ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

FTA ไทย-ยุโรป เจรจาลงทุนคืบ นัดถกรอบ 4 เวทีกทม.เดือนพ.ย.นี้

เศรษฐกิจ
25 มิ.ย. 67
16:00
618
Logo Thai PBS
FTA ไทย-ยุโรป เจรจาลงทุนคืบ นัดถกรอบ 4 เวทีกทม.เดือนพ.ย.นี้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
พาณิชย์ เผยผลเจรจา FTA ไทย-อียูรอบ 3 ที่บรัสเซลส์คืบหน้า ไทยเจ้าภาพจัดประชุมรอบ 4 ที่กทม. เล็งถกผู้มีส่วนได้-เสีย เร่งหาข้อสรุปเพิ่มโอกาสทางการค้า ดึงดูดการลงทุน คาดช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

วันนี้ (25 มิ.ย.2567) นางสาวโชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยผลการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) รอบที่ 3 ซึ่งประกอบด้วยการประชุมระดับหัวหน้าคณะ และการประชุมกลุ่มย่อยระดับผู้เชี่ยวชาญครบทุกกลุ่มทั้ง 20 กลุ่ม

นางสาวโชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และ

นางสาวโชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และ

นางสาวโชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และ

โดยการเจรจาในภาพรวมเป็นไปในเชิงบวก และมีความคืบหน้าในทุกกลุ่มย่อย เนื่องจากทั้งสองฝ่ายมีการเตรียมการเป็นอย่างดี ซึ่งทุกกลุ่มได้กำหนดการทำงานในขั้นต่อไป เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็น รวมทั้งการจัดประชุมหารือระหว่างรอบเพื่อเตรียมการให้การประชุมเจรจาในรอบถัดไปมีความคืบหน้ามากที่สุด

ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรอบที่ 4 ในช่วงเดือนพ.ย.ที่ กรุงเทพฯ โดยจะเชิญผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบความคืบหน้าและหารือแลกเปลี่ยนความเห็นเชิงลึกเกี่ยวกับการเจรจาต่อไป

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ให้ความสำคัญกับการเจรจา FTA กับอียู เนื่องจากเป็นนโยบายสำคัญลำดับต้นของรัฐบาล ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าของไทยในตลาดอียูที่มีขนาดใหญ่และกำลังซื้อสูง รวมทั้งดึงดูดการลงทุนจากอียูและประเทศต่างๆ ที่ต้องการใช้ประโยชน์ในการส่งออกไปอียู

อีกทั้งเอกชนทั้งสองฝ่ายต่างติดตามและผลักดันมาโดยตลอด ขณะที่การเจรจายังมีความท้าทายจากการรวมประเด็นใหม่ๆ อย่าง การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ รัฐวิสาหกิจ การแข่งขัน การค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน พลังงานและวัตถุดิบ ซึ่งทีมเจรจาของไทยจากหน่วยงานต่างๆ พร้อมที่จะเดินหน้าหาข้อสรุปที่สมดุลและเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของไทย

อธิบดีกรมเจรจาการค้าฯ กล่าวอีกว่า ปี 2566 อียูเป็นคู่ค้าอันดับ 5 ของไทย รองจากอาเซียน จีน สหรัฐฯ และญี่ปุ่น การค้าระหว่างไทยกับอียู มีมูลค่า 41,582.24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.43 จากปีก่อนหน้า โดยไทยส่งออกไปอียู มูลค่า 21,838.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.21 และไทยนำเข้าจากอียู มูลค่า 19,743.87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.50

สำหรับในช่วง 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค. 2567) การค้าระหว่างไทยกับอียู มีมูลค่า 17,985.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.58 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยไทยส่งออกไปอียู มูลค่า 9,821.81 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.75 และไทยนำเข้าจากอียู มูลค่า 8,163.40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.92

อ่านข่าว:

สงครามการค้าจีน-สหรัฐฯรอบใหม่ สนค.ชี้โอกาสส่งออกสินค้าไทย

เลือกตั้งฝรั่งเศส ทำตลาดทองคำผันผวน แนะรอจังหวะเข้าซื้อ

นายกฯ ยันขยายเวลาครองอสังหาฯ 99 ปี ไม่เอื้อต่างชาติ-นายทุน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง