ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กทม.จี้สอบซื้อแพง "เครื่องออกกำลังกาย" 22 รายการ 10 ล้าน

สังคม
6 มิ.ย. 67
11:19
2,882
Logo Thai PBS
กทม.จี้สอบซื้อแพง "เครื่องออกกำลังกาย" 22 รายการ 10 ล้าน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ผู้ว่าฯกทม.สั่งสอบด่วนปมจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายในศูนย์กีฬา 2 แห่ง แพงเกินจริง มูลค่าเกือบ 10 ล้านบาท พร้อมยืนยัน กทม.ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาเอง ระบุหากพบทุจริตพร้อมดำเนินการตามกฎหมาย

วันที่ (6 มิ.ย.2567) จากกรณีเพจเฟซบุ๊ก "ชมรม STRONG ต้านทุจริตประเทศไทย" เปิดเผยถึงข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างของ กทม. โดยพบเห็นความผิดปกติในการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย ส่อแพงจริงโดยเป็นการจัดซื้อของ ศูนย์กีฬาวารีภิรมย์ และศูนย์กีฬาวชิรเบญจทัศ รวมกัน 2 ที่เกือบ 10 ล้านบาท แบ่งเป็นที่ศูนย์วารีภิรมย์ 4,999,990 บาท และ ศูนย์วชิรเบญจทัศวงเงิน 4,998,800 บาท

โดยทีม STRONG สืบเสาะข้อมูลพบว่ายังมีอีก 7 โครงการ 

- ศูนย์มิตรไมตรี 11 ล้านบาท
- ศูนย์อ่อนนุช 15.6 ล้านบาท
- ศูนย์วัดดอกไม้ 11.5 ล้านบาท
- ศูนย์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา 12.1 ล้านบาท
- ศูนย์นันทนาการ สังกัดสำนักนันทนาการ 17.9 ล้านบาท
- ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) 11.1 ล้านบาท
- ครุภัณฑ์เสริมสร้างสมรรถภาพผู้สูงอายุ 24 ล้าน
รวมเป็นงบกว่า 103.2 ล้านบาท

ซึ่งจากการตรวจดูเอกสารเบื้องต้นพบว่า ราคาสูงผิดปกติ และมีแค่ 2-3 บริษัท เดิมๆเท่านั้นที่ผลัดกันได้งาน งานนี้ สตง. ป.ป.ช. และหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจต้องตรวจสอบ

ผู้ว่าฯกทม.ตั้งกรรมการสอบ

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมฝ่ายเกี่ยวข้อง แถลงชี้แจงถึงกระบวนการตรวจสอบ การจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายในศูนย์กีฬา วชิรเบญจทัศ และศูนย์กีฬาวารีภิรมย์ โดยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-bidding ว่า กทม.ทราบเรื่องการถูกตั้งข้อสังเกตเรื่องการจัดซื้อที่มีความผิดปกติจาก สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง.เมื่อ 2 เดือนที่แล้วจากการสุ่มตรวจของ สตง.

พร้อมยอมรับว่าจากข้อมูลบางส่วนพบการจัดซื้อมีราคาสูงกว่าท้องตลาด แต่ขั้นตอนทางฝ่ายสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กทม.ชี้แจงว่า เป็นไปตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้าง ปี 2560 มีการทำ TOR ผ่านขบวนการ e-bidding เรียบร้อยแล้ว โดยที่ฝ่ายบริหาร ไม่ทราบเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณการจัดซื้อ เพราะมีกระบวนการตามขั้นตอนอยู่แล้ว ทั้งนี้ กทม.ได้ตั้งคณะกรรมการป้องกันการทุจริต ตรวจสอบและรายงานข้อมูล ให้ สตง. รับทราบแล้ว ถ้าตรวจสอบพบคนที่กระทำความผิดก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย

ด้านนายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระบุว่า ผู้ชนะประกวดราคา เคยทำงานร่วมกับกรุงเทพมหานครมาแล้ว ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 ส่วนโครงการนี้พบการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง ตั้งแต่ปี 2565 ก่อนที่คณะบริหารชุดปัจจุบันจะเข้ามาทำงานในเดือนมิถุนายน 2565

นายศานนท์ กล่าวว่า ในด้านการตรวจสอบความโปร่งใส กทม.มีนโยบาย Open Bangkok เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสที่จะเข้ามาตรวจสอบการดำเนินงานต่าง ๆ ทุก ๆ ขั้นตอน ไม่ว่าจะตรวจสอบผ่านระบบ EGP ของกรมบัญชีกลางและของกรุงเทพมหานคร หรือการเปิดเผยร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีของกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ เรายังร่วมมือกับ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT พัฒนา actai.co ซึ่งสามารถตรวจพบพิรุธหรือมีข้อน่าสงสัยในแต่ละจุด อาทิ โครงการที่มีบริษัทมายื่นข้อเสนอน้อย ราคากลางต่ำหรือสูงเกินไป เป็นต้น

“การมีตาเพียงไม่กี่ตาอาจจะตรวจสอบได้ไม่ถี่ถ้วน ฉะนั้นการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบเป็นเรื่องสำคัญที่ กทม. จะดำเนินการอย่างจริงจังร่วมไปกับประชาชนด้วยนโยบาย Open Bangkok” นายศานนท์ กล่าว

นายสมบูรณ์ หอมนาน รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวเพิ่มเติมถึงขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างว่า เบื้องต้นที่ได้ทำการตรวจสอบ โครงการได้ดำเนินการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการ e-bidding เป็นการซื้อโดยเปิดเผยต่อสาธารณชน สำหรับการกำหนดราคากลาง กทม.ไม่ได้เป็นผู้ตั้งราคาขึ้นมาเอง โดยให้คณะกรรมการสืบราคาจากท้องตลาดไม่น้อยกว่า 3 ราย ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างนั้น ๆ มีความมั่นคง มีมาตรฐานที่มั่นใจได้ว่าจะไม่ทิ้งงานและไม่ทิ้งการให้บริการหลังการขายและของต้องมีคุณภาพ ในการนี้เป็นบริษัทที่จำหน่ายเครื่องออกกำลังกาย โดยภายหลังกระบวนการสืบราคา จะใช้ราคากลางตามระเบียบกฎหมายกำหนด

“ขอยืนยันว่าหากตรวจสอบและพบการกระทำผิด หรือการทุจริตจริง กรุงเทพมหานครจะดำเนินคดีตามกฎหมายไม่ละเว้น ทั้งนี้ ขอเชิญชวนภาคเอกชนเข้าร่วมการประมูลการจัดซื้อจัดจ้างของกรุงเทพมหานครเพื่อให้การใช้งบประมาณเกิดประโยชน์มากที่สุด” 

เปิดราคาเครื่องออกกำลังกาย ศูนย์วารีภิรมย์-ศูนย์วชิรเบญจทัศ

สำหรับเครื่องออกกำลังกายที่ กทม. จัดซื้อ ณ ศูนย์วารีภิรมย์ 11 รายการ วงเงิน 4,999,990 บาท

1. อุปกรณ์ลู่วิ่งไฟฟ้า จำนวน 1 เครื่อง 759,000 บาท
2. จักรยานนั่งเอนปั่นแบบมีพนักพิง จำนวน 1 เครื่อง 483,000 บาท
3. จักรยานนั่งปั่นแบบนั่งตรง จำนวน 2 เครื่อง เครื่องละ 451,000 บาท
4. อุปกรณ์บริหารกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า จำนวน 1 เครื่อง 466,000 บาท
5. อุปกรณ์บริหารกล้ามเนื้อขาด้านหน้าและขาด้านหลัง จำนวน 1 เครื่อง 477,500 บาท
6. อุปกรณ์บริหารกล้ามเนื้อห้วงไหล่ อก และหลังแขน จำนวน 1 เครื่อง 483,000 บาท
7. อุปกรณ์บริหารกล้ามเนื้ออเนกประสงค์ จำนวน 1 เครื่อง 652,000 บาท
8. ชุดดัมเบลพร้อมชั้นวาง จำนวน 1 เครื่อง 276,000 บาท
9. อุปกรณ์บาร์โหนฝึกกล้ามเนื้ออเนกประสงค์ จำนวน 1 เครื่อง 302,490 บาท
10. เก้าอี้ฝึกกล้ามเนื้อหน้าท้อง จำนวน 1 เครื่อง 103,000 บาท
11. เก้าอี้ฝึกตัมเบลแบบปรับระดับได้ จำนวน 1 เครื่อง 96,000 บาท

เครื่องออกกำลังกายที่ กทม. จัดซื้อ ศูนย์วชิรเบญจทัศ 11 รายการ วงเงิน 4,998,800 บาท

1. จักรยานนั่งเอนปั่นแบบมีพนักพิง จำนวน 3 เครื่อง เครื่องละ 483,000 บาท
2. จักรยานนั่งปั่นแบบนั่งตรง จำนวน 2 เครื่อง เครื่องละ 451,000 บาท
3. อุปกรณ์บริหารกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า จำนวน 1 เครื่อง 466,000 บาท
4. อุปกรณ์บริหารกล้ามเนื้อขาด้านหน้าและขาด้านหลัง จำนวน 1 เครื่อง 477,500 บาท
5. อุปกรณ์บริหารกล้ามเนื้อห้วงไหล่ อก และหลังแขน จำนวน 1 เครื่อง 483,000 บาท
6. อุปกรณ์บริหารกล้ามเนื้ออเนกประสงค์ จำนวน 1 เครื่อง 652,000 บาท
7. ชุดดัมเบลพร้อมชั้นวาง จำนวน 1 เครื่อง 276,000 บาท
8. เก้าอี้ฝึกตัมเบลดัมเบลแบบปรับระดับได้ จำนวน 1 เครื่อง 96,000 บาท
9. เก้าแี้ยกหน้ำหนักแบบราบ จำนวน 1 เครื่อง 80,000 บาท
10. ชุดแผ่นน้ำหนักโอลิมปิค จำนวน 2 ชุด ชุดละ 41,000 บาท
11. ชุดบาร์ยกน้ำหนัก จำนวน 1 ชุด 36,000 บาท

รายการเครื่องออกกำลังกายต่างๆ ที่ กทม.จัดซื้อ เมื่อเทียบกับราคาตลาดแล้ว ราคาช่างแตกต่างกันสูงมาก เช่น เก้าอี้ฝึกดัมเบลแบบปรับระดับได้ ราคาตลาดเกรดดี ไม่เกิน 3 หมื่นบาท แต่ กทม.จัดซื้อ 96,000 บาท

ทั้งนี้เมื่อลองตรวจสอบเฉพาะปี 2567 กทม.จัดซื้อครุภัณฑ์เครื่องออกกำลังกายกว่า 9 โครงการ ด้วยงบประมาณกว่า 77.73 ล้านบาท ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่า การจัดซื้อจัดจ้างอาจจะแพงเกินจริง

อ่านข่าว : 

"อัจฉริยะ" โชว์สลิปสั่งซื้ออาหารเสริมยี่ห้อดังพบ "สารไซบรูทามีน"

"เบนซ์" ชี้ผลิตภัณฑ์ อย.ตรวจเป็นของปลอมไม่ใช่ "อิชช่า"ของแท้

“วราวุธ” ระบุไม่ใช่นักจิตวิทยา จะสรุปเด็กเชื่อมจิต “ปกติ-ไม่ปกติ” ไม่ได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง