เตือน 7 จังหวัดริมน้ำโขงเสี่ยงน้ำล้นตลิ่ง 25-31 ส.ค.

ภัยพิบัติ
23 ส.ค. 67
17:31
5,233
Logo Thai PBS
เตือน 7 จังหวัดริมน้ำโขงเสี่ยงน้ำล้นตลิ่ง 25-31 ส.ค.
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สทนช.เตือนเฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น 0.5 -1 เมตร ช่วงวันที่ 25 -31 ส.ค.นี้ แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์น้ำกับ MRC จุดพีคหนองคาย คาดว่าอีก 4 วันระดับน้ำจะเพิ่มสูงถึงระดับตลิ่ง

วันนี้ (23 ส.ค.2567) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) แจ้งเตือนเฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น 0.5-1 เมตร ช่วงวันที่ 25-31 ส.ค.นี้ บริเวณ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี เนื่องจากฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และลาว

จึงขอให้เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้น และเตรียมรับมือจากสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง และท่วมขังบริเวณริมแม่น้ำโขง และริมลำน้ำบางสาขาของประเทศไทยที่ไม่สามารถระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขงได้โดยสะดวก  

อ่านข่าว "น้ำโขงล้นตลิ่ง" 2 วันพรวด 1 ม.เตือนเสี่ยงถึง 10 ส.ค.

ส่วนนายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการ สทนช.กล่าวหลังลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์น้ำโขงว่า ช่วงนี้มีฝนตกชุกในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง บริเวณประเทศเมียนมา ไทย และลาว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ สทนช.ในฐานะผู้แทนประเทศไทยในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) มีประเทศสมาชิก ประกอบด้วยประเทศลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย และยังมีประเทศเมียนมา และจีนที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงด้วย โดยสทนช.เป็นผู้ประสานงานหลักของฝ่ายไทย

อ่านข่าว น้ำยมขึ้นสูงไหลบ่าท่วม "เมืองแพร่" ทะลักเขตเศรษฐกิจ

โดยสถานีวัดระดับน้ำริมแม่น้ำโขงจุดต่าง ๆ จะต้องรายงานข้อมูลระดับน้ำให้ MRC ได้รับทราบทุกวันเวลา 07.00 น. เพื่อนำเข้าแบบจำลองประเมินสถาน การณ์น้ำ และการคาดการณ์ในภาพรวมรายงานให้ประเทศสมาชิกได้ทราบสำหรับประเทศไทย สทนช.จะเป็นผู้รับข้อมูลและกระจายส่งต่อให้หน่วยงานและประชาชนในพื้นที่ริมแม่น้ำโขงได้รับทราบสถานการณ์น้ำเพื่อดำเนินการต่อไป

ระดับน้ำหลายจุดใน จ.หนองคาย ยังต้องเฝ้าระวังเนื่องจากการคาดการณ์ของ MRC ระดับน้ำที่สถานีหนองคาย ต่ำกว่าระดับเตือนภัยเพียง 14 ซม.คาดว่าอีก 4 วันระดับน้ำจะเพิ่มสูงถึงระดับตลิ่ง

จึงขอให้หน่วยงานต่าง ๆ เตรียมการป้องกัน และแก้ไขสถานการณ์ล่วงหน้า เช่น เร่งปิดทางระบายน้ำในจุดที่มีพื้นที่ต่ำ เพื่อป้องกันน้ำโขงล้นเข้าพื้นที่ชุมชน พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องมือเตือนภัยระดับน้ำเพิ่มในทุกจุด ขอให้วางแผนช่วยเหลือชุมชน และประชาชนในพื้นที่ลุ่มต่ำหากเกิดอุทกภัย

นอกจากนี้ยังได้เน้นย้ำ กับทุกหน่วยงานคือให้เพิ่มประสิทธิภาพการแจ้งเตือนภัยและสร้างเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ โดยต้องมีข้อมูลคาดการณ์ล่วงหน้าที่แม่นยำเพื่อประชาชนสามารถเตรียมตัวล่วงหน้าได้ทัน

อ่านข่าว มหากาพย์ผันน้ำโขง-เลย-ชี-มูล เวนคืน 1 แสนล้านบาท ได้คุ้มเสียหรือไม่?

สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมใน จ.บึงกาฬ ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงบริเวณลำน้ำสาขาห้วยฮี้ ต.โป่งไฮ อ.เซกา พบว่าเป็นน้ำท่วมขังส่งผลกระทบพื้นที่การเกษตรลุ่มต่ำ ซึ่งไม่สามารถระบายน้ำลงสู่แม่น้ำสงครามได้

นอกจากนี้ในพื้นที่ อ.เมืองบึงกาฬ ซึ่งเคยมีน้ำท่วมบริเวณศาลากลางจังหวัดเป็นประจำทุกปี ในปีนี้กรมชลประทานได้ก่อสร้าง ปตร.ห้วยกำแพงแล้วเสร็จ คาดว่าจะช่วยลดอุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และวันพรุ่งนี้ (24 ส.ค.) สทนช. ก็จะเดินทางต่อไปที่จ.นครพนม เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่และตรวจความพร้อมสถานีวัดระดับน้ำทุกจุดเช่นกัน

อ่านข่าว

จ่อตัดน้ำลง “ทะเลหลวง” ก่อนทะลักเข้า “สุโขทัย” 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง