ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ไฟป่าเชียงดาว ปี 66/67 hotspotลดร้อยละ 40 แต่ยังต่ำกว่าเป้าหมาย

ภูมิภาค
7 มิ.ย. 67
16:30
312
Logo Thai PBS
ไฟป่าเชียงดาว ปี 66/67 hotspotลดร้อยละ 40 แต่ยังต่ำกว่าเป้าหมาย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
แม้ฝนที่ตกลงมาจะทำให้พืชพันธุ์ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่เริ่มฟื้นตัว หลังเกิดไฟป่าลุกลามในช่วงวิกฤตฝุ่นควันที่ผ่านมา แต่ต้นไม้ใหญ่บางส่วนก็หักโค่นไปแล้ว เนื่องจากถูกไฟป่าเผาทำลาย

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว มีพื้นที่กว่า 3 แสนไร่ ครอบคลุมพื้นที่ "ดอยหลวงเชียงดาว" ซึ่งยูเนสโก้ประกาศให้เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลเมื่อปี 2564 และ ถือเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งที่ 6 ของประเทศไทย

"ดอยหลวงเชียงดาว" ยังเป็น 1 ใน 7 กลุ่มป่าเป้าหมายของจังหวัดเชียงใหม่ในการบูรณาการร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน โดยภาครัฐ และ ภาคประชาชน ระดมกำลังคน และ งบประมาณเฝ้าระวัง พร้อมตั้งเป้าลดจุดความร้อนลงจากปีก่อนหน้า ร้อยละ 50 หรือ ไม่เกิน 284 จุด

แต่หลังสิ้นสุดฤดูไฟป่า กลับพบว่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว มีจุดความร้อนมากถึง 338 จุด หรือ ลดลงเพียงร้อยละ 40 ส่วนพื้นที่เผาไหม้มีเนื้อที่รวมกว่า 9 หมื่นไร่ ซึ่งการถอดบทเรียนพบว่าปัญหาหลักมาจากระบบจัดการเผาที่ยังมีช่องโหว่ ชาวบ้านบางส่วนยังไม่ให้ความร่วมมือ และ ไฟป่าที่เกิดขึ้นหลังสิ้นสุดประกาศห้ามเผา 30 เมษายน

พรนรินทร์ คุ้มทอง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว

พรนรินทร์ คุ้มทอง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว

พรนรินทร์ คุ้มทอง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว

พรนรินทร์ คุ้มทอง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวระบุว่าที่ผ่านมาได้เห็นความร่วมมือของทุกฝ่ายในการช่วยกันแก้ไขปัญหาไฟป่า แม้จะมีปัญหาอุปสรรคในแต่ละชุมชนบ้าง แต่ก็เป็นข้อจำกัดเล็กๆ น้อยๆ เช่น มุมมอง หรือ งบประมาณ ซึ่งในอนาคตภาครัฐจะต้องหาแนวทางช่วยเหลือ และ พูดคุยกันเพิ่มเติม

ปีหน้า จะเดินต่อในเรื่องของความร่วมมือให้มีความชัดเจนขึ้น ในเรื่องของบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย โดยเฉพาะชุมชน ที่จะต้องช่วยกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ของตัวเอง

อมรเทพ ภมรสุจริตกุล ผู้ใหญ่บ้านเล่าวู่ ตำบลเวียงแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ อีก 1 ชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว ก็มองว่าแผนป้องกันไฟป่าในปีนี้มาถูกทางแล้ว โดยเฉพาะการสร้างความร่วมมือของภาคประชาชน ต่างจากในอดีต ซึ่งเจ้าหน้าที่ป่าไม้มักใช้กฎหมายเป็นหลัก แต่ ณ วันนี้ เจ้าหน้าที่เข้าหาประชาชน มีความเป็นพี่เป็นน้องกันมากขึ้น

อมรเทพ ภมรสุจริตกุล ผู้ใหญ่บ้านเล่าวู่ ตำบลเวียงแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่

อมรเทพ ภมรสุจริตกุล ผู้ใหญ่บ้านเล่าวู่ ตำบลเวียงแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่

อมรเทพ ภมรสุจริตกุล ผู้ใหญ่บ้านเล่าวู่ ตำบลเวียงแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่

ส่วนปัญหาการลดการเผาที่ยังพลาดเป้า เชื่อว่าเกิดจากปัญหาในด้านการบริหารจัดการเชื้อเพลิงที่ยังไม่ชัดเจน และ ไฟที่เกิดขึ้น หลังสิ้นสุดมาตรการห้ามเผา 30 เมษายน การรับมือไฟป่าในอนาคต จึงควรจะต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งงบประมาณ และ แผนปฏิบัติการล่วงหน้า

อันดับแรก คือต้องสร้างรายได้ให้กับประชาชน ให้ประชาชนอยู่ได้แบบยั่งยืน เช่น การปลูกไม้ผลเมืองหนาว หรือ อาชีพอื่นๆ ที่ไม่ต้องเผาป่า หรือ อาจจะเปิดการท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้ทดแทน ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาได้แบบยั่งยืน

นอกจากความเสียหายจากไฟป่าในพื้นที่ดอยหลวงเชียงดาวแล้ว ไฟป่าบริเวณดอยนางที่ลุกไหม้รุนแรงในช่วงปลายเดือนเมษายนซึ่งถูกนำเสนอข่าวผ่านสื่ออย่างกว้างขวาง ก็ทำให้อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ มีคำสั่งปิดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวไม่มีกำหนด เพื่อแก้ปัญหาการลักลอบเผาป่า และการบุกรุกพื้นที่ป่า การล่าสัตว์ ตลอดจนจัดระเบียบที่พัก ซึ่งล่าสุดเจ้าหน้าที่ เตรียมเร่งรัดรื้อถอดสิ่งปลูกสร้าง 2 แปลง ที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด

อุดม เจียรวิริยะพันธ์ คณะทำงานภาคีคนรักดอยหลวงเชียงดาว

อุดม เจียรวิริยะพันธ์ คณะทำงานภาคีคนรักดอยหลวงเชียงดาว

อุดม เจียรวิริยะพันธ์ คณะทำงานภาคีคนรักดอยหลวงเชียงดาว

อุดม เจียรวิริยะพันธ์ คณะทำงานภาคีคนรักดอยหลวงเชียงดาวมองว่า ชาวบ้านที่อยู่บนดอย ต้องมีอาชีพ มีการทำมาหากิน แต่ก็ต้องมีกติกาและ ความยั่งยืน การปิดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว ก็เพื่อจัดระเบียบให้ดีขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ประโยชน์ในพื้นที่สงวนชีวมณฑล ทุกหมู่บ้านต้องตื่นตัว เร่งทำข้อตกลง หรือ กติกา ที่เป็นรูปธรรมให้กรมอุทยานฯ เห็น

ควรมีการทำข้อตกลง หรือ MOU กำหนดว่า เราจะควบคุมเรื่องบ้านพัก ควบคุมการใช้พื้นที่ต่างๆ และ ให้ป่ามีความยั่งยืน ภายใน 1- 2 เดือน เชื่อว่าหากตั้งใจทำจริงๆ จะมีการเปิดป่าอีกครั้ง ก่อนจะถึงช่วงการเปิดฤดูกาลท่องเที่ยวปลายปีนี้

สำหรับข้อตกลงหลังการปิดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว ชาวบ้าน และ ภาคประชาชน ได้ข้อสรุป 3 เรื่อง คือ การจัดการไฟป่าในปีหน้า ชาวบ้านที่มีที่ทำกินติดผืนป่า ต้องทำแนวกันไฟทุกแปลง ส่วนพื้นที่ใด มีการบุกรุกหลังปี 2557 จะต้องคืนพื้นที่ และ ฟื้นฟูสภาพป่า สำหรับบริการบ้านพัก จะต้องไม่มีเพิ่ม จนกว่าจะมีการแนวทางที่ชัดเจนในการบริหารจัดการ และ การแก้ไขปัญหาขยะและน้ำเสีย

รายงาน : พยุงศักดิ์ ศรีวิชัย ผู้สื่อข่าวอาวุโสไทยพีบีเอส ศูนย์ข่าวภาคเหนือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง