ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“หนานหนิง-ฉงชิ่ง” ประตูสู่จีนแผ่นดินใหญ่ โอกาสทองผลไม้ไทย

เศรษฐกิจ
17 ก.ย. 67
15:24
502
Logo Thai PBS
 “หนานหนิง-ฉงชิ่ง” ประตูสู่จีนแผ่นดินใหญ่ โอกาสทองผลไม้ไทย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

แม้จีนกับไทย ไม่ได้มีพรมแดนติดต่อกัน และปัจจุบันการจัดการ การจัดส่งสินค้าที่เรียกว่า “ระบบโลจิสติกส์” สะดวกสบายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจีนได้มีการเปิดกว้างเส้นทางขนส่ง บกเชื่อมทะเล ใน “หนานหนิง-ฉงชิ่ง ซึ่งเอื้อประโยชน์ด้านการค้าสินค้าด้านการเกษตรที่สำคัญ ระหว่างจีนและไทย การเปิดด่านบกของจีนไม่เพียงทำให้ การขนส่งพืชผลการเกษตรระหว่างมณฑลต่าง ๆ ของจีน ได้ระบายสินค้าไประหว่างพื้นที่เท่านั้น แต่ไทย ลาว เวียดนาม ก็ยังได้รับอานิสงค์นี้ด้วย โดยเฉพาะการส่งออกผลไม้ไทย

ในปี 2566 มีรายงานว่า ผลไม้สำคัญของไทยที่จีนนำเข้ามากที่สุด 4 ลำดับแรก คือ ทุเรียน มะพร้าว ลำไย และมังคุด และจากสถิติการส่งออกทุเรียนจากไทยเข้าจีน เมื่อเดือนพ.ค. 2567 พบ มีปริมาณเพิ่มขึ้นวันละประมาณ 1,000 ตู้คอนเทนเนอร์ นำเข้าจาก ไทย 65.19% และ เวียดนาม 34.55% โดยเฉพาะทุเรียนจากภาคตะวันออก จึงกล่าวได้ว่า จีนเป็นตลาดบริโภคทุเรียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก

แม้ทุเรียนไทยจะมีราคาแพงกว่าผลไม้ทั่วไป แต่เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้มีกำลังซื้อสูง จึงทำให้กลายเป็นหนึ่งในผลไม้ที่มีปริมาณการนำเข้าสูงสุดของจีนตลอดหลายปีที่ผ่านมา และปัจจุบันไทยเป็นประเทศเดียวที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออก ทุเรียนสด (เปลือก) ไปยังประเทศจีน เนื่องจากรัฐบาลไทย-จีน ได้มีการลงนามในพิธีสารว่าด้วยการ นำเข้า-ส่งออกผักผลไม้ผ่านประเทศที่ 3 โดยทุเรียนสดที่เข้ามาจำหน่ายในประเทศจีนมากกว่า 75% เป็นทุเรียนที่มาจากไทย

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรของจีน พบว่า ปี 2018 ไทยส่งออกทุเรียนไปยังประเทศทั่วโลก มีการส่งออกทั้งสิ้น มากกว่า 490 ล้านกิโลกรัม ส่งออกมายังจีนประมาณ 343 ล้านกิโลกรัม หากคำนวณจากน้ำหนักของทุเรียน 3 กิโลกรัม/ลูก จะพบว่า ผู้บริโภคชาวจีนในทุก 100 คน มีผู้บริโภคจำนวน 8 คน ที่บริโภคทุเรียน และแม้จะเป็นตัวเลขเล็กน้อย แต่เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรชาวจีนที่มีมากถึง 1,400 ล้านคน พบว่า ความต้องการทุเรียนของชาวจีนมีปริมาณมาก และเป็นตลาดขนาดใหญ่ของการส่งออกทุเรียนไทยมายังจีน

เจียงหนาน-กวางโจ ตลาดใหญ่ “ผลไม้ไทย”

นางสาวเบญจมาศ ตันเวทยานนท์ กงสุลใหญ่ นครหนานหนิง สาธารณะรัฐประชาชนจีน เปิดเผยกับ “ไทยพีบีเอส ออนไลน์” ในการเปิดการประชุมจีน-อาเซียน(กว่างซี) และการเปิดศูนย์สื่อสารระหว่างประเทศ ในโครงการโอกาสจีน สวยงาม แคมเปญการสื่อสารกว่างซี ที่นครหนานหนิง ถึงสถานการณ์การค้าของหนานหนิง กับประเทศไทย โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ว่า ทุเรียน เป็นหนึ่งในผลไม้ไทยที่มีการส่งออกเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ

นางสาวเบญจมาศ ตันเวทยานนท์ กงสุลใหญ่  นครหนานหนิง  สาธารณะรัฐประชาชนจีน

นางสาวเบญจมาศ ตันเวทยานนท์ กงสุลใหญ่ นครหนานหนิง สาธารณะรัฐประชาชนจีน

นางสาวเบญจมาศ ตันเวทยานนท์ กงสุลใหญ่ นครหนานหนิง สาธารณะรัฐประชาชนจีน

กล่าวคือ ปี 2566 ไทยส่งออกผลไม้ 2.91 ล้านตันหรือ 6,905 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตลาดจีนถือว่าเป็นตลาดใหญ่ของสินค้าเกษตรไทย เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่มีประชากรจำนวนมาก ความต้องการการบริโภคสูง ประกอบกับมีเส้นทางการขนส่งผลไม้ที่หลากหลายทั้งทางถนน ทางรถไฟ ทางทะเล และทางอากาศ โดยใช้เวลาไม่นานนัก ผ่านเส้นทางหลัก คือ ทางเรือ ไปยังมณฑลต่าง ๆ ใน จีน เช่น กวางตุ้ง หรือจากไทยไปฮ่องกง และใช้รถลากตู้คอนเทนเนอร์ไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ ผ่านเมืองเซินเจิ้น รองลงมาเป็นการขนส่งทางบกทั้งเส้นทาง R3A และทางเส้นรถไฟลาว-จีน ไปยังมณฑลยูนนาน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ยังขนส่งทางเรือไปยังมณฑลภาคตะวันออกของจีน และขนส่งทางบกจากไทย ผ่านลาว เวียดนาม และเข้าจีนที่เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ซึ่งมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นหลังจีนยกเลิกมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

กงสุลใหญ่ นครหนานหนิง กล่าวอีกว่า จุดหมายปลายทางส่วนใหญ่ของผลไม้ไทยจะส่งไปที่ศูนย์กลางการค้าส่งผักและผลไม้ใน เจียงหนาน นครกวางโจว ซึ่งเป็นตลาดที่พ่อค้านำผลไม้จากทางตอนเหนือของประเทศมาจำหน่ายทางตอนใต้ของจีน และนำผลไม้จากตอนใต้และผลไม้นำเข้าจากต่างประเทศขึ้นไปจำหน่ายยังภาคเหนือและมณฑลต่างๆของประเทศ

ในขณะที่การนำเข้าผลไม้ไทย เช่น ทุเรียนที่สุกคาต้น น้อยหน่า เงาะ ลองกอง และ มะม่วง จะเป็นขนส่งทางอากาศ เพราะเป็นผลไม้อายุสั้นละมีราคาสูง ซึ่งผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง เช่น นครเซี่ยงไฮ้ นครกว่างโจว กรุงปักกิ่ง และเมืองเซินเจิ้น โดยปี 2566 มีการนำเข้าทุเรียนมากถึง 928,645 ตัน รองลงมาเป็น มะพร้าว 589,640 ตัน ลำไย 327,296 ตันและมังคุด 206,645 ตัน

ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ ช่วง 5 เดือนแรกปี2567 (ม.ค.-พ.ค.) พบว่า ไทยส่งออกผลไม้สดปริมาณ 952,711 ตัน มูลค่า 105,687.86 ล้าน เป็นการส่งออกทุเรียนสด ปริมาณ 497,602 ตัน มูลค่า 83,059.85 ล้านบาท

โดยส่งออกไปตลาดจีน มูลค่า 81,037.89 ล้านบาท รองลงมา ตลาดฮ่องกง มูลค่า 1,163.25 ล้านบาท ซึ่งปี 2566 ไทยส่งออกทุเรียนสดไปทุกตลาดปริมาณ 991,547 ตัน มูลค่า 141,043.65 ล้านบาท ในจำนวนนี้ไปจีนมากสุด มูลค่า 137,477.55 ล้านบาทขณะที่มังคุดสด ส่งออกไปจีน มูลค่า 9,065.40 ล้านบาท รองลงมา คือ ตลาดเวียดนาม มูลค่าส่งออก 460.01 ล้านบาท

นอกจากนี้ในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาพบว่า ไทยส่งออกทุเรียนมาจีนเพิ่มขึ้นถึง 1,000 ตู้คอนเทนเนอร์ โดยขนส่งระหว่างจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จ.นครพนม และ จ.มุกดาหาร กับตลาดจีนในกว่างซี ทำให้ระยะเวลาการขนส่งลดลงเหลือเพียง 1-2 วัน ซึ่งช่วยส่งเสริมเกษตรกรผลไม้ไทยได้อย่างมาก

ทุเรียนจีน-เวียดนาม ไม่ใช่ คู่แข่งไทย

แม้ในช่วงที่ผ่านมาไทยจะเผชิญกับการแข่งขันสินค้าด้านการเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม มาเลเซีย แต่กงสุลใหญ่ นครหนานหนิง ระบุว่า จีนมีประชากรมากกว่า 1,400ล้านคน ดังนั้นไม่ควรมองว่า ทุเรียนเพื่อนบ้านเป็นคู่แข่ง เพราะลูกค้าจะเป็นคนเลือกเองว่าจะบริโภคทุเรียนอะไร ดังนั้น สิ่งที่เกษตรกรไทยควรพัฒนา คือ การรักษาคุณภาพทุเรียนไทยให้ดี

“การขนส่งทุเรียนจากไทยผ่านเส้นทางรถไฟลาว-จีน จะใช้รถบรรทุก-รถไฟ-รถบรรทุก ไปสู่จีนตอนเหนือ สามารถลดระยะเวลาการขนส่งลงได้อีก 2 วัน ถือว่ามีประสิทธิภาพ และช่วยเก็บรักษาคุณภาพความสดใหม่ของทุเรียนได้ แต่ถ้าหากผลักดันให้มีสายเรือที่สามารถขนส่งทุเรียนจากไทย ตรงเข้าสู่ท่าเรือจีนตอนเหนือเช่นท่าเรือชิงต่าว โดยไม่ผ่านเมืองอื่น จะเป็นอีกช่องทางการขนส่งที่มีศักยภาพซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการขนส่งผลไม้ไทย” นางเบญจมาศ กล่าว

ปัจจุบันทุเรียนในตลาดจีนพึ่งพาการนำเข้า แต่ด้วยความต้องการของตลาดจีนเป็นปริมาณมาก จีนได้เลือกมณฑลไห่หนาน มณฑลกวางตุ้ง มณฑลยูนนาน และไต้หวัน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอากาศอบอุ่น เป็นแหล่งทดลองปลูกทุเรียน โดยนำทุเรียนพันธุ์ดีมาจากมาเลเซียมาเพาะพันธุ์ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง

โดยปี 2561 มณฑลไห่หนานก็เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการปลูกถ่ายกิ่งต้นกล้าทุเรียน จนกระทั่งปี 2566 ทุเรียนเมืองซานย่าก็เข้าสู่ตลาดเป็นที่จับตามองของตลาด การเพาะปลูกทุเรียนในมณฑลไห่หนานมีพื้นที่กว่า 12,500 ไร่ มีพื้นที่ติดผลทุเรียนในไห่หนานประมาณ 583.33 ไร่ มีปริมาณผลผลิต 50 ตัน

ปัจจุบันทุเรียนจีนที่เข้าสู่ตลาดมาจากเขตนิเวศวิทยาเมืองซานย่า มณฑลไห่หนาน เท่านั้น แม้จีนมีการพัฒนาและวิจัยโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามา รวมถึงอุปกรณ์และเทคโนโลยีการเกษตรขั้นสูงของจีนที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ข้อเสียของมณฑลไห่หนานมีพายุไต้ฝุ่นบ่อยครั้งและฝนตกไม่สม่ำเสมอ ซึ่งจะกระทบต่อผลผลิต

นักลงทุนอาเซียน เจาะเมืองรองในจีน

นาย หลัว หยูเจียง รองผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณาชวนเชื่อของเขตเจียงจิ้น เมืองฉงชิ่ง กล่าวว่า ชาวจีนชอบทุเรียนไทยเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องของคุณภาพ แม้จะมีทุเรียนของเวียดนาม หรือ มูซาคิงของมาเลเซียเข้ามาบุตลาดจีน หรือแม้ว่าจีนเองจะมีการทดลองปลูกทุเรียน แต่ผู้บริโภคชาวจีนก็ยังคงชื่นชอบทุเรียนไทย จึงอยากให้ไทยคงรักษาคุณภาพของทุเรียนไว้

ส่วนโอกาสการเข้ามาทำการค้ากับกับจีนยังมีอยู่มาก เนื่องจากจีนมีหลายมณฑล และในมณฑลยังมีเมืองที่มีปีระชากรจำนวนมาก ดังนั้น สินค้าที่มาจากอาเซียนหรือประเทศไทย ไม่จำเป็นต้องมุ่งไปที่มณฑลใหญ่เพียงอย่างเดียว ควรเจาะไปที่มณฑลรอง ซึ่งยังมีช่องทางการค้าที่หลากหลาย แต่ต้องพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด

ขณะที่นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ ศึกษาข้อมูลการส่งออกสินค้าไปยังแต่ละมณฑลของจีน เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทย เจาะเป้าหมายเมืองรองของจีน ที่ขนาดเศรษฐกิจระดับมณฑลของจีนหลายแห่งยังใหญ่กว่าไทยมาก ในปี 2567

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า

โดยรัฐบาลจีนตั้งเป้าหมาย การเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละมณฑลไม่ต่ำกว่า 5% ซึ่งในช่วงต้นปี 2567 เศรษฐกิจจีนมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีทั้งภาคการลงทุน การบริโภค และการส่งออก ตอกย้ำถึงความยืดหยุ่นและแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น

หากไทยสามารถเข้าถึงตลาดในระดับมณฑลที่มีความหลากหลายในเชิงวิถีชีวิต วัฒนธรรม การอุปโภคบริโภค และรูปแบบการค้ากับต่างประเทศได้อย่างเหมาะสม ก็จะเป็นโอกาสขยายการส่งออกสินค้าของไทยได้เพิ่มขึ้นซึ่งแต่ละมณฑลของจีนใน 31 มณฑล/เขตการปกครอง พบว่าไทยมีส่วนแบ่งการตลาดในแต่ละมณฑลเฉลี่ย 2.05% ด้วยมูลค่าที่จีนนำเข้าสินค้าจากไทยเฉลี่ยมณฑลละ 51,072 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยมณฑลที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ เขตปกครองตนเองทิเบต เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง และมณฑลยูนนาน อีกทั้งยังวิเคราะห์สินค้าส่งออกศักยภาพของไทยในจีนรายมณฑล โดยพิจารณาจากสัดส่วนการนำเข้าสินค้าของไทยในแต่ละ 31 มณฑล/เขตการปกครอง ในปี 2566 โดยเปรียบเทียบกับสัดส่วนการนำเข้าสินค้าของมณฑลนั้น ๆ กับประเทศอื่นทั่วโลก

จากการศึกษาพบว่า ไทยมีสินค้าศักยภาพหลายรายการที่ส่งออกไปยังแต่ละมณฑลของจีน โดยเฉลี่ยมีสัดส่วนสินค้าศักยภาพมากกว่ากึ่งหนึ่งของรายการสินค้าที่มีการนำเข้าจากไทย สัดส่วนอยู่ที่53.9 % เมื่อพิจารณาสัดส่วนสินค้าศักยภาพของแต่ละมณฑล ร่วมกับระดับการทำการค้ากับไทยและกับโลก รวมถึงขนาดเศรษฐกิจรายมณฑล

พบว่ามีมณฑลที่น่าสนใจที่กระทรวงพาณิชย์ควรมุ่งเน้นส่งเสริม รวมถึงมณฑลที่มีการส่งเสริมอยู่แล้วในปัจจุบัน แต่สามารถพัฒนาการส่งออกได้เพิ่มขึ้น ผ่านการผลักดันสินค้าศักยภาพต่าง ๆ เช่น มณฑลกวางตุ้ง มณฑลเจียงซู มหานครเซี่ยงไฮ้ กรุงปักกิ่ง และมณฑลเจ้อเจียง

ทั้งนี้ สินค้าศักยภาพในภาพรวมทุกมณฑล ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทอุตสาหกรรม คิดเป็นสัดส่วน83.3% จากสินค้าศักยภาพทั้งหมด เช่น ทองแดง ยางรถยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาง คอนเทนเนอร์ และยานยนต์ ขณะที่สินค้าเกษตรและอาหารคิดเป็นสัดส่วน16.7% เช่น แป้งธัญพืช ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง มะพร้าว และผลไม้ เป็นต้น

อ่านข่าว:

"เงินดิจิทัล" เริ่มกดเงินสด 10,000 บาท 25 ก.ย.นี้

อาเซียนพร้อมหรือยัง? จีนชู “ผิงลู่” บกเชื่อมทะเล ประตูสู่ตลาดโลก

“พาณิชย์” จี้แบงก์ชาติแก้ปัญหาบาทแข็ง เร่งลดดอกเบี้ยช่วย SMEs

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง