ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เช็ก 58 จังหวัดรับมือ "พายุฤดูร้อน" ฝนถล่ม-ลมแรง 7 พ.ค.

ภัยพิบัติ
7 พ.ค. 67
11:11
21,210
Logo Thai PBS
เช็ก 58 จังหวัดรับมือ "พายุฤดูร้อน" ฝนถล่ม-ลมแรง 7 พ.ค.
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ ฉบับที่ 13 เรื่องพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน เตือน 58 จังหวัด รวมทั้ง กรุงเทพฯ รับมือพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง

วันนี้ (7 พ.ค.2567) ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 13 (91/2567)

วันนี้แนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด

ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นหลายพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย

อ่านข่าว : สภาพอากาศวันนี้ เตือน "พายุฤดูร้อน" ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8 - 10 พ.ค.2567 แนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่

จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้

วันที่ 7 พฤษภาคม 2567

ภาคเหนือ: จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี

ภาคกลาง: จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

รู้จัก “พายุฤดูร้อน”

“พายุฤดูร้อน” คืออะไร ? จากการให้ความรู้โดย “กรมอุตุนิยมวิทยา” ให้ความหมายดังนี้ “พายุฤดูร้อน” หรือ “พายุฟ้าคะนอง” (Thunderstorm) เป็นพายุที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน มักเกิดในราวกลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคมหรือในช่วงก่อนเริ่มต้นฤดูฝน “พายุฤดูร้อน” นั้นจะทำให้การหมุนเวียนของอากาศ แปรปรวนอย่างรวดเร็ว จึงเป็นสาเหตุให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ลมพายุกระโชกแรง ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่าเกิดขึ้น หรือในบางครั้งอาจมีลูกเห็บตกลงมาด้วย

อ่านข่าว : รู้จัก “พายุฤดูร้อน” (Thunderstorms) เกิดจากอะไร ?

สาเหตุของการเกิดพายุฤดูร้อน

“พายุฤดูร้อน” ก่อตัวจากเมฆคิวมูลัสก่อน เมื่อเมฆคิวมูลัสขยายตัวขึ้นและมีกระแสลมแนวตั้งแรงขึ้นก็จะขยายตัวสูงใหญ่เป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส ซึ่งเป็นเมฆพายุฟ้าคะนอง การเกิดเมฆพายุฟ้าคะนองในบรรยากาศต้องมีเงื่อนไข คือ

- อากาศร้อนและมีความชื้นมาก
- อากาศไม่มีเสถียรภาพ (ไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้ คือ อากาศมีการลอยตัวขึ้น)
- มีปัจจัยที่ก่อให้เกิดการลอยตัวขึ้นของอากาศ เช่น อุณหภูมิสูงที่พื้นดิน มวลอากาศเคลื่อนตัวสูงขึ้นเมื่อพัดผ่านภูเขาหรือมีการปะทะกันของมวลอากาศที่แตกต่างกัน

 

อ่านข่าว : 

พายุฤดูร้อน ถล่ม "แปดริ้ว" น้ำท่วมหลายพื้นที่

เช้ามืดวันนี้ รถขนกากแดดเมียมรอบ 2 ถึง จ.ตาก แล้ว

ชาวเวียดนามป่วย 500 คน หลังกิน "บั๋นหมี่" อาหารเป็นพิษ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง