เช็กเส้นทางฝนตก-พร่องน้ำลุ่มพระยา 11 จังหวัดเสี่ยงน้ำหลาก

ภัยพิบัติ
25 ก.ค. 67
12:46
2,516
Logo Thai PBS
เช็กเส้นทางฝนตก-พร่องน้ำลุ่มพระยา 11 จังหวัดเสี่ยงน้ำหลาก
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เตือนฝนตกหนักถึง 31 ก.ค.นี้ ปภ.-กรมชลประทานแจ้ง 10 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา และกทม.รับมือน้ำสูงขึ้นกว่า 1 เมตรพรุ่งนี้ (26 ก.ค.) หลังเริ่มระบายน้ำท้ายเขื่อน พบอ่างขนาดกลาง 29 กลางเกินความจุ

วันนี้ (25 ก.ค.2567) นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ปภ.ได้รับแจ้งจากกรมชลประทานว่า ในช่วงวันที่ 24-31 ก.ค.นี้ ประเทศไทย คงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่จากการคาดการณ์ปริมาณน้ำล่วงหน้า 1–3 วันข้างหน้า พบว่าปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

โดยวันที่ 24 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่สถานี C.2 อ.เมืองนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน ประมาณ 1,200–1,300 ลบ.ม.ต่อวินาที และลำน้ำสาขา 300 ลบ.ม. ต่อวินาที ทำให้ปริมาณน้ำที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา มีปริมาณระหว่าง 1,500–1,600 ลบ.ม.ต่อวินาที และรับน้ำเข้าระบบกรมชลประทาน 2 ฝั่ง ในอัตรา 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จึงมีความจำเป็นต้องระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 800 – 1,100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

ทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณคลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา (แม่น้ำน้อย) มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีก 0.80-1.10 เมตร ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ค.นี้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน

การระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 800 – 1,100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำหให้ 11 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยาเสี่ยงน้ำหลาก

การระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 800 – 1,100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำหให้ 11 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยาเสี่ยงน้ำหลาก

การระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 800 – 1,100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำหให้ 11 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยาเสี่ยงน้ำหลาก

ดังนั้น จึงได้ประสานจังหวัดริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 10 จังหวัด ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ รวมถึงกรุงเทพมหานคร ให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มค่ำนอกคันกั้นน้ำ

โดยให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย เป็นระยะ พร้อมทั้งแจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัท ห้างร้าน ผู้ประกอบการ และประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำให้เฝ้าระวัง และเตรียมพร้อมรับมือสถาน การณ์ 

เช็กเส้นทางฝนตก-แผนหน่วงน้ำเจ้าพระยา 

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า จากการประชุมร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่วันนี้จนถึง 29 ก.ค.นี้ คาดว่าจะมีฝนตกในฝั่งตะวันตกของภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกของประเทศ 

โดยจะตกซ้ำในพื้นที่เดิมช่วง 3–4 วัน จึงต้องเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง พื้นที่ลุ่มต่ำอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะจันทุบรี ตราด ที่ยังอยู่ระหว่างเร่งระบายน้ำจากฝนตกหนัก

จากนั้นหลังจากวันที่ 30 ก.ค.นี้ จะเริ่มกลับมามีฝนตกในภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยเฉพาะบริเวณ จ.พิษณุโลก และ จ.เพชรบูรณ์ และจะมีฝนตกซ้ำไปจนถึงวันที่ 2 ส.ค.นี้

โดยจากสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่ตอนบนของประเทศ ขณะนี้จึงได้มีการติดตามประเมิน และเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาอย่างใกล้ชิดใน 4 จุด ได้แก่ จุดที่ 1 สถานี Y.4 อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย จุดที่ 2 สถานี C.2 จ.นครสวรรค์ จุดที่ 3 สถานี C.13 เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท และจุดที่ 4 สถานี C.29A อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ขณะนี้ปริมาณน้ำยังอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ในทุกจุด

อย่างไรก็ตาม หากมีปริมาณน้ำเกินเกณฑ์ควบคุม ได้มีแผนในการผันน้ำเข้าพื้นที่หน่วงน้ำ แหล่งน้ำ และทุ่งลุ่มต่ำต่าง ๆ เช่น บึงบอระเพ็ด ทุ่งบางระกำ รวมถึงมีการผันน้ำเข้าฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของเขื่อนเจ้าพระยาผ่านคลองต่าง ๆ เช่น แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำน้อย คลองชัยนาท-ป่าสัก คลองมหาราช 

อ่านข่าว ชาวบ้านเร่งสำรวจความเสียหาย หลังน้ำท่วม จ.ตราด เริ่มคลี่คลาย

<"">

การบริหารจัดการน้ำลุ่มเจ้าพระยา หลังคาดการณ์ฝนตกหนักช่วงสัปดาห์นี้ (ภาพ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ)

การบริหารจัดการน้ำลุ่มเจ้าพระยา หลังคาดการณ์ฝนตกหนักช่วงสัปดาห์นี้ (ภาพ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ)

การบริหารจัดการน้ำลุ่มเจ้าพระยา หลังคาดการณ์ฝนตกหนักช่วงสัปดาห์นี้ (ภาพ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ)

น้ำทะเลหนุน 20-27 ก.ค.นี้ 

นอกจากนี้ เขื่อนเจ้าพระยา ได้มีการยกระดับน้ำเพื่อชะลอการระบายน้ำ เพื่อเพิ่มระยะเวลาในการแจ้งเตือน 11 จังหวัดท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ให้เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำจากการระบายน้ำในอัตรา 700 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ในเขตคลองโผงเผง จ.อ่างทอง และคลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งจะมีน้ำเอ่อล้นในระดับใต้ถุนของบ้านเรือนประชาชนที่อยู่อาศัยริมฝั่งแม่น้ำทั้งสองสาย แต่จะไม่ท่วมสูงจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้าวของหรือทรัพย์สิน

สทนช. ได้บูรณาหน่วยงานในพื้นที่ จังหวัดต่าง ๆ รวมถึง กทม.ตอนล่าง ให้ติด ตามประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงปริมาณน้ำทะเลที่คาดว่าจะหนุนสูงในวันที่ 20–27 ก.ค.นี้ ซึ่งจะมีผลทำให้ระดับน้ำในลำน้ำเพิ่มขึ้นสูงกว่าปกติและการระบายน้ำออกสู่ทะเลช้าลง

อ่านข่าว อิทธิพลไต้ฝุ่น "แคมี" ทำฝนถล่มญี่ปุ่น-ฟิลิปปินส์ พัดขึ้นฝั่งไต้หวัน

การระบายน้ำท่วมในพื้นที่จ.ตราด (ภาพ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)

การระบายน้ำท่วมในพื้นที่จ.ตราด (ภาพ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)

การระบายน้ำท่วมในพื้นที่จ.ตราด (ภาพ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)

แนะพร่องน้ำในอ่าง 29 แห่งเกินความจุ 

สำหรับการประเมินปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ พบว่าอ่างขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำไหลเข้าเป็นจำนวนมากคือ เขื่อนอุบลรัตน์ โดยสัปดาห์ที่ผ่านมามีน้ำไหลเข้าสะสมมากถึง 300 ล้านลบ.ม. ส่งผลให้ระดับน้ำในอ่างเพิ่มขึ้นถึงเกณฑ์เก็บกักน้ำสูงสุด โดยได้พิจารณาปรับเกณฑ์การระบายน้ำ

โดยจะต้องไม่ให้กระทบกับปริมาณน้ำในลำน้ำ รวมถึงจะต้องบริหารจัดการเขื่อนทดน้ำในลำน้ำชีในการเร่งระบายน้ำเพื่อป้องกันปัญหาการระบายน้ำไม่ทัน

พร้อมกันนี้ ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการเตรียมพร่องปริมาณน้ำในอ่างฯ ต่างๆ อย่างเหมาะสม รวมถึงอ่างขนาดกลาง ซึ่งขณะนี้มีปริมาณน้ำเกินความจุ จำนวน 29 แห่ง 

อ่านข่าว

สภาพอากาศวันนี้ เตือน 37 จังหวัดฝนตกหนัก - กทม.เจอฝน 70%

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง