กกต.วางแนวทางรับคำชี้ขาดศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมเดินหน้าจัดเลือก สว.

การเมือง
13 มิ.ย. 67
13:59
528
Logo Thai PBS
กกต.วางแนวทางรับคำชี้ขาดศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมเดินหน้าจัดเลือก สว.
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เลขาธิการ กกต. วางแนวทางรับคำชี้ขาดจากศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 18 มิ.ย.นี้ ไม่หวั่นผลเป็นบวก หรือ ลบ พร้อมเดินหน้าจัดการเลือก สว.ระดับจังหวัด-ประเทศ

วันนี้ (13 มิ.ย.2567) นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. ชี้แจงเกี่ยวกับความพร้อมกระบวนการเลือก สว.ระดับจังหวัด ว่า มีการซักซ้อมความเข้าใจกับ ผู้อำนวยการเลือกระดับจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้การดำเนินการอยู่ภายใต้หลัก 3 เรื่อง ความเรียบร้อย ความเป็นมาตรฐานเดียวกัน ความเสมอภาคของผู้ปฏิบัติ โดยได้นำข้อสังเกตการของ กกต. ทั้ง 7 คน มาปรับปรุงให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

อ่านข่าว : ที่มาตัวเลข "สว.ชุด 13" 200 คนจาก 20 อาชีพ

สำหรับข้อสังเกตการณ์ที่พบว่ามีการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกัน เช่น การตั้งหีบบัตร ซึ่งมีหลายอำเภอมีกลุ่มอาชีพที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียว เมื่อเข้าสู่รอบไขว้ซึ่งจะมีหีบสำหรับลงคะแนนเพียง 1 กล่อง ของสาย เพื่อให้การลงคะแนนของผู้สมัครเพียงคนเดียวของกลุ่มนี้เป็นความลับ แต่ปัญหานี้จะหมดไปเมื่อเข้าสู่การเลือกระดับจังหวัด เพราะกลุ่มอาชีพนั้นจะมีผู้สมัครเกินกว่า 1 คน เชื่อว่าเมื่อมีการซักซ้อมกันแล้ว การเลือกระดับจังหวัดจึงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

นายแสวง กล่าวว่า จากที่ได้รับความเห็นข้อเสนอต่าง ๆ ในระดับอำเภอแล้ว ทางสำนักงานจึงเห็นว่า ในการเลือกระดับจังหวัดนั้นจะกำหนดให้ช่วงเช้าเป็นการเลือกรอบแรก ส่วนการเลือกรอบไขว้หรือรอบ 2 จะดำเนินการในช่วงบ่ายเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยในสถานที่เลือก หรือจัดเลือกกลุ่มในช่วงเช้า จัดเลือกไขว้ในรอบบ่าย และการแนะนำตัวของผู้สมัครก็สามารถทำได้ แต่เน้นให้เป็นระเบียบไม่เดินขวักไขว่

แสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.

แสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.

แสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.

นายแสวง กล่าวถึงความผิดว่าในการเลือก สว. ตามกฎหมายว่า มี 3 ลักษณะ คือ 1.การรับสมัคร คือ รู้ว่าตัวเองไม่มีสิทธิลงสมัครแต่ก็ยังสมัคร มีการรับรองเอกสารเป็นเท็จและรับจ้างสมัคร 2.กระบวนการและการดำเนินการ คือ การเลือก พบว่า มีความผิดในการลงคะแนน นับคะแนน ซึ่งมีคำร้องที่ กกต.กำลังเร่งพิจารณาให้เสร็จก่อนการเลือกระดับจังหวัด รวม 8 เรื่อง

และ 3.การเลือกที่ไม่สุจริตและเที่ยงธรรม คือ การยอมให้พรรคการเมืองมาช่วยหาเสียง มีการให้เงินให้ทรัพย์สิน และมีการร้องเท็จเรียกรับผลประโยชน์เพื่อเลือกหรือไม่เลือก

ซึ่งสิ่งที่ กกต.ทำในเรื่องการสมัครที่มีการมองกันว่ามีคนมาสมัครเป็นกลุ่ม ใส่เสื้อสีเดียวกัน ถ่ายรูปมาจากร้านเดียวกัน เจ้าหน้าที่ได้มีการสอบถาม ผอ.ได้มีการสอบถามในวันที่มาสมัครว่ามีใครจ้างมาสมัครหรือไม่ จนทำให้บางรายรู้สึกไม่ดี ซึ่งขณะนี้กำลังประมวลผล ส่วนเรื่องการดำเนินการหรือการลงคะแนนก็มีการร้องเรียน ซึ่ง กกต.พิจารณาไปแล้วในบางส่วน

สำหรับความไม่สุจริตเกี่ยวกับการฮั้ว ความหมายของคำว่า ฮั้วไม่มีกฎหมายไหนนิยามเอาไว้ แต่กฎหมายที่ใกล้เคียงคือกฎหมายเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ แต่เรื่องการเลือกตั้งก็จะหมายถึงการทำให้การแข่งขันไม่เป็นธรรม ซึ่งในการเลือก สว. เดิมมีกฎหมายที่จะใช้ดำเนินการ 2 ฉบับ คือกฎหมายเลือก สว. และระเบียบที่อยู่ในนิยามของการให้แนะนำตัวได้เท่านั้น หากเกินกว่านี้ไม่ได้

นั้นเพราะศาลฎีกาวางแนวทางเอาไว้แล้วว่า การขอคะแนน แลกคะแนนทำไม่ได้ แต่ระเบียบนี้ถูกยกเลิกไป เหลือเพียงกฎหมายที่เอามาจับได้อย่างเดียว คือ มาตรา 77 ต้องให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดถึงจะเข้าเงื่อนไขกฎหมาย ซึ่งหากดูพฤติการณ์ที่ผ่านมา ใส่เสื้อสีเดียวกัน บริษัทเดียวกัน ชักชวนกันมา แนะนำตัวเพื่อให้เขาเลือกสามารถทำได้แล้ว เพราะนิยามการแนะนำตัวตามระเบียบถูกยกเลิกไป ตอนนี้จึงดูได้แต่เพียงว่าเขาได้ทำตามมาตรา 77 หรือไม่

ส่วนเมื่อมีการลงคะแนนแล้วพบว่า ผู้สมัครได้ 0 คะแนน โดยสำนำงานไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยให้จังหวัดตรวจสอบและรายงานมา แต่คงจะไปตรวจสอบจนตั้งเป็นสำนวนไม่ได้ เพราะกฎหมายกำหนดว่า ไม่จำเป็นต้องเลือกตัวเองก็ได้ ทั้งนี้หากผู้สมัคร หรือประชาชนเห็นว่ามีพฤติกรรมที่เข้าข่ายผิดมาตรา 77 ก็สามารถร้องเรียนได้ ขณะเดียวกัน กกต.มีหน่วยเคลื่อนที่เร็วที่มีการติดตามการเลือก เพราะสำนักงานให้ความสำคัญกับการเลือกที่สุจริตและเที่ยงธรรม

เมื่อถามว่ามีผู้สมัครใช้วิธีการเดินสายร้องเรียนตามที่ต่าง ๆ โดยมีเจตนาให้คนเองเป็นที่รู้จักถือว่า เข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ นายแสวง กล่าวว่า การแนะนำตัวที่ไม่ผิดระเบียบ หรือกฎหมายสามารถทำได้

อ่านข่าว : ศาลรัฐธรรมนูญ นัดชี้ขาด 4 มาตราเลือก สว. ขัด รธน.หรือไม่ 18 มิ.ย.นี้

ส่วนที่มีการร้องว่าการเลือกระดับอำเภอนั้น ทาง กกต.ติดตั้งกล้องวงปิด มีแค่ภาพ แต่ไม่มีเสียง อีกทั้งยังเป็นภาพระยะไกล จะทราบได้อย่างไรว่ามีการฮั้วหรือไม่นั้น เรื่องนี้ กกต.ได้ลงไปตรวจสอบติดตาม และสั่งให้สำนักงานแก้ไขเรื่องการจัดสถานที่สังเกตการณ์การเลือก สว.ระดับจังหวัด อยู่ใกล้กับสถานที่เลือก สามารถมองเห็นการเลือกและมีกล้องวงจรปิดที่สามารถเก็บเสียงเอาไว้ด้วย แต่พื้นที่สังเกตการณ์จะไม่ได้ยิน

เมื่อถามว่า มีกรณีการร้องเรียนการเลือกระดับอำเภอในสายที่มีกลุ่มอาชีพซึ่งมีผู้สมัครเพียงคนเดียว และตั้งหีบแยกไว้ จากนั้นมีการขานคะแนนทำให้การเลือกไม่เป็นความลับ นายแสวง กล่าวว่า ยังไม่ทราบข้อมูลนี้ จึงขอไปตรวจสอบก่อน ส่วนกรณีบางพื้นที่มีผู้พอเกิดอุบัติเหตุก็กำชับเรื่องการจัดสถานที่ ซึ่งเชื่อว่าสถานที่เลือกระดับจังหวัดจะดีกว่าระดับอำเภอ

ส่วนกรณีที่มีคนตั้งคำถามว่า เหตุใดมีคนไม่มีรายชื่อสามารถเข้ารับการเลือก สว.ระดับอำเภอได้นั้น นายแสวงชี้แจง ว่าเป็นเพราะบางคนศาลฎีกาคืนสิทธิให้ ทาง ผอ.การเลือกจึงเพิ่มชื่อเข้าไป ส่วนระดับจังหวัดที่กำลังจะเลือกนี้จะมีการตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติม หากพบใครไม่มีคุณสมบัติ ก็สามารถคัดชื่อออกได้เช่นเดียวกัน ซึ่งหากใครถูกคัดชื่อออกก็สามารถร้องต่อศาลฎีกาได้ภายใน 3 วัน แต่กรณีเช่นนี้มีน้อยมาก

 อ่านข่าว : เช็ก! รายชื่อผู้ได้รับเลือก สว.ระดับอำเภอ

ฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ กรรมการการเลือกตั้ง

ฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ กรรมการการเลือกตั้ง

ฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ กรรมการการเลือกตั้ง

ด้าน นายฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ กรรมการการเลือกตั้ง กล่าวย้ำว่า ผู้สมัคร สว.คนใดหากเห็นว่าการเลือกไม่ได้เป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม และไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมี 3 กรณีสามารถที่จะร้องคัดค้านได้ตามมาตรา 64 แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นผู้สมัคร ซึ่ง กกต. ก็ไม่ได้ละเลยหน้าที่ในกรณีที่มีคนร้อง ส่วนกรณีผู้สมัครไปร้องการเลือกในต่างอำเภอ กกต. ก็จะยกคำร้องเนื่องจากไม่เป็นไปตามระเบียบสืบสวน แต่ก็ไม่ได้ตัดสิทธิ กกต.ที่จะพิจารณาคำร้องนั้นให้เป็นเหตุอันควรสงสัยหรือความปรากฎ

ซึ่งการพิจารณาคำร้องของ กกต.เราพิจารณาทุกวัน ไม่ว่า กกต.จะอยู่ที่ไหนก็จะเรียกประชุม ไม่ต้องกลัวว่าจะมีคำร้องค้าง การพิจารณาคำร้องเมื่อพนักงานรับคำร้องแล้วจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากที่ได้รับคำร้อง แล้วต้องรายงานให้ กกต.ทราบภายใน 3 วัน แม้ว่าจะเป็นวันหยุด เนื่องจาก กกต.จะทำงานด้วยความรวดเร็วจะเร่งพิจารณาทุกคำร้อง ซึ่งบัดนี้คำร้องเมื่อวานและวันนี้พิจารณาเสร็จแล้ว 

เมื่อถามว่า พรรคก้าวไกล มองว่าจะมีการล้มกระดานเลือก สว.ในครั้งนี้นายฐิติเชฏฐ์ กล่าวว่า นั้นเป็นการคาดเดาเราเตรียมแผนไว้แล้วว่าจะดำเนินการอย่าไรหลังจากได้ สว.ตามจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนด เรามีแผนที่จะดำเนินการในสิ่งนั้น เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายทุกประการ 

กกต.วางแนวทางรับคำชี้ขาดศาลรัฐธรรมนูญ

เมื่อถามถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญจะมีการวินิจฉัยคำร้อง ตรวจสอบ 4 มาตราของ พ.ร.ป. พ.ศ. 2561 ประกอบด้วย มาตรา 36 ,40 ,41 และมาตรา 42 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 หรือไม่ โดยศาลนัดชี้ขาดในวันที่ 18 มิ.ย.นี้ จะส่งผลต่อการเลือก สว.หรือไม่ นายแสวง กล่าวว่า ต้องรอฟังคำสั่งศาล ซึ่งหากผลเป็นลบ ทาง กกต.ได้มีมาตรการก็รองรับทุกประตู แต่ยังบอกรายละเอียดไม่ได้ ขอให้รอดูวันที่ศาลพิพากษา 

เมื่อถามว่า กกต.ยังมั่นใจใช่หรือไม่ ว่าจะได้ สว. 200 คน เพราะมีการวิเคราะห์สถานการณ์ขณะนี้ว่าจะมี 3 ล้มกระดาน คือล้มพรรคก้าวไกล ล้มนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และล้มการเลือก สว.นายฐิติเชฏฐ์ กล่าวว่า อันนั้นเป็นการคาดเดา แต่เรามีแผนไว้แล้วว่าได้ สว. 200 คนไว้แล้ว ซึ่งจะดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายทุกประการ

อ่านข่าว : “คณะทูต 12 ประเทศอิสลาม” เยี่ยมสะพานเชื่อมไทย-มาเลย์ พิพิธภัณฑ์อิสลาม

กกต.โต้ "ก้าวไกล" ยันยื่นยุบพรรค ทำตาม กม.พรรคการเมือง ม. 92

"ลูกหมี-รัศมี" ร้องอดีตดารายืมเงิน 2 ล้าน จ่ายเช็คเด้ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง