โซเชียลยินดี "สมรสเท่าเทียม" ทุกเพศเท่ากัน

สังคม
18 มิ.ย. 67
16:33
2,629
Logo Thai PBS
โซเชียลยินดี "สมรสเท่าเทียม" ทุกเพศเท่ากัน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ส่องคอมเมนต์โซเชียลฯ คนดัง นักการเมือง ต่างร่วมแสดงความยินดี หลังสภาฯไฟเขียว "สมรสเท่าเทียม" วาระ 3 สร้างประวัติศาสตร์ชาติแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดประกาศใช้ภายในปีนี้

วันนี้ 18 มิ.ย.2567 เป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ประชุมวุฒิสภา โดย สว. เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (สมรสเท่าเทียม) ในวาระ 3 

ด้วยคะแนนเห็นด้วย 130 เสียง ไม่เห็นด้วย 4 เสียง งดออกเสียง 18 ไม่ลงคะแนนเสียง 0 ผู้ลงมติ 152 เสียง

หลังที่ประชุม วุฒิสภาเห็นชอบ ร่างกฎหมายดังกล่าว โดยไม่มีการแก้ไข ให้ นายกฯ, สส. หรือ สว. ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างกฎหมายดังกล่าวว่าไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ก็ให้นายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย จากนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมาย มีผลบังคับใช้ทันทีหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 120 วัน

หลังจากรอคอยมาอย่างยาวนาน ซึ่งมติครั้งนี้ทำให้ไทยถือเป็นชาติแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีกฎหมายให้ ทุกเพศสามารถสมรสกันได้ โดยต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป

มตินี้เกิดขึ้นในเดือน "Pride Month" เดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่ม LGBTQ+ หรือ ผู้มีความหลากหลายทางเพศทั่วโลก และทันทีที่สิ้นสุดเสียงขานคะแนน และมตินี้ผ่านฉลุย โลกออนไลน์ก็ต่างออกมาโพสต์ติดแฮชแท็ก #สมรสเท่าเทียม เพื่อร่วมยินดี จนขึ้นอันดับเทรนในแอปพลิเคชัน X

หลายคนต่างร่วมแสดงความยินดี รวมถึงพรรคการเมืองก็ต่างออกมาโพสต์ด้วยเช่นกัน ขณะที่ ทำเนียบรัฐบาล เตรียมจัดงานเลี้ยงเพื่อแสดงความยินดี กับจุดเริ่มต้นของกฎหมายสมรสเท่าเทียม บริเวณสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า โดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จะร่วมเปิดงานผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เย็นวันนี้

เริ่มต้นที่ พรรคก้าวไกล โพสต์ สิ้นสุดการรอคอย #สมรสเท่าเทียม ผ่านแล้ว เตรียมประกาศใช้เป็นกฎหมายในปีนี้ ขอบคุณทุกคนที่เดินบนเส้นทางนี้ร่วมกัน พร้อมระบุ 

  • 18 มิถุนายน 2563 ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สส.บัญชีรายชื่อก้าวไกล ยื่นร่างสมรสเท่าเทียมเข้าสภาฯ
  • 18 มิถุนายน 2567 สมรสเท่าเทียมผ่านการพิจารณาวาระ 2-3 ในชั้น สว.

ตลอดการเดินทาง 4 ปี จากจุดเริ่มต้นที่มีคำถามว่า "ทำเรื่องอื่นก่อนไหม" สังคมพร้อมหรือยัง เรื่องนี้จะเป็นไปได้หรือในสังคมไทย แต่การรณรงค์ขับเคลื่อนอย่างแข็งขันของหลายภาคส่วน ทำให้สมรสเท่าเทียมเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อย ๆ ปลุกกระแสความตื่นตัว การตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนและสิทธิในการสมรส ที่ผู้มีความหลากหลายทางเพศเคยถูกพรากไป

จนถึงวันนี้ "ความเปลี่ยนแปลง" ไม่ได้เป็นเพียงกระแส แต่ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้ว

ด้าน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ โพสต์แสดงความเห็นต่อเรื่องนี้เช่นกัน โดยระบุ ขอขอบคุณ ทุกคนและหน่วยงาน องค์กร พรรคการเมือง ทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในการผลักดันสมรสเท่าเทียม ให้สำเร็จได้

ถือเป็นก้าวแรกในการสร้างความเสมอภาคเท่าเทียมทางเพศให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ไทยเป็นชาติแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีสมรสเท่าเทียมเกิดขึ้นจริง
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์

สถานีต่อไป World Pride 2030 ประเทศแรกในเอเชีย

เช่นเดียวกับ พรรคเพื่อไทย ที่ก็ออกมาโพสต์ข้อความระบุว่า พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ผ่านวุฒิสภาเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงขั้นตอนการประกาศใช้ ยังมี พ.ร.บ. อื่น ๆ ที่กำลังเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร คือ ผลงานสำคัญที่รัฐบาลและพรรคฯต้องการสนับสนุนความหลากหลายทางเพศให้เกิดขึ้นจริง

นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญให้ความหลากหลายทางเพศผลิบานแบบเท่าเทียมกับเพศอื่นในสังคมไทย และเป็นการส่งต่อไปยังโอกาสสำคัญ นั่นคือการเป็นเจ้าภาพงาน World Pride 2030 ที่รัฐบาลไทยต้องการให้เกิดขึ้นได้จริง

นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่า World Pride คือ เทศกาลเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศที่มีความสำคัญในระดับโลก จัดขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ.2540 และจัดขึ้นในทุก 2 ปี การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานนี้ ประเทศไทยจำเป็นต้องมีความพร้อมในหลายด้าน ทั้ง กฎหมายความเท่าเทียมทางเพศ สถานที่จัดงาน และความเป็นมิตรกับชุมชนแห่งความหลากหลายทางเพศ ฯลฯ

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ที่มีโอกาสจะได้ประกาศใช้ภายในปีนี้ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่แสดงว่าประเทศไทยยอมรับเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ เราพร้อมแล้วที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนทุกเพศให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยการแก้ไขและร่างกฎหมายสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศเพิ่มเติมอีกหลายหลายฉบับ

การเป็นเจ้าภาพงาน World Pride จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทยส่งผลดีกับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อย่าง ธุรกิจแฟชั่น, ผับบาร์สำหรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ, การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องในไทย ถือเป็นการปักหมุดหมายเการท่องเที่ยวไทยยุคใหม่ ให้ประเทศไทยเป็น สวรรค์ของความหลากหลายทางเพศอย่างแท้จริง

ที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกต้องมาเยือน World Pride 2030 ไม่ใช่เพียงความสำเร็จด้านเศรษฐกิจของคนไทยและกลุ่ม LGBTQ+ เพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสให้ประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียนแสดงศักยภาพการเป็นพื้นที่แห่งการแสดงออก ส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพให้กับคนทุกเพศ 

เมื่อกฎหมายผ่านเรียบร้อยแล้ว จะเป็นแรงกระเพื่อมที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งของสังคมไทย ที่ทั้งมอบสิทธิ ให้พื้นที่และยอมรับเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ ให้ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศได้มีสิทธิ์ มีศักดิ์ศรีอย่างที่ควรมี พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโอกาสใหญ่ระดับโลกอย่าง World Pride 2030

ทำเนียบฯ เตรียมจัดฉลองกฎหมาย สมรสเท่าเทียม

บรรยากาศที่ทำเนียบรัฐบาล ร่วมเฉลิมฉลองกับชาว LGBTQIA+ หลังกฎหมายสมรสเท่าเทียมเกิดขึ้นแล้วในประวัติศาสตร์ชาติไทย รวมถึงเป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศอาเซียน และเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย

สนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

สนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

สนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

สนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

สนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

"เศรษฐา" ยินดี ความรักที่เท่าเทียม "หลากหลาย" ไม่ใช่ "แตกต่าง"

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่าน X ว่า ผมขอชื่นชมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจากหัวใจ ที่เราช่วยกันผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม จนผ่านมาถึงจุดนี้ พวกเราต่อสู้เรียกร้องกันมายาวนาน เพราะเราเชื่อในสิทธิที่เสมอภาคและเท่าเทียมกันของคนทุกคน วันนี้เป็นเวลาของเราทุกคนแล้ว

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

กฎหมายสมรสเท่าเทียมฉบับนี้ นอกจากจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถแต่งงานกันได้แล้ว คู่รักที่แต่งงานกันยังมีสิทธิทุกอย่างตามกฎหมายเช่นเดียวกับสามี-ภรรยาทุกคู่

วันนี้ เรามีกฎหมายสมรสเท่าเทียมเป็นประเทศที่ 3 ของเอเชีย และเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เราจะเดินไปด้วยกันต่อ เพื่อผลักดันกฎหมาย และข้อเรียกร้องอื่น ๆ อีก

Srettha Thavisin

Srettha Thavisin

นายกรัฐมนตรี ระบุอีกว่า งานฉลองที่ทำเนียบรัฐบาลวันนี้ เราฉลองให้กับความสำเร็จที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมผ่าน ฉลองให้กับจุดเริ่มต้นของความรักที่เท่าเทียม "ความหลากหลาย" ไม่ใช่ "ความแตกต่าง" ขอให้ทุกความรักงดงาม และเต็มไปด้วยพลัง

Srettha Thavisin

Srettha Thavisin

เอกอัครราชทูตอังกฤษ ร่วมยินดี "สมรสเท่าเทียม"

ขณะที่ มาร์ค กูดดิ้ง เอกอัครราชทูตอังกฤษ ก็ได้ออกมาโพสต์ข้อความพร้อมคลิปเพื่อแสดงความยินดีกับเรื่องนี้เช่นกัน โดยระบุว่า ผมขอแสดงความยินดีที่รัฐสภาไทยผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม Congratulations to Thailand on the passage through Parliament of the Equal Marriage Bill. 

มาร์ค กูดดิ้ง เอกอัครราชทูตอังกฤษ

มาร์ค กูดดิ้ง เอกอัครราชทูตอังกฤษ

มาร์ค กูดดิ้ง เอกอัครราชทูตอังกฤษ

นอกจากนี้พูดผ่านคลิปเป็นภาษาไทยว่า ผมขอแสดงความยินดีที่รัฐบาลไทย ผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งกฎหมายสมรสเท่าเทียม เป็นก้าวที่สำคัญสำหรับสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม ที่จะทำให้คู่รักได้รับการรับรองทางกฎหมายและปกป้องสถานะ

ผมขอพูดจากประสบการณ์ส่วนตัว ที่ผมและสามีของผมได้เปลี่ยนสถานะจากคู่ชีวิตมาเป็นคู่สมรส หลังจากที่สหราชอาณาจักรผ่านกฎหมายเมื่อ 10 ปีก่อน

สหราชอาณาจักรยินดีที่ได้ร่วมมือกับรัฐบาลไทยและองค์กรภาคประชาสังคม ในเรื่องสิทธิของ LGBT+ มาหลายปี ท่ามกลางจัดงานเพื่อฉลอง Pride แต่ความก้าวหน้าจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากปราศจากการทำงานกันอย่างหนัก และความมุ่งมั่นของเพื่อน ๆ ชาวไทย ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันยืนยันว่า ทุกคนจะมีสิทธิที่จะแต่งงานกับทุกคนที่เขารัก ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม

อ่านข่าว : ไขปริศนา 5 วัน สอบข้อเท็จจริง "สินบน" ถุงขนมฮ่องกง 2,000 ล้าน

พ่อยิงลูกชายก่อนลั่นไกใส่ตัวเอง เสียชีวิต 1 เจ็บสาหัส 2 คน

เปิดทำเนียบแชมป์ ฟุตบอลยูโร ตั้งแต่ 1960-2020

ข่าวที่เกี่ยวข้อง