ประมวลภาพ อัญเชิญ "เรือพระที่นั่ง" ลงน้ำ เตรียมการจัดขบวนพยุหยาตราชลมารค

สังคม
8 ก.ค. 67
09:42
6,051
Logo Thai PBS
ประมวลภาพ อัญเชิญ "เรือพระที่นั่ง" ลงน้ำ เตรียมการจัดขบวนพยุหยาตราชลมารค
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ประมวลภาพ กองทัพเรือ อัญเชิญ "เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9" และ "เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช" "เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์" ลงน้ำ เพื่อเตรียมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ที่กำหนดการจัดให้มีขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 หลายหน่วยงานเตรียมความพร้อม

โดยเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2567 กองทัพเรือ ได้อัญเชิญ "เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9" จากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี กรมศิลปากร ไปยังอู่หมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ โดยมีระยะทาง 1 กิโลเมตร

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เคลื่อนไปกรมอู่ทหารเรือ

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เคลื่อนไปกรมอู่ทหารเรือ

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เคลื่อนไปกรมอู่ทหารเรือ

ใช้เส้นทางจากปากคลองบางกอกน้อย ผ่านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา สถานีรถไฟบางกอกน้อยเดิม โรงพยาบาลศิริราช ท่าช้าง วัดระฆังโฆษิตาราม ก่อนเข้าจอดที่อู่หมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เคลื่อนไปกรมอู่ทหารเรือ

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เคลื่อนไปกรมอู่ทหารเรือ

อ่านข่าว : ความเป็นมา "เรือพระราชพิธี" ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

อัญเชิญ "เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9" ลงน้ำ

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 กองทัพเรือ และกรมศิลปากร สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2539 โดยนำโขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 และ รัชกาลที่ 4 มาเป็นต้นแบบ

โดยกองทัพเรือ สร้างในส่วนที่เป็นโครงสร้างเรือพายและคัดฉาก ส่วนกรมศิลปากร ดำเนินการในงานที่เกี่ยวกับศิลปกรรมของเรือทั้งหมด

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เคลื่อนไปกรมอู่ทหารเรือ

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เคลื่อนไปกรมอู่ทหารเรือ

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เคลื่อนไปกรมอู่ทหารเรือ

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางกระดูกงูเรือ ณ อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2537

และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร (พระราชอิสริยยศ ขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีปล่อยเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ลงน้ำ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2539  

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เคลื่อนไปกรมอู่ทหารเรือ

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เคลื่อนไปกรมอู่ทหารเรือ

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เคลื่อนไปกรมอู่ทหารเรือ

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 4 เคยเป็นเรือพระที่นั่ง เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 

โขนเรือจำหลักรูปพระวิษณุประทับยืนบนครุฑ พระวรกายคล้ำ ในพระกรทั้ง 4 ทรงถือ จักร สังข์ คทา และตรีศูล ประทับบนครุฑยุดนาคหรือครุฑที่จับนาค 2 ตัวชูขึ้น

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เคลื่อนไปกรมอู่ทหารเรือ

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เคลื่อนไปกรมอู่ทหารเรือ

กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เคลื่อนไปกรมอู่ทหารเรือ

ที่หัวเรือเบื้องใต้ครุฑเป็นช่องสำหรับใส่ปืนใหญ่ กลางลำเรือทอดบังลังก์กัญญาและมีแท่นประทับสำเรือ ภายนอกท้องเรือภายในแดง ตัวเรือมีความยาว 44.30 เมตร กว้าง 3.20 เมตร ลึก 1.10 เมตร

อัญเชิญ "เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช" ลงน้ำ

ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2567  กองทัพเรือ ได้อัญเชิญ "เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช" ลงน้ำ โดยเมื่อวันที่ (5 ก.ค.) เวลา 20.00 น. เจ้าหน้าที่โรงงานเชือกรอกและอู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ (อธบ.อร.) ดำเนินการติดตั้งเสาเหล็กและคานไม้ พร้อมรอกแม่แรง จำนวน 10 ชุด กับเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เพื่ออัญเชิญลงจากคาน

พอถึงเวลานายเรือ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช พร้อมกำลังพลประจำเรือ จะได้ประกอบพิธีจุดธูปเทียนไหว้แม่ย่านางเรือ และถวายบังคมสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์

อัญเชิญ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ลงน้ำ เรือพระราชพิธี ในการจัดเตรียมขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  ภาพจาก : เฟซบุ๊ก พระลาน

อัญเชิญ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ลงน้ำ เรือพระราชพิธี ในการจัดเตรียมขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ภาพจาก : เฟซบุ๊ก พระลาน

อัญเชิญ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ลงน้ำ เรือพระราชพิธี ในการจัดเตรียมขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ภาพจาก : เฟซบุ๊ก พระลาน

จากนั้นจึงเคลื่อนเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช จากคลองบางกอกน้อย ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา มุ่งหน้าสู่อู่ทหารเรือธนบุรี ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ในเส้นทางสวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา (สถานีรถไฟบางกอกน้อยเดิม) โรงพยาบาลศิริราช ท่ามหาราช ท่าช้าง วัดระฆังโฆษิตาราม ใช้เวลาประมาณ 30 นาที จึงเข้าจอดยังอู่หมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี

อัญเชิญ เรือพระทีนั่งอนันตนาคราช ลงน้ำ เรือพระราชพิธี ในการจัดเตรียมขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  ภาพจาก : เฟซบุ๊ก พระลาน

อัญเชิญ เรือพระทีนั่งอนันตนาคราช ลงน้ำ เรือพระราชพิธี ในการจัดเตรียมขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ภาพจาก : เฟซบุ๊ก พระลาน

อัญเชิญ เรือพระทีนั่งอนันตนาคราช ลงน้ำ เรือพระราชพิธี ในการจัดเตรียมขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ภาพจาก : เฟซบุ๊ก พระลาน

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

และในวันที่ 7 กรกฎาคม เวลา 19.00 น. กองทัพเรือ ได้จัดให้มีการอัญเชิญ "เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์" ลงน้ำ จากนั้นเวลา 20.40 น. ทำการลากจูงเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ จากหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี ไปยังอู่แห้งหมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 30 นาที

เวลา 21.15 น. เปิดการจราจรทางน้ำ ปิดประตูอู่แห้งหมายเลข 1 และเสร็จสิ้นภารกิจเชิญเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เข้าอู่แห้ง ในเวลา 21.30 น.

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ภาพจาก : เฟซบุ๊ก พระลาน

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ภาพจาก : เฟซบุ๊ก พระลาน

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ภาพจาก : เฟซบุ๊ก พระลาน

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์เป็นเรือสร้างใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2411-2453) การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เมื่อวันที่ 27 ต.ค.2510 งดจัดเรือพระที่นั่งลำนี้เข้าร่วมขบวน เนื่องจากอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก โดยมีการซ่อมแซมบูรณะครั้งใหญ่ ในปี 2512 หลังซ่อมแซมแล้วเสร็จ ในปี 2515 หัวเรือลงรักปิดทองลายรดน้ำ เป็นรูปพญานาคเล็ก ๆ จำนวนมาก

ตอนกลางลำเรือทอดบัลลังก์กัญญา ซึ่งเป็นที่ประทับเปลื้องเครื่องหรือเปลื้องพระชฎามหากฐินของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก่อนเสด็จขึ้นหรือลงเรือพระที่นั่งอีกลำ

ลำเรือภายนอกทาสีชมพู ท้องเรือภายใน ทาสีแดง ตัวเรือมีความยาว 45.67 เมตร เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ กว้าง 2.91 เมตร ลึก 0.91 เมตร

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ภาพจาก : เฟซบุ๊ก พระลาน

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ภาพจาก : เฟซบุ๊ก พระลาน

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ภาพจาก : เฟซบุ๊ก พระลาน

ทั้งนี้ การอัญเชิญเรือพระที่นั่งลงน้ำในการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งจำนวน 4 ลำ คือ

  • เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ 
  • เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
  • เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
  • เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

โดยอัญเชิญลงน้ำและเข้าจอด ณ อู่หมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ระหว่างวันที่ 4-7 ก.ค.2567 วันละ 1 ลำ ตามลำดับ 

อ่านข่าว : กองทัพเรือ อัญเชิญ "เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์" ลงน้ำ

โดยในวันที่ 7 ก.ค. เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เป็นลำที่ 4 ที่อัญเชิญลงน้ำ เพื่อเตรียมการในการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

สำหรับ พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จะมีขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม 2567

ซึ่งกองทัพเรือ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ในการเตรียมการ ทั้งการฝึกซ้อมกำลังพลฝีพาย การซ่อมบำรุงเรือ การจัดเตรียมบทเห่เรือ รวมถึงการเตรียมความพร้อมในส่วนอื่น ๆ เพื่อให้การจัดงานในครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สง่างาม และสมพระเกียรติสูงสุด

ข้อมูลจาก : กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ , พระลาน, กองทัพเรือ 

อ่านข่าว : กทม.ซ้อมใหญ่ "พลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์" เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง