ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

น้อยใจปู่ ป.5 จบชีวิตตัวเอง นักจิตวิทยาชี้ "วัยรุ่น" ความคิดซับซ้อน

สังคม
16 ก.ค. 67
07:03
2,257
Logo Thai PBS
น้อยใจปู่ ป.5 จบชีวิตตัวเอง นักจิตวิทยาชี้ "วัยรุ่น" ความคิดซับซ้อน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เด็กชายอายุ 11 ปี ที่เสียชีวิตจากความน้อยใจคนในครอบครัวในบ้านพัก จ.สุพรรณบุรี นักจิตวิทยาสะท้อนว่านี่เป็นผลลัพธ์จากสิ่งที่เข้ามากระทบชีวิตของเด็ก ขณะที่พิธีศพจัดขึ้นที่บ้านพัก โดยมีญาติและครูร่วมแสดงความอาลัย

เมื่อวันที่ 15 ก.ค.2567 ครอบครัวจัดพิธีสวดพระอภิธรรมศพ เด็กชายชั้น ป.5 อายุ 11 ปี เป็นเวลา 3 วัน ที่บ้านพักใน อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี โดยมีเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุพรรณบุรี ตัวแทนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ผู้นำท้องถิ่นเข้าร่วมแสดงความอาลัย

ปู่ของเด็กชายวัย 11 ปีที่เสียชีวิต ยอมรับว่าตำหนิหลานชายเพราะต้องการให้มีอนาคตที่ดี แต่ไม่คิดว่าหลานจะน้อยใจ และก่อเหตุ รู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งปู่ดูแลหลานมาตั้งแต่เล็ก เพราะพ่อของหลานต้องโทษอยู่ในเรือนจำ ส่วนแม่ป่วยทางจิตเวช ขณะที่ ครูประจำชั้น บอกว่าเด็กเป็นคนร่าเริงสดใส คุยเก่ง ชอบเล่นกับเพื่อน ไม่คาดคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น

อ่านข่าว : ภาวะนับถือตัวเองต่ำ ภัยร้ายกัดกินหัวใจที่ไม่ควรมองข้าม

เฝ้าระวัง "เด็กช่วงก่อนวัยรุ่น" ทำร้ายตัวเองเสียชีวิต

มีข้อมูลว่าพฤติกรรมจบชีวิตตัวเองในวัยรุ่น มีความซับซ้อน เมื่อเด็กเริ่มโต เข้าสู่ช่วงอายุประมาณ 15-24 ปี และ พบว่าสถิติการจบชีวิตตัวเองเพิ่มขึ้น ปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่เกิดจากเด็กต้องเจอมรสุมในชีวิต ทั้งปัญหา พ่อ-แม่ หย่าร้าง หรือ แยกทางกัน ความกดดันเรื่องการเรียน การเข้าสังคม ปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัว

อ.มฤษฎ์ แก้วจินดา หัวหน้าภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อธิบายว่า ต้องศึกษาหาสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะอาจจะเป็นผลลัพธ์จากสิ่งกระทบที่เข้ามาในชีวิตเด็ก

อ.มฤษฎ์ ยังบอกว่า การแก้ไขปัญหาการจบชีวิตตัวเอง ไม่มีสูตรสำเร็จ เพราะปัจจัยและสาเหตุของแต่ละบุคคล ประกอบกับเหตุการณ์ที่พบเจอในชีวิตแตกต่างกัน ซึ่งวิธีการที่จะช่วยเหลือคนที่เสี่ยงทำร้ายตัวเอง คือ การสังเกตพฤติกรรม การแจ้งนักสังคมสงเคราะห์ หรือ นักจิตวิทยาในพื้นที่ เข้ามาช่วยเหลือดูแลพูดคุย เพื่อนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี

อ่านข่าว : "โรคซึมเศร้า" ต้องช่วยกันซึมซับ เพื่อไม่ให้เกิดเรื่องเศร้า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง