สั่งหยุดลอบหลอม “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” เขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา

Logo Thai PBS
สั่งหยุดลอบหลอม “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” เขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

กรมโรงงานอุตสาหกรรม เข้าตรวจสอบโรงงาน บริษัท ซีที สตีล จำกัด ในพื้นที่ ต.เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา

หลังกรมโรงงานฯ ออกคำสั่งตามมาตรา 39 วรรค 1 เมื่อวันที่ 16 ก.ค.2567 ให้โรงงานแห่งนี้ หยุดประกอบกิจการทั้งหมด และปรับปรุงภายใน 30 วัน เพราะประกอบกิจการที่อาจก่อให้เกิดความเดือนร้อน เสียหาย และเป็นอันตรายร้ายแรง จากการตรวจครั้งนั้นพบสภาพโรงงานบางส่วนไม่ได้ประกอบกิจการตามรายละเอียดที่ขออนุญาตไว้กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม

นำเข้าวัตถุดิบเถื่อน

บริษัท ซีที สตีล จำกัด ได้รับใบอนุญาตโรงงานลำดับที่ 106 หลอมโลหะจากเศษอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อปี 2563 ประเด็นสำคัญก็คือท้ายใบอนุญาตระบุว่า เศษวัสดุ หรือ วัตถุดิบที่จะนำเข้ามารีไซเคิลในโรงงาน ต้องมีการขออนุญาตในระบบของกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อน แต่จากข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรมกลับไม่พบหลักฐานการขออนุญาตมาก่อน

สอดคล้องกับข้อมูลของไทยพีบีเอส เมื่อวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา พบว่า ภายในโรงงาน มีทั้งซากคอมพิวเตอร์ หม้อแปลงไฟฟ้า จอโทรศัพท์ที่ใช้แล้ว รวมไปถึงเศษแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั้งที่ยังเป็นแผ่นและบดสับแล้ว จำนวนหลายถุง นอกจากนี้ยังพบถ่านหินจำนวนมากถูกกองไว้ทั้งในอาคารและกลางแจ้ง

เมื่อสำรวจบริเวณเตาหลอม ก็ยังพบร่องรอยที่อาจตั้งข้อสังเกตได้ว่า ถูกใช้งานมานาน และพบการปรับปรุงเมื่อไม่นานมานี้

กรมโรงงานอุตสาหกรรม ตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิดของโรงงาน ยังพบการหลอมโลหะเกิดขึ้นที่นี่ ในช่วงวันที่ 18 ก.ค.2567 ซึ่งเป็นช่วงที่โรงงานถูกคำสั่งปิดปรับปรุงอยู่ ซึ่งนับเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของกรมโรงงานอุตสาหกรรม

น้ำทิ้งในบ่อของโรงงานปนเปื้อนพิษ

มากไปกว่านั้น กรมทรัพยากรน้ำบาดาลยังพบการปนเปื้อนในบ่อน้ำ 2 บ่อในพื้นที่โรงงาน ขณะลงพื้นที่เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา

บ่อที่ 1

บ่อที่ 1

บ่อที่ 1

บ่อแรกอยู่ติดกับทางเข้าด้านหน้าโรงงาน พบน้ำสีเขียวใส ก่อนหน้านี้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเคยตรวจพบค่าความเป็นกรดสูง และพบการปนเปื้อนโลหะหนักในบ่อเดียวกันนี้

บ่อที่ 2

บ่อที่ 2

บ่อที่ 2

อีกบ่ออยู่ติดกับอาคารโรงงานหมายเลข 2 น้ำในบ่อนี้ถูกสูบน้ำออกจนเหลือแต่ดินเลนสีเทาอยู่ที่ก้นบ่อ แต่ก่อนหน้านี้ก็เคยตรวจพบว่าน้ำในบ่อ มีค่าความเป็นกรดสูง และมีค่าโลหะหนักปนเปื้อน สูงกว่าค่ามาตรฐานน้ำทิ้งโรงงาน

พบว่าทั้ง 2 บ่อ ไม่อยู่ในรายละเอียดแบบแปลนที่แจ้งไว้กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม และไม่พบการปูแผ่นกันซึมที่พื้นบ่อ ที่ปรึกษาโรงงานอ้างว่าที่ต้องสูบน้ำออกเพราะต้องการปรับปรุงบ่อ

กรอ.สั่งเอกชนทำแผนฟื้นฟูภายใน 30 วัน

ข้อมูลของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ที่ตรวจวิเคราะห์น้ำผิวดิน และใต้ดิน ทั้งในและนอกโรงงานพบคุณลักษณะทางเคมีมีความสัมพันธ์กัน โดยพบน้ำมีค่าความเป็นกรดและมีค่าโลหะ คือ คลอไรด์, เหล็ก, ปรอท, ตะกั่ว ไม่เป็นไปตามมาตรฐานน้ำบาดาล และมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงาน

ที่มา : กรมทรัพยากรน้ำบาดาล

ที่มา : กรมทรัพยากรน้ำบาดาล

ที่มา : กรมทรัพยากรน้ำบาดาล

นอกจากนี้ยังพบทิศทางการไหลซึมจากแหล่งกำเนิดมลพิษ คือพื้นที่โรงงาน ในแนวดิ่งผ่านชั้นตะกอนกรวดทราย และไหลไปไปทางด้านทิศเหนือของโรงงานตามเส้นทางน้ำใต้ดิน เป็นระยะทางกว่า 450 เมตร

ชาวบ้านร้องที่ปนเปื้อนสารพิษ เผชิญกลิ่นเหม็นมานานกว่า 4 ปี

ตั้งแต่มีโรงงานนี้มาตั้งก็ไม่เคยได้ใช้ชีวิตปกติ เพราะที่ดินที่เคยทำนาได้ก็เสียหายปลูกพืชไม่ขึ้น และยังต้องเผชิญกลิ่นเหม็นอยู่เกือบทุกวัน

นี่คือความทุกข์ทรมานของหนึ่งในชาวบ้านซำขวาง ต.เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งอยู่ใกล้กับพื้นที่โรงงานต้องเผชิญกับสารพิษจากโรงงาน พวกเขาส่งเสียงเรียกร้องให้หน่วยงานที่กำกับดูแลเร่งเข้ามาแก้ไขปัญหา

เรืองเดช ชัยโยธา ชาวบ้านซำขวาง ต.เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

เรืองเดช ชัยโยธา ชาวบ้านซำขวาง ต.เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

เรืองเดช ชัยโยธา ชาวบ้านซำขวาง ต.เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

กรมโรงงานฯ สั่งสอบที่มาขยะอิเล็กทรอนิกส์

อธิบดีกรมโรงงานฯ สั่งให้ตัวแทนโรงงานปฏิบัติตามคำสั่งให้หยุดการประกอบกิจการโรงงานอย่างเคร่งครัด และจัดทำแผนฟื้นฟูผลกระทบจากการประกอบกิจการ ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน

ตามคำสั่งที่ได้ออกไปแล้วเมื่อวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ความเสียหาย และเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อไป พร้อมทั้ง ผูกมัดประทับตราเพื่อห้ามเดินเครื่องจักร 5 เครื่อง หากฝ่าฝืนทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เครื่องจักรกลับทำงานได้อีก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประเด็นที่ยังต้องหาคำตอบ คือ หากมีการหลอม ตั้งแต่โรงงานได้รับใบอนุญาตคือ ปี 2563 วัตถุดิบที่นำเข้ามา มาจากไหน ? เพราะโรงงานแห่งนี้เป็นโรงงานลำดับที่ 106 รีไซเคิลวัสดุที่ไม่ใช้แล้วซึ่งจะเป็นต้องรายงานที่มาของ เศษวัสดุที่ไม่ใช้แล้วต่อกรมโรงงานฯ และหลอมแล้วส่งไปไหน ? และใครคือเจ้าของโรงงาน เพราะที่ผ่านมา ไม่ปรากฏเจ้าของโรงงานตัวจริง

รายงาน : เจษฎา ต้นจำปา ผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวน ไทยพีบีเอส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง