ขอให้นายกฯ เร่งรัดเรื่องการก่อสร้างท่อลอดส่งน้ำเส้นที่ 2 ภายในปีนี้
จังหวัดชุมพรเผชิญภัยแล้งรุนแรงต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ปีนี้สถานการณ์รุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา เกษตรกรที่มีทุนทรัพย์จะขุดเจาะบ่อบาดาล หรือซื้อน้ำมาหล่อเลี้ยงสวนทุเรียน แต่หากไม่มีก็ต้องจำยอมให้ทุเรียนยืนต้นตาย ชาวสวนทุเรียนแห่งหนึ่ง สะท้อนว่า ทุเรียนเกือบ 200 ต้น ในพื้นที่ 8 ไร่ ยืนต้นตายเกือบทั้งหมดแล้ว หลังจากที่ผ่านมาพยายามช่วยเหลือตัวเองด้วยการซื้อน้ำมารดสวนทุเรียน แต่ภัยแล้งที่ยาวนานจึงไม่มีเงินเพียงพอที่จะซื้อน้ำต่อไปได้อีก ต้องจำยอมให้สวนทุเรียนยืนต้นตาย ทั้งนี้ ภาครัฐควรทำฝนเทียมตั้งแต่ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ที่เริ่มเกิดภัยแล้ง มาทำฝนเทียมในช่วงนี้ ก็สายไปแล้ว
วันนี้ (27 เม.ย. 67) กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์หลายจังหวัดตอนบนของไทย อากาศจะร้อนจัดทำลายสถิติที่ 43 องศาเซลเซียส ไม่เพียงส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ยังส่งผลต่อพืชผลทางการเกษตร อย่างสวนทุเรียนหมอนทอง พื้นที่ 5 ไร่ ที่บ้านดงเย็น ตำบลเสิงสาง อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา อากาศที่ร้อนจัดและน้ำแล้งมาก ทำให้ลูกทุเรียนร่วง บางต้นไม่มีลูกเหลือเลย
สภาพอากาศทั่วไทยร้อนจัดต่อเนื่องตั้งแต่เข้าสู่เดือนเมษายนที่ผ่านมา แนวโน้วจากนี้อุณหภูมิจะเพิ่มสูงกว่านี้อีกหรือไม่ วิกฤตภัยแล้งรุนแรงยาวนานที่ไทยกำลังจะเผชิญ ปัญหาสภาพภูมิอากาศวิปริตแปรปรวน และการออกแบบนโยบายเพื่อเตรียมรับมือ พูดคุยกับ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอีกพื้นที่หนึ่ง ที่ประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรง แม้ว่าจะมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ อย่างบึงบอระเพ็ด แต่ก็ไม่สามารถเก็บกักไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้งได้ นักวิชาการ มองว่า ปัญหาหนึ่งมาจากการบริหารจัดการที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่ สภาพของบึงบอระเพ็ด แหล่งน้ำสำคัญ ของจังหวัดนครสวรรค์ วันนี้ มีประมาณน้ำเหลืออยู่ประมาณ 77 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 34.84 ของความจุ โดยคาดการณ์ว่า ปริมาณน้ำที่มี จะสามารถใช้อุปโภค บริโภค ไปได้ถึงปลายเดือนเมษายน ปริมาณน้ำที่เหลือน้อย ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ 5 ตำบล รอบบึงบอระเพ็ด ต้องหมุนเวียนกันทำนา บางคนปักดำต้นกล้า ล่าช้ากว่าปกติไปถึง 2 เดือน ซึ่งหมายความว่า ปีนี้ อาจทำนาได้เพียงครั้งเดียว แต่ทุกคนก็ยอมรับเงื่อนไขนี้ เพื่อให้ทุกคนได้ทำนาเหมือนกัน
ภัยแล้งในภาคอีสาน เริ่มเห็นภาพชัดเจนขึ้น เมื่อน้ำในอ่างเก็บน้ำ 27 แห่งของ จ.นครราชสีมา มีปริมาณกักเก็บและน้ำใช้การ ลดลงต่อเนื่อง ภาพรวมทั้งจังหวัดพบว่า ปริมาณน้ำเก็บกักปัจจุบัน เหลือที่ใช้การได้เพียง 540 ล้านลูกบาศก์เมตร เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 มีน้ำใช้การได้กว่า 900 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งปัจจัยหลัก ๆ มาจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด บางวันอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
“เกษตรกร” คือ กลุ่มเปราะบางที่สุดกลุ่มหนึ่งต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม ความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล อุณหภูมิที่สูงขึ้น ฯลฯ Big Story เรื่องใหญ่ Thai PBS ขอพาทุกคนไปสำรวจช่องว่างความเหลื่อมล้ำ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสร้างความเหลื่อมล้ำอย่างไรไว้กับชีวิตของเหล่าเกษตรกรบ้าง