วันนี้ (18 มิ.ย.2567) กลุ่มผู้อาศัยบริเวณถนนประเสริฐมนูกิจ เข้ายื่นหนังสือ ถึงผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ให้ทบทวนการก่อสร้างอุโมงค์ N1 ตั้งแต่ช่วงศรีรัช-ถนนประเสริฐมนูกิจ โดยเปลี่ยนจากการสร้างรูปแบบ “ทางยกระดับ” ผ่านทางหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นการสร้าง “อุโมงค์ลอดใต้ดิน” เริ่มจากบริเวณห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่างามวงศ์วาน ไปยังบริเวณปากทางออกที่ปั๊ม ปตท. บริเวณถนนประเสริฐมนูกิจ - ช่วงแยกลาดปลาเค้า ระยะทางรวม 10.55 กม.
กลุ่มประชาชนผู้อาศัย บริเวณ ถ.ประเสริฐมนูกิจ กว่า 30 คน ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าการ กทพ.เพื่อขอให้ทบทวนการก่อสร้างอุโมงค์ N1 ช่วงศรีรัช-งามวงศ์วาน โดยอ้างถึงความคุ้มค่า ความปลอดภัย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
นายมนัส ทรงแสง ตัวแทนประชาชน สะท้อนว่า หาก กทพ.อนุมัติสร้างอุโมงค์ทางลอดดังกล่าว ประชาชนในพื้นที่มีความกังวล 3 เรื่อง คือ 1.เรื่องความปลอดภัย จากอุบัติเหตุการใช้ความเร็วขณะขับขี่รถยนต์ลงอุโมงค์ 2.ความคุ้มค่าของการก่อสร้าง จากเดิมที่วางงบประมาณไว้ 17,000 ล้านบาท จะต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างถึง 42,000 ล้านบาท ซึ่งมีการจำกัดการใช้งานเพียงรถยนต์สี่ล้อเท่านั้น และ 3.ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งควัน ฝุ่น และเสียงดัง นอกจากนี้ยังที่ดินที่ต้องเวนคืนที่ดิน 22 ไร่ และบ้านเรือนของประชาชนได้รับผลกระทบ 188 คน
กลุ่มประชาชนผู้อาศัย บริเวณ ถ.ประเสริฐมนูกิจ กว่า 30 คน ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าการ กทพ.เพื่อขอให้ทบทวนการก่อสร้างอุโมงค์ N1 ช่วงศรีรัช-งามวงศ์วาน โดยอ้างถึงความคุ้มค่า ความปลอดภัย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ด้าน นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (ผู้ว่าการ กทพ.) เปิดเผยว่า การก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดดังกล่าว ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาหลายขั้นตอน ทั้งการรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้าน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และการประเมินความคุ้มค่าของโครงการ โดยช่วงเดือน ส.ค. - ก.ย.2567 นี้ จะมีการประชุมรับฟังความเห็นประชาชน เป็นครั้งสุดท้าย
นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (ผู้ว่าการ กทพ.)
หลังจากนั้นจะมีการเสนอกระทรวงคมนาคม สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แล้วจะมีการนำเสนอให้ประชาชนทราบอีกครั้ง
สำหรับโครงการ "อุโมงค์ทางด่วน N1" สรุปการศึกษาและรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในเดือน พ.ค.2567 จากนั้นเป็นขั้นตอนการเสนอ ครม.และขออนุมัติรายงาน EIA คาดใช้เวลาประมาณ 1.5 - 2 ปี คาดประมูลในปี 2569 เริ่มก่อสร้างปี 2570 ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี เปิดบริการปี 2575
กลุ่มประชาชนผู้อาศัย บริเวณ ถ.ประเสริฐมนูกิจ กว่า 30 คน ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าการ กทพ.เพื่อขอให้ทบทวนการก่อสร้างอุโมงค์ N1 ช่วงศรีรัช-งามวงศ์วาน โดยอ้างถึงความคุ้มค่า ความปลอดภัย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ คาดการณ์ปริมาณจราจรปีเปิดบริการที่ 70,000 คัน/วัน ขณะที่สายทางมีความจุประมาณ 140,000 คัน/วัน เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษที่เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออก และตะวันตกของ กรุงเทพฯ
อ่านข่าว : ขึ้นฟรี! กทพ.ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษ หยุดราชการ 3 วัน เดือน พ.ค.
"ทล. - กทพ." มั่นใจโครงการก่อสร้าง ถ.พระราม 2 เสร็จทุกโครงการปี 68
กทพ.ปรับขึ้นค่าทางด่วน "ฉลองรัช-บูรพาวิถี" 5 บาท มีผล 1 มี.ค.นี้