เปิดเอกสาร “กรรมการสิทธิฯ” หลังถูกร้อง “ปลาหมอสีคางดำ” ระบาด "สมุทรสาคร-เพชรบุรี"
ต่อมา มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางว่า เอกสารที่ออกมานั้นเป็นเพียงข้อสรุป และมีเพียง 3 หน้าเท่านั้น ทั้งที่ความจริงควรมีรายละเอียดมากกว่านั้น
ต่อมาวันที่ 11 ก.ค.2567 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้นำเอกสาร "รายงาน" ฉบับดังกล่าว มานำเสนอบนเว็บไซต์อีกครั้ง และเป็นเอกสารฉบับเต็มจำนวน 14 หน้า ดังนี้
https://www.nhrc.or.th/th/Examination-reports/8049
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
สำหรับข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ ข้อ 3.2.2 ข้อเท็จจริงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระบุว่า
(1) ผู้แทน....(ถูกปิดด้วยแถบสีดำ) ...และนักวิจัย ....(ถูกปิดด้วยแถบสีดำ)...จังหวัดสมุทรสาคร ชี้แจงข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า ....(ตามเอกสารด้านล่างนี้)
ข้อสังเกตคือ
- บริษัทดังกล่าวนำปลาหมอคางดำเข้ามาในปี 2553 จำนวน 2,000 ตัว แล้วตายระหว่างขนส่ง จนเหลือถึงไทย 600 ตัว
- จากการเลี้ยงในบ่อระบบปิด 1 สัปดาห์ เหลือปลา 200 ตัว
- ทั้ง 200 ตัว ทยอย "ตายทั้งหมด" ใน 3 สัปดาห์
- ส่งปลาที่ตายและนำไปดองให้กับกรมประมง จำนวน 50 ตัว
- ผู้วิจัยทำลายปลาที่เหลือด้วยคลอรีนเข้มข้น และฝังกลบซากปลาด้วยปูนขาว
- แจ้งให้กรมประมงทราบด้วยวาจา (ไม่ได้ทำรายงานเป็นลายลักษณ์อักษร)
- ยืนยันต่อคณะกรรมการฯ ว่า "ไม่ใช่สาเหตุของการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำแต่อย่างใด"
อ่านข่าว : รง.ปลาป่นสมุทรสาคร รับซื้อ "ปลาหมอคางดำ" ลดปัญหาล้นตลาด
ช้างพังมะลิ อายุ 4 ปี ป่วยติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์
ความในใจ 1 ใน 23 คนทับลาน กับ "ข้อหาบุกรุกป่า"