โซเซียลถกปมสาวอิตาลียอมแพ้ คู่ชก "ไม่ผ่านตรวจเพศ" โอลิมปิก

กีฬา
2 ส.ค. 67
08:10
4,294
Logo Thai PBS
โซเซียลถกปมสาวอิตาลียอมแพ้ คู่ชก "ไม่ผ่านตรวจเพศ" โอลิมปิก
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเซียล หลัง "เจลา คารินี" นักชกสาวอิตาลี ขอยอมแพ้ หลังสู้กับ "อิมาน เคลิฟ" นักชกจากแอลจีเรีย ที่ไม่ผ่านตรวจเพศได้เพียง 46 วินาที

กลายประเด็นร้อนที่พูดถึงอย่างกว้างขวางใน "โอลิมปิก ปารีส 2024 หลัง แองเจลา คารินี นักชกหญิงชาวอิตาลี ขอถอนตัวจากการแข่งขันหลังขึ้นชกกับ อิมาน เคลิฟ นักชกจากแอลจีเรีย ที่กำลังถูกพูดถึงเรื่องการตรวจเพศสภาพ ในเวลาเพียง 46 วินาที เรื่องนี้ถูกพูดถึงใน แอปพลิเคชัน X จนเกิดแฮชแท็ก #IStandWithAngelaCarini ขึ้น 

คารินี ลงแข่งขันในมวยสากลโอลิมปิก 2024 ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 1 ส.ค.2567 รุ่น 66 กก.หญิง รอบ 16 คนสุดท้าย โดยแองเจลาถูกชกเข้าที่คาง จากนั้นถูกชกเข้าที่ใบหน้าอีกครั้ง ทำให้คารินี บาดเจ็บรุนแรงบริเวณจมูก แองเจลาตัดสินใจเดินเข้ามุม พูดคุยกับโค้ช ก่อนจะส่งสัญญาณบอกกรรมการว่าจะขอยอมแพ้

Imane Khelif จากแอลจีเรีย

Imane Khelif จากแอลจีเรีย

Imane Khelif จากแอลจีเรีย

คารินีซึ่งเสียใจทรุดตัวลงคุกเข่าบนเวที ร้องไห้และปฏิเสธที่จะจับมือกับเคลิฟ หลังจากกรรมการประกาศว่านักชกชาวแอลจีเรียเป็นผู้ชนะ

Angela Carini จากอิตาลี การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ปารีส 2024   เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2024

Angela Carini จากอิตาลี การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ปารีส 2024 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2024

Angela Carini จากอิตาลี การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ปารีส 2024 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2024

หลังจบการแข่งขัน คารินี ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า เธอสู้เพื่อประเทศชาติอย่างสมเกียรติเสมอ แต่ครั้งนี้ไม่สามารถสู้ได้อีก เพราะไม่เคยเจอหมัดที่หนักขนาดนี้มาก่อน

ขณะที่ เคลิฟ หยุดพูดหลังการชกกับสำนักข่าวบีบีซี โดยบอกว่า เธอมาที่นี่เพื่อเหรียญทอง และจะสู้กับใครได้ทั้งหมด หลังจากนั้นได้โพสต์ข้อความลงในโซเชี่ยลส่วนตัวว่า "ชัยชนะครั้งแรก" ก่อนจะมีแฟนกีฬาเข้าไปแสดงความคิดเห็นมากมาย

ภาพจาก IG : imane_khelif_10

ภาพจาก IG : imane_khelif_10

ภาพจาก IG : imane_khelif_10

ขณะที่ เจ.เค.โรว์ลิ่ง นักเขียนนิยายชื่อดัง เจ้าของผลงาน "แฮร์รี่ พอตเตอร์" ก็ได้แสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้เช่นกันว่า  เป็น "ความเสื่อมเสีย" หลังนักมวยชายเอาชนะนักมวยหญิงในการแข่งขันชกมวยหญิง

"นักมวยสาวคนหนึ่งเพิ่งถูกพรากทุกสิ่งทุกอย่างที่เธอได้ฝึกฝนมาไปเพราะพวกคุณยอมให้ผู้ชายขึ้นสังเวียนกับเธอ และโอลิมปิกครั้งนี้จะต้องมัวหมองไปตลอดกาลจากความอยุติธรรมอันโหดร้ายที่เกิดขึ้นกับคารินี"

เช่นเดียวกับ อีลอน มัสก์ ซีอีโอบริษัทสเปซเอ็กซ์, เทสล่า และอีกมากมาย รีโพสต์ในแอป X แสดงความเห็นด้วยว่า "ผู้ชายไม่ควรอยู่ในกีฬาของผู้หญิง พร้อมแฮชแท็ก #IStandWithAngelaCarini" 

ไม่เพียงเท่านี้ยังมีคนดังในหลายแวดวงที่ให้ความคิดเห็นกับประเด็นนี้ 

ด้าน รีม อัลซาเล็ม ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติเรื่องความรุนแรงต่อสตรีและเด็กหญิง โพสต์ข้อความแสดงความกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยบอกว่า คารินี ทำถูกต้องที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทางร่างกายของเธอก่อน พร้อมบอกว่านักกีฬาหญิงคนอื่น ๆ ไม่ควรเผชิญกับความรุนแรงทางร่างกายและจิตใจตามเพศของพวกเธอ

ส่วน จอร์เจีย เมโลนี นายกรัฐมนตรีหญิงของอิตาลี บอกว่า การแข่งขันไฟต์นี้ไม่ยุติธรรม และไม่เห็นด้วยกับไอโอซี เพราะคิดว่านักกีฬาที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเป็นผู้ชายไม่ควรได้แข่งขันในกีฬาประเภทหญิง ทางฝั่งคณะกรรมการโอลิมปิกแอลจีเรีย ยืนยันว่าชาวแอลจีเรียทั้งประเทศขอยืนเคียงข้างเป็นกำลังใจให้เคลิฟ

อ่านข่าว : โปรแกรมแข่งขันโอลิมปิก 2024 นักกีฬาไทย วันที่ 2 ส.ค.67

ไอโอซี ถูกวิจารณ์การตรวจเพศนักมวยหญิง

ก่อนหน้านี้มีประเด็นพูดถึงอย่างกว้างขวางในโอลิมปิก 2024 นั้นคือ การที่คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) ไฟเขียวให้นักชกหญิง 2 คน ได้แก่ อิมาน เคลิฟ นักชกจากแอลจีเรีย วัย 25 ที่ถูกตัดสิทธิในการแข่งขันที่นิวเดลี อินเดีย เข้าร่วมการแข่งขันในรายการมวยสากลสมัครเล่นหญิงในปารีสเกมส์ได้

และ หลิน ยู่ติง นักชกจากไต้หวัน วัย 28 ปี ที่ถูกริบเหรียญทองแดงในการแข่งขันชิงแชมป์โลก เมื่อเดือน มี.ค.2023 สาเหตุที่ทั้ง 2 คน เคยถูกตัดสิทธิจากการแข่งขันชิงแชมป์โลกในปี 2023 โดยสมาคมมวยสากลนานาชาติ (ไอบีเอ) เนื่องจากระดับฮอร์โมนเพศชาย หรือ เทสโทสเตอโรน ของทั้งคู่สูงเกินเกณฑ์ ซึ่งเคลิฟ เคยเจอ จันทร์แจ่ม สุวรรณเพ็ง รอบรองชนะเลิศในการแข่งขันที่อินเดีย และมีผลให้จันทร์แจ่มได้เข้าชิงชนะเลิศก่อนจะได้เหรียญ

อ่านข่าว : "ไอโอซี" ไฟเขียว 2 นักมวยไม่ผ่านการตรวจเพศแข่งโอลิมปิก 2024

ไอโอซี ให้เหตุผลว่า หลิน ยู่ติง และ อิมาน เคลิฟ เป็นผู้หญิงตามที่ระบุในหนังสือเดินทาง และผ่านเกณฑ์ข้อกำหนดการควบคุมฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่กำหนดว่าต้องต่ำกว่าระดับ 10 nmol ต่อลิตร เป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือน ก่อนการแข่งขัน แต่เกณฑ์ของ ไอบีเอ คือต้องต่ำกว่า 5 nmol ต่อลิตร

เห็นได้ว่าข้อกำหนดของ ไอบีเอ เข้มงวดกว่า ไอโอซี ทำให้หลิน ยู่ติง และ อิมาน เคลิฟ เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกได้

นอกจากนี้ กรณีของ แคสเตอร์ เซมานญ่า นักกรีฑาจากแอฟริกาใต้ก็เคยถกเถียงเรื่องการควบคุมระดับ เทสโทสเตอโรน มาแล้วเช่นกัน เธอถูกสั่งห้ามไม่ให้แข่งขันในรายการวิ่งในระยะ 400 เมตร ถึง 1,500 เมตร จากกรีฑาโลก เนื่องจากระดับเทสโทสเตอโรนของเธอสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เพราะที่กรีฑาโลก กำหนดว่าต้องต่ำกว่าระดับ 5 nmol ต่อลิตร เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนก่อนการแข่งขัน

แต่เซมานญ่าต่อต้านข้อกำหนดนี้และไม่ยอมรับการลดระดับฮอร์โมนโดยใช้ยาหรือการรักษาอื่น ๆ โดยให้เหตุผลว่าเป็นการละเมิดสิทธิทางร่างกายของเธอ ขณะที่ ไอโอซี และศาลอนุญาโตตุลาการกีฬา ตัดสินให้กรีฑาโลก คงข้อกำหนดนี้ไว้

ทั้ง 3 กรณีทั้ง หลิน ยู่ติง, อิมาน เคลิฟ และ แคสเตอร์ เซมานญ่า ชี้ให้เห็นถึงความซับซ้อนและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการควบคุมระดับเทสโทสเตอโรนในนักกีฬาหญิง การปกป้องสิทธิของนักกีฬาและการรักษาความยุติธรรมในการแข่งขันยังคงเป็นประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

อ่านข่าว : "จุฑามาศ-จันทร์แจ่ม" 2 นักชกไทยเข้ารอบ 8 คน โอลิมปิก 2024

ยกเหล็กไทย ประเดิมปารีสเกมนัดแรก 7 ส.ค.

สรุปเหรียญโอลิมปิก 2024 วันที่ 1 ส.ค.67 จีนนำ 10 เหรียญทอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง