วันนี้ (27 พ.ค.2567) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อ่าวไทยตอนบน เผยผลชันสูตรซากวาฬลอยใกล้จุดท่องเที่ยวสะพานแดง ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร จากการตรวจสอบพบว่าเป็นวาฬบรูด้า ไม่ทราบเพศ โตเต็มวัย ความยาว 9.6 เมตร ไม่รวมส่วนหางที่ขาดหายไป น้ำหนัก 8 ตัน
ผลการชันสูตรซาก พบว่าสภาพซากเน่ามาก ส่วนหางหายไป ผิวหนังหลุดลอก กะโหลกกรามล่างและกระดูกซี่โครงโผล่ยื่น ส่วนช่องอกและช่องท้องแตกออก ไม่พบอวัยวะภายใน เช่น หัวใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบสืบพันธุ์ ทำให้ไม่ทราบสาเหตุการตายจึงได้เก็บตัวอย่างพันธุกรรม กะโหลก กรามล่าง และกระดูกซี่โครงซี่แรก เพื่อใช้ในการศึกษา
นายเกรียง มหาศิริ สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 8 (สมุทรสาคร) กล่าวว่า เนื่องจากสภาพวาฬค่อนข้างเน่ามาก จึงไม่สามรถระบุเพศ และอยู่ระหว่างการตรวจสอบอัตลักษณ์ชื่อวาฬบรูด้าที่ทช.เคยสำรวจไว้ แต่อาจจะยากเพราะซากค่อนข้างเสียหาย
อ่านข่าว เช็กขั้นตอนตรวจ โมบายแบงก์กิ้ง-ซิมมือถือชื่อเดียวกัน
แม่พาฝัน วาฬบรูด้าหากินในทะเลอ่าวไทย (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง)
พบ 3 แม่วาฬบรูด้าอยู่ในเกณฑ์ผอม-รอยโรคTSD
ขณะที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน (ศวทบ.) สำรวจสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์บริเวณอ่าวไทยตอนบน ครอบคลุมพื้นที่ จ.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และกทม.วันที่ 14-16 พ.ค.พบสัตว์ทะเลหายาก จำนวน 2 ชนิด คือ
วาฬบรูด้า 13 ตัว ระบุชื่อจำนวน 9 ตัว ได้แก่ แม่วันสุขกับลูกตัวใหม่ แม่สดใสกับเจ้าแสนรัก แม่วันดีกับเจ้าวันวาน เจ้าสีสัน เจ้าสาลี่ และแม่พาฟัน และไม่ทราบชื่อ จำนวน 4 ตัว บริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี ระยะห่างจากฝั่ง 8-15 กิโลเมตร
แม่วันดี วาฬบรูด้าหากินในทะเลอ่าวไทย (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง)
ส่วนอีกชนิดคือ โลมาอิรวดี จำนวน 1 ตัว บริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรสาคร ระยะห่างจากฝั่ง 8 กิโลเมตรสัตวแพทย์ทำการตรวจสุขภาพวาฬบรูด้าที่สำรวจชพบมีอัตราการหายใจและคุณภาพการหายใจปกติ มีความสมบูรณ์ร่างกาย อยู่ในเกณฑ์พอใช้
พบแม่วันสุข แม่สดใส และแม่พาฝัน ผอมอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง และพบรอยโรค Tattoo skin disease (TSD) บนผิวหนังวาฬบรูด้าจำนวน 7 ตัว ได้แก่ แม่สดใส เจ้าแสนรัก แม่วันสุข แม่วันดี เจ้าสีสัน และวาฬบรูด้าไม่ทราบชื่อ 2 ตัว และพบรอยถูกพันรัดพาดกลางลำตัวของเจ้าวันวาน
สำหรับวาฬบรูด้าในไทยซึ่งเป็นสัตว์สงวนชนิดใหม่ในบัญชีพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ซึ่งกรณีที่พบ Tattoo skin disease (TSD) ลักษณะรอยโรคจะเป็นปื้นสีเทาเข้ม สีดำ หรือสีค่อนข้างเหลือง ไม่มีรูปร่างแน่นอน และนูนเล็กน้อย เกิดสัตว์ที่มีความเครียด ความอ่อนแอ ภาวะภูมิคุ้มกันตก เช่น อดอาหาร การติดเชื้อ และมีพยาธิ
อ่านข่าวอื่นๆ
ถอดบทเรียนโควิดระบาด "ตลาดนัดกลางคืน" ชี้เชื้อลอยในอากาศนาน 1.39 ชม.
ศาลตัดสินจำคุก 2 ปี "ลูกเกด ก้าวไกล" คดี ม.112 รอประกันตัว