เจ้าหน้าที่จับลักลอบนำเข้าทุเรียน กว่า10ตัน มูลค่า บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา พบเป็นทุเรียนเวียดนาม หวังสวมสิทธิ์ทุเรียนไทย ด้านผู้ส่งอออกทุเรียนไทยชี้ ทุเรียนเพื่อนบ้านราคาถูก กก.ละ80-100 บาท ขณะที่ทุเรียนไทย ราคา160-180 บาท/กก.ทะลักเข้ามาช่วงผลผลิตน้อย
หากเอ่ยชื่อ ราชาผลไม้ คงหนีไม่พ้น “ทุเรียน” ไทย พระเอกส่งออกอันดับต้นๆ ที่สร้างรายได้เข้าประเทศไทยปีละแสนล้านบาท เฉพาะที่จีนประเทศเดียว เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา ไทยที่ส่งทุเรียนออกไปแดนมังกร ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 81.7 หรือมีมูลค่า 93,664 ล้านบาท
ผลการตรวจสอบตัวอย่างทุเรียนที่ส่งออกไปจีน ระหว่าง 2-16 กันยายน ออกมาแล้ว พบว่า ส่วนใหญ่ไม่พบแคดเมียมเกินค่ามาตรฐานที่จีนกำหนด แต่ยังต้องตรวจเพิ่มว่า จะมีการสวมสิทธิ์ทุเรียนส่งออก หรือการใช้สารภายในล้งก่อนการส่งออกหรือไม่ ขณะที่ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยเฉพาะกิจพญานาคราชลงพื้นที่ ตรวจล้งจังหวัดชุมพร พบการใช้สารชุบทุเรียนนำเข้าจากจีน ไม่ผ่านการขึ้นทะเบียน
ทุเรียนไทยมูลค่าแสนล้านบาทถูกสั่นคลอนอีกครั้ง หลังจีนพบทุเรียนไทยปนเปื้อนสารแคดเมียม ซึ่งในปี 2567 ได้แจ้งเตือนเรื่องนี้มาแล้ว 6 ครั้ง เป็นสิ่งที่ รมว.เกษตรและสหกรณ์ สั่งการให้กรมวิชาการเกษตร ดำเนินการอย่างเด็ดขาดกับเจ้าของล้ง และสวนทุเรียนที่มีสารแคดเมียมปนเปื้อน รวมถึงเข้มงวดการนำเข้าทุเรียนต่างประเทศ โดย บุญยัง อ่ำฉอ้อน เจ้าของล้งทุเรียน จ.ชุมพร เชื่อว่า ทุเรียนที่พบการปนเปื้อน ไม่น่าจะเป็นทุเรียนที่ปลูกในไทย เพราะเกษตรกรล้งส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ และตระหนักถึงการทำทุเรียนคุณภาพ เพราะหากตรวจพบสารตกค้างจะกระทบการส่งออก ราคาที่เกษตรกรขายได้ และความเชื่อมั่นผู้บริโภค
ทุนจีนที่รุกคืบกว้านซื้อที่ดิน และเช่า เพื่อปลูกทุเรียนในหลายจังหวัดทางภาคตะวันออก ไม่ได้สร้างความกังวลใจให้เพียงเกษตรกร แต่นักวิชาการ ก็ประเมินว่า ในอนาคตหากมีการขยายเวลาให้ต่างชาติเช่าที่ดินได้เป็นเวลานาน ก็จะเป็นปัจจัยที่เอื้อให้ทุนจีน ผูกขาดธุรกิจทุเรียนไทยแบบครบวงจร
แม้ "ทุเรียนไทย" จะยังยืนหนึ่งในตลาดจีน แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ส่วนแบ่งตลาดเริ่มสั่นคลอนจากเวียดนาม โดยนักวิชาการอิสระและผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ระบุว่า แม้ปี 67 ไทยจะครองตำแหน่งผู้ส่งออกทุเรียนเบอร์ 1 ในตลาดจีน แต่อีก 5 ปีข้างหน้า มีความเสี่ยงที่จะเสียตลาดให้เวียดนาม จากต้นทุนการผลิตสูง ปัญหาภัยแล้งที่กระทบทำให้ผลผลิตลดลง
สินค้าเกษตรของไทย อย่างเช่น ทุเรียน เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่วโลก แต่ภายหลังการแพร่ระบาดโควิด-19 และวิกฤตความมั่นคงทางอาหาร สิ่งเหล่านี้ทำให้ความสามารถของไทยในการส่งออกสินค้าลดลงหรือไม่ ? จุดเสี่ยงการส่งออกผลไม้ไทยคืออะไร ? อนาคตทุเรียนไทยจะได้รับความนิยมสูงในจีนอีกหรือไม่ ?
พาไปจับชีพจรกันที่จังหวัดชุมพร เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกมากเป็นลำดับต้น ๆ ของประเทศที่มีจำนวนกว่า 200,000 ไร่ ซึ่งที่นี่มีระบบทั้งการขยายของพื้นที่ปลูก การผลิตเก็บทุเรียนให้ได้มาตรฐาน และการสร้างตลาดที่รองรับการลงทุนธุรกิจ ซึ่งไม่ได้ราบเรียบเหมือนที่คิด อนาคตของทุเรียนจังหวัดชุมพรจะเป็นอย่างไร