"จิ้งหรีด-ไข่แมลงวันลาย"โปรตีนทางเลือก ซอฟต์พาวเวอร์ไทยฟู้ด

เศรษฐกิจ
30 ก.ย. 67
14:35
17
Logo Thai PBS
 "จิ้งหรีด-ไข่แมลงวันลาย"โปรตีนทางเลือก ซอฟต์พาวเวอร์ไทยฟู้ด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
พาณิชย์ ดันซอฟพาวเวอร์ไทยฟู้ด หนุนโปรตีนทางเลือก "จิ้งหรีด-ไข่แมลงวันลาย" เทรนด์ใหม่ส่งออก ชี้ตลาดต้องการสูง รองประธานหอฯชี้ผู้บริโภคใส่ใจสุขภาพมากขึ้น มั่นใจตลาดฟิวเจอร์ฟู้ดส์โต

วันนี้ ( 30 ก.ย.2567) นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กล่าวว่า จิ้งหรีดเป็นโปรตีนทางเลือก และเป็นสุดยอดอาหาร (ซุปเปอร์ฟู้ด) เพราะให้คุณค่าทางโภชนาการสูง สามารถนำมาผลิตเป็นอาหารได้หลากหลายชนิด และยังเป็นโปรตีนที่หาได้ง่าย ช่วยลดการผลิตโปรตีนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ปัจจุบันเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกรมฯพร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการให้มีการผลิตเพิ่มขึ้น และช่วยสนับสนุนด้านการทำตลาดต่างประเทศ เพราะเป็นสินค้าอีกรายการหนึ่ง ที่จะช่วยสนับสนุนซอฟต์ พาวเวอร์ของไทยได้

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)

สำหรับฟาร์มสยามบั๊กส์ (SiamBugs) เป็นฟาร์มจิ้งหรีดแนวตั้งที่ใช้ระบบรางเลื่อนแห่งแรกของไทย บนพื้นที่ 2 ไร่ มีโรงเรือนกึ่งปิด ได้มาตรฐาน GAP กำลังการผลิต 4-5 ตันต่อรอบ (45-50 วัน) โดยตั้งเป้าที่จะส่งออกแมลงไทยไปสู่ตลาดโลก ในรูปแปบของการแปรรูปเป็น ผงโปรตีน เพื่อเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทั้งในรูปของอาหาร (Foods) อาหารสัตว์ (Feeds) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เวชสำอาง และอาหารทางการแพทย์

วัฒนธรรมการกินแมลงไทยเป็นผู้นำเทรนด์ของชาวโลก จึงเป็นแรงผลักดันและจุดประกายให้ทำการศึกษาและทดลองเลี้ยงจิ้งหรีดด้วยตัวเองอย่างจริงจัง

ด้านนาย วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์อาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวกับ”ไทยพีบีเอสออนไลน์” ว่า แพลนต์เบสฟู้ดส์เป็นส่วนหนึ่งของฟิวเจอร์ฟู้ดส์ โดยสัดส่วนฟิวเจอร์ฟู้ดส์ที่ใหญ่ที่สุดคือ กลุ่มอาหารฟังก์ชั่น มีสัดส่วนประมาณ 90% รองลงมาคือกลุ่มอัลเทอร์เนทีฟโปรตีน : ANP หรือธุรกิจโปรตีนทางเลือก

ช่วงโควิด-19 ทุกคนให้ความสนใจเรื่องสุขภาพ นวัตกรรมที่ทำออกมาใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์จึงมีความต้องการสูงที่ซึ่งปรตีนทางเลือกจึงเป็นอีกหนึ่งสินค้าที่มาแรง

ปัจจุบันมีการพัฒนาโปรตีนทางเลือกโดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูงสามารถแบ่งได้ 5 ชนิด ได้แก่ 1.แพลนเบส โปรตีน (Plant-Based Protein) 2. อินเซค-เบส (Insect-Based) 3.โปรตีนจากจุลินทรีย์ (Microbial-based) 4 โปรตีนจากสาหร่าย (Algae-based)5. Cell Based Meat

นาย วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์อาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต

นาย วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์อาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต

นาย วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์อาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต

มีการสกัดโปรตีนจากแมลง หรือ อินเซค-เบส (Insect-Based) เดิมสกัดจาก จิ้งหรีด ที่มีตลาดรองรับอยู่แล้วแต่อัตราเติบโตไม่ค่อยดีนัก แต่ยังมีโปรตีนทางเลือกอีกแบบคือ โปรตีนจากแมลงวันลาย หรือ Black Soldier Fly– BSF

นาย วิศิษฐ์ กล่าวอีกว่า บางคนอาจมองว่าเป็นแมลงวันแต่ในแง่ประโยชน์ด้านโปรตีนและในแง่ความยั่งยืน BSF สามารถกำจัดขยะชุมชนที่หากแยกขยะอินทรีย์ออกมากก็จะเป็นอาหารของแมลงวันลายที่เมื่อกินของเหล่านี้เข้าไปก็จะสร้างโปรตีนที่สูงมากด้วยตัวเอง รูปแบบการใช้ประโยชน์คือนำแมลงวันลายไปสกัดเป็นอาหาร หรือ นำแมลงวันลายไปเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์

แม้แมลงวันลายจะตอบโจทย์ทั้งความยั่งยืนและการผลิตโปรตีนทางเลือกได้ดี แต่ผู้บริโภคอาจไม่ยอมรับเพราะติดที่ว่าเป็นแมลงวัน ดังนั้นการพัฒนาปัจจุบันจึงเป็นการสกัดโปรตีนในรูปผง หรือ แปรรูปอื่นที่น่าจะเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคได้มากกว่า

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ฟิวเจอร์ฟู้ดส์ในปัจจุบัน มีทิศทางเติบโตที่สดใสเพราะเป็นเหมือนโซลูชั่นการแก้ปัญหาสุขภาพของคนในยุคปัจจุบัน เรียกว่า ฟังก์ชั่น ฟู้ดส์ ซึ่งเป็นอาหารที่กินเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ สามารถกินในปริมาณเท่าที่จำเป็นต้องนำไปใช้ แต่ยอมรับว่าอัตราการเติบโตช่วงนี้ น่าจะเป็นแค่เลขหลักเดียว จากก่อนหน้านี้ที่ประเมินกันว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% โดยปี 2566 ที่ผ่านมาอัตราเติบโตอยู่ที่ 5% เท่านั้น ซึ่งไม่ได้ดีเหมือนที่เคยคาดการณ์เอาไว้

ไทยมีศักยภาพเป็นแหล่งผลิตแพลนต์เบสฟู้ดส์ลำดับต้นๆในอาเซียนจึงควรเร่งแก้ไขจุดอ่อนและรุกตลาดที่มีความแข็งแกร่งเป็นต้นทุนอยู่แล้วอย่างจริงจังเพราะแพลนต์เบสฟู้ดส์ คืออนาคตทั้งเรื่องของอาหารการกินและเศรษฐกิจการค้า

ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า การส่งออกสินค้าอาหารอนาคต ในช่วง ม.ค. - พ.ค. 2567 มีมูลค่าถึง 1,869.97 ล้านดอลลาร์ หรือ คิดเป็น 66,727.07 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น10.32% โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐ จีน และเวียดนาม

สำหรับกลยุทธ์การส่งออกสินค้าอาหารอนาคต 1. ขยายการส่งออกสู่ผู้บริโภคชาวจีนและอินเดีย ผู้บริโภคในภูมิภาคต่างๆ ในโลกบริโภคอาหารที่ทำจากพืชมากขึ้น จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการผลิตสินค้าป้อนให้กับผู้ให้บริการอาหาร Food Services ต่างๆ และกว่า 62% ของผู้บริโภคชาวจีนและ 63% ของผู้บริโภค

อ่านข่าว:

ลดเงินสมทบประกันสังคมเหลือ 3% นายจ้าง-ลูกจ้างพื้นที่น้ำท่วม

เกมยื้อเวลา ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท

ITD นำร่อง 3 อุตสาหกรรมดาวรุ่ง ดันไมโครเอสเอ็มอีสู่ตลาดโลก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง