ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"แรงงาน" ยื่น 10 ข้อเรียกร้อง รัฐบาล ใน "วันแรงงาน"

เศรษฐกิจ
1 พ.ค. 67
12:48
4,972
Logo Thai PBS
"แรงงาน" ยื่น 10 ข้อเรียกร้อง รัฐบาล ใน "วันแรงงาน"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ แก้กฎหมาย ที่เป็นธรรม ขณะที่ "ก้าวไกล" ขอให้ผลักดัน พ.ร.บ.สหภาพแรงงานฉบับก้าวไกล และขยายสิทธิวันลาคลอด 180 วัน

วันนี้ (1 พ.ค.2567) เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ สภาองค์การลูกจ้าง 18 องค์กร เรียกร้องให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิ์ในการรวมตัวของแรงงาน รวมถึงมาตรา 98 ที่ว่าด้วยเรื่องของสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองของแรงงานเพื่อประโยชน์ของแรงงาน

วันนี้ได้มีการเดินขบวนจากแยก จปร.ถนนราชดำเนินนอก ไปลานคนเมือง ซึ่งในปีนี้สภาองค์การลูกจ้างได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ทั้งหมด 10 ข้อ แก่รัฐบาล ได้แก่

1) รัฐบาลต้องรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98

2) ให้รัฐบาลตรา พ.ร.บ.หรือ ประกาศเป็นกฎกระทรวงให้มีการจัดตั้ง กองทุนประกันความเสี่ยง "เพื่อเป็นหลักประกัน" ในการทำงานของลูกจ้าง

อ่านข่าว : ดีเดย์ 1 พ.ค.วันขึ้นเงินเดือนข้าราชการและขึ้นเงินบำนาญขั้นต่ำ

3) ให้รัฐบาลปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคม เช่น การปรับฐานการรับเงินบำนาญ โดยให้มีอัตราเริ่มต้นที่ 5,000 บาท

4) ให้รัฐบาล (กระทรวงแรงงาน) จัดสร้างโรงพยาบาลประกันสังคม และจัดตั้งธนาคารแรงงานเพื่อผู้ใช้แรงงาน

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ  แก้กฎหมาย

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ แก้กฎหมาย

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ แก้กฎหมาย

5) ให้รัฐบาล (กระทรวงแรงงาน) ใช้มาตรการอย่างเคร่งครัด ให้สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 11/1

6) ให้รัฐบาลเร่งรัดให้ได้ข้อสรุปในแนวทางการจัดระบบสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณอายุ ให้ลูกจ้างภาครัฐวิสาหกิจได้มีระบบสวัสดิการจากรัฐเทียบเคียงกับข้าราชการบำนาญ และลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคม มาตรา 33

รวมถึงให้ลูกจ้างภาครัฐวิสาหกิจได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้จากค่าตอบแทนความชอบด้วยหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการลดหย่อนเงินได้ก้อนสุดท้าย หรือลดหย่อนเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างเอกชนได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง

7) ให้รัฐบาลเพิ่มหลักประกันความมั่นคงให้กับลูกจ้าง โดยเร่งดำเนินการให้ พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติมีผลใช้บังคับโดยเร็ว

8) ขอให้รัฐบาลยกระดับกองความปลอดภัยแรงงานขึ้นเป็น “กรมความปลอดภัยแรงงาน”

9) ให้สำนักงานกองทุนเงินทดแทนจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลส่วนที่เกินให้กับลูกจ้างจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาลเมื่อลูกจ้างบาดเจ็บ เจ็บป่วย หรือประสบอันตราย เนื่องจากการทำงานให้กับนายจ้าง

10) ให้ รมว.แรงงาน แต่งตั้งคณะทำงานติดตามข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ.2567 และจัดให้มีการประชุมเพื่อติดตามผลทุก 2 เดือน

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ  แก้กฎหมาย

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ แก้กฎหมาย

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ แก้กฎหมาย

"ก้าวไกล" ดัน พ.ร.บ.สหภาพแรงงานฉบับก้าวไกล

ขณะที่เครือข่ายผู้ใช้แรงงาน พรรคก้าวไกล ปีนี้ ได้มาร่วมเดินขบวนกับสภาองค์การลูกจ้าง โดยมี 2 ข้อเรียกร้องหลักที่ยื่นต่อรัฐบาลให้ดำเนินการเร่งด่วน ทั้งการขอให้ผลักดัน พ.ร.บ.สหภาพแรงงานฉบับก้าวไกล และขยายสิทธิวันลาคลอด 180 วัน

นายเซีย จำปาทอง ประธานเครือข่ายผู้ใช้แรงงานพรรคก้าวไกล และ สส.พรรคก้าวไกล เปิดเผยว่า ร่างพ.ร.บ. สหภาพแรงงานฉบับก้าวไกล มีเนื้อหาสอดรับกับสภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และแรงงานที่เปลี่ยนไปสอดคล้องกับหลักการสากลภายใต้กรอบอนุสัญญา iILO 87, 98 ที่เป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ และเพื่อส่งเสริมให้เกิดระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนทำงานและผู้ว่าจ้างได้รับความเป็นธรรม นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและสร้างสังคมที่เสมอภาคเท่าเทียมกัน

ขณะที่สิทธิลาคลอด 180 วันเป็นการเพิ่มสิทธิ์การลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร โดยได้รับค่าจ้างและยังสามารถมอบสิทธิการลาของตนให้บิดาตามกฎหมายของบุตร คู่สมรส หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย ได้ลดภาระครอบครัว ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และสอดคล้องกับหลักสากลขององค์การอนามัยโลก และกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ การเพิ่มสิทธิลาคลอด 180 วันจะส่งผลดีต่อสุขภาพของมารดา บุตร สร้างภูมิคุ้มกันทางครอบครัวและความมั่นคงต่อสังคม

นอกจากนี้ ยังมีการเรียกร้องเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมด้วย สอดคล้องกับข้อเรียกร้องของสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย หรือ สสรท. ที่เดินขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มายังทำเนียบรัฐบาล เรียกร้องให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 492 บาท และควบคุมราคาสินค้าไม่ให้แพงไปกว่านี้ รวมถึงยื่นข้อเรียกร้องอื่นๆ อีก 13 ข้อ

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ  แก้กฎหมาย

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ แก้กฎหมาย

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ แก้กฎหมาย

ข้อเสนอเร่งด่วน

1. รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน

1.1 รัฐต้องปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 492 บาท เท่ากันทั้งประเทศ

1.2 กำหนดนิยามค่าจ้างขั้นต่ำแรกเข้าให้มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพของตนเองและครอบครัว 2 คน ตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และต้องเท่ากันทั้งประเทศ ครอบคลุมทั้งแรงงานภาคเอกชน และการจ้างงานในภาครัฐ

1.3 กำหนดให้มีโครงสร้างค่าจ้างและมีการปรับค่าจ้างทุกปี เพื่ออนาคตที่ดีของผู้ใช้แรงงาน

1.4 รัฐต้องปรับเงินเดือนและบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจตามข้อเสนอของ สรส.

2. รัฐต้องลดรายจ่ายของประชาชนลง เพื่อเพิ่มรายได้ เพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน และผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในภาพรวมได้อย่างแท้จริง

2.1 ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในการดำรงชีพของประชาชนในราคาที่เป็นธรรม

2.2 ลดราคาน้ำมัน ก๊าซ พร้อมกับการปรับโครงสร้างการกำหนดราคาใหม่ เลิกเก็บเงินที่ซ้ำซ้อนทั้งระบบภาษี และ เก็บเงินเข้ากองทุนต่าง ๆ ทำให้ประชาชนต้องจ่ายราคาต่อลิตรสูงมาก

2.3 ลดราคาค่าขนส่ง ค่าเดินทาง ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต รัฐต้องไม่ปล่อยให้กิจการเหล่านี้ตกไปอยู่ในการบริหารจัดการของกลุ่มทุนเอกชน เพราะเป็นความสำคัญและจำเป็นของประชาชนในการดำรงชีพ

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ  แก้กฎหมาย

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ แก้กฎหมาย

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ แก้กฎหมาย

2.4 ลดราคาค่าไฟฟ้าที่ปรับราคาสูงขึ้นอย่างมาก จากการบริหารจัดการด้านไฟฟ้าที่ผิดพลาด ทำให้ปริมาณไฟฟ้าสำรองเกินความต้องการ การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับบริษัทผลิตไฟฟ้าเอกชน ถึงแม้ไม่ผลิตไฟฟ้าแต่ประชาชนจะต้องจ่าย ที่เรียกว่า "ค่าพร้อมจ่าย" ทำให้ประชาชนทุกคน ทุกครัวเรือน สถานประกอบการ โรงเรียน โรงพยาบาล ศาสนสถาน หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ฯลฯ ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก และควรจัดวางระบบการบริหารจัดการระบบไฟฟ้าใหม่ เลิกสัญญาทาส ที่รัฐทำกับกลุ่มทุนผลิตไฟฟ้าเอกชน โดยหน่วยงานของรัฐ เช่น กฟผ./กฟภ./กฟน. เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 เพื่อความมั่นคงเรื่องพลังงานไฟฟ้า

3. รัฐบาลต้องสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติ อากาศสะอาดเพื่อสุขภาพแบบบูรณาการ (ฉบับประชาชน) พ.ศ. ….

ข้อเสนอที่ติดตามจากปีก่อน ๆ

1. รัฐต้องหยุดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในทุกรูปแบบ และให้มีการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพ ในการให้บริการที่ดี มีคุณภาพ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน

1.1.ยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการยกเลิกการออก พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. .... ยกเลิกการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership: PPP) ให้มีการตรวจสอบโครงต่าง ๆ ทั้งเรื่องมาตรฐาน และราคา ที่เป็นธรรมต่อประชาชน ให้มีความโปร่งใส ไม่ให้มีการทุจริต

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ  แก้กฎหมาย

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ แก้กฎหมาย

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ แก้กฎหมาย

1.2.ให้จัดตั้งกองทุนพัฒนารัฐวิสาหกิจ เพื่อปรับปรุงพัฒนารัฐวิสาหกิจให้เป็นกลไกหลักในการพัฒนาประเทศ เป็นเครื่องมือของรัฐในการดูแลชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน

1.3.ให้มีการบริหารจัดการที่โปร่งใส ตรวจสอบได้และการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ

2.รัฐต้องปรับปรุงโครงสร้างทางภาษี โดยเก็บภาษีในอัตราที่ก้าวหน้าอย่างจริงจัง การจัดเก็บภาษีการซื้อขายหุ้นในอัตราที่ไม่น้อยจนเกินไป ภาษีที่ดิน ภาษีมรดก ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อนำมาใช้เป็นงบประมาณแผ่นดิน ในการพัฒนาประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนทุกคนทุกมิติ อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน และขอให้รัฐบาล กระทรวงพลังงาน ปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน ให้มีความเหมาะสม ไม่เก็บภาษีซ้ำซ้อน และ ยกเลิกการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เพื่อคืนความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน

3. รัฐต้องปฏิรูปการประกันสังคม ดังต่อไปนี้

3.1 รัฐต้องตั้งโรงพยาบาลประกันสังคมให้กับผู้ประกันตน ตามสัดส่วนผู้ประกันตนแต่ละพื้นที่ พร้อมกับผลิตแพทย์ พยาบาลและบุคลากรด้านอื่น ๆ ของสำนักงานประกันสังคมเอง

3.2 สนับสนุน ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสถาบันการเงินของผู้ใช้แรงงาน (ธนาคารแรงงาน)

3.3 ปฏิรูปโครงสร้างสำนักงานประกันสังคมให้เป็นอิสระ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้ผู้ประกันตนมีส่วนร่วม

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ  แก้กฎหมาย

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ แก้กฎหมาย

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ แก้กฎหมาย

3.4 การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมต้องเป็นไปในสัดส่วนที่เท่ากันทั้งรัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตน รวมถึงให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบพร้อมดอกเบี้ยส่วนที่ค้างให้ครบ

3.5 ให้ผู้ประกันตน มาตรา 33 , 39, 40 ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เท่าเทียมกัน

3.6 เพิ่มสิทธิประโยชน์สำหรับผู้รับเงินชราภาพเป็น อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเดือนสุดท้าย

3.7 ขยายกรอบเวลาในการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลของกองทุนเงินทดแทน จนสิ้นสุดการรักษาตามคำวินิจฉัยของแพทย์

4. รัฐต้องจัดสวัสดิการถ้วนหน้าที่มีคุณภาพให้แก่ประชาชนทุกคนได้เข้าถึงอย่างเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฏิบัติ

4.1 ด้านสาธารณสุข ประชาชนทุกคนต้องเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพและไม่มีค่าใช้จ่าย

4.2 ด้านการศึกษา ประชาชนทุกคนต้องเข้าถึงการศึกษาในทุกระดับ ทั้งในระบบและการศึกษาทางเลือกโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ  แก้กฎหมาย

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ แก้กฎหมาย

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ แก้กฎหมาย

5. รัฐบาลต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ

5.1 ฉบับที่ 87 ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน

5.2 ฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง เพื่อสร้างหลักประกันในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง

5.3 ฉบับที่ 155 ว่าด้วยความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงาน ค.ศ. 1981 (พ.ศ.๒๕๒๔)

๕.๔ ฉบับที่ 183 ว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นมารดากำหนดให้ผู้หญิงมีสิทธิลาคลอดได้ 180 วัน และให้ผู้ชายลาไปดูแลภรรยาคลอดบุตรได้ 30 วัน โดยได้รับค่าจ้างตามที่จ่ายจริง 100%

5.4 ฉบับที่ 189 ว่าด้วยงานที่มีคุณค่าสำหรับคนทำงานบ้าน

5.5 ฉบับที่ 190 ว่าด้วยการขจัดความรุนแรงและการล่วงละเมิดในโลกของการทำงาน

6. ให้ลูกจ้างทำงานบ้านเข้าถึงสิทธิประกันสังคม มาตรา 33

7. รัฐบาลต้องยกเลิกนโยบายการจำกัดอัตรากำลังบุคลากรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และยกเลิกนโยบายการลดสิทธิประโยชน์สวัสดิการของพนักงานและครอบครัว

8. รัฐต้องกำหนดให้ลูกจ้างภาครัฐในหน่วยงานราชการต่าง ๆ ทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นรับค่าจ้างจากงบประมาณแผ่นดิน และต้องบรรจุเป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างประจำ

9. รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างคนงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชย หรือจ่ายไม่ครบตามที่กฎหมายกำหนด เช่น การปิดกิจการ หรือ การยุบเลิกกิจการในทุกรูปแบบ (ตามรัฐธรรมนูญ หมวด 5 มาตรา 53)

10. รัฐต้องจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการลงทุน โดยให้นายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนเพื่อเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิของคนงาน เมื่อมีการเลิกจ้างหรือปิดกิจการ โดยนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย คนงานต้องได้สิทธิรับเงินจากกองทุนนี้ พร้อมทั้งสนับสนุนค่าดำเนินการทางคดีระหว่างผู้ประกอบการกับคนงาน หรือ รัฐกับผู้ประกอบการที่ทำผิดกฎหมาย

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ  แก้กฎหมาย

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ แก้กฎหมาย

แรงงานเดินขบวน ยื่น 10 ข้อเรียกร้องรัฐบาล ขึ้นค่าจ้าง ปรับสวัสดิการ แก้กฎหมาย

11. รัฐต้องพัฒนากลไกการเข้าถึงสิทธิและการบังคับใช้กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างจริงจัง และต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่สถาบันความปลอดภัยฯ ให้เพียงพอ สำหรับการบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพ และสร้างกลไก กติกา ภายใต้การมีส่วนร่วมของคนงานทุกภาคส่วน และ ยกเลิกการใช้แร่ใยหินทุกรูปแบบ

12. รัฐต้องยกเลิกการจ้างงานที่ไม่มั่นคง เช่น การจ้างงานแบบชั่วคราว รายวัน รายชั่วโมง เหมาค่าแรง เหมางานเหมาบริการ และการจ้างงานบางช่วงเวลา ทั้งภาครัฐและเอกชน

13. ข้อเสนอเพื่อคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ

13.1 รัฐบาลต้องสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำหรับทุกคนโดยไม่คำนึงถึงสถานะและไม่เลือกปฏิบัติต่อชาติใดชาติหนึ่งเพื่อประสิทธิภาพในการเข้าถึงการรักษาโรคและเยียวยาต่อแรงงานข้ามชาติโดยไม่เลือกปฏิบัติ

อ่านข่าว

สมาคมนักข่าววิทยุฯ เรียกร้อง 5 ข้อ ไม่กดขี่ใช้แรงงานในวิชาชีพสื่อ 

1 พ.ค. "วันแรงงาน" ใครบ้างที่ต้องหยุดใน "วันบังคับหยุด" 

วันแรงงานแห่งชาติ การต่อสู้จากคนทำงาน 18 ชม. เหลือ 8 ชม./วัน

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง