ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"หมูเด้ง" รันได้ทุกวงการ แต่จะมา "ละเมิดลิขสิทธิ์" กันไม่ได้นะนุด

สังคม
8 ต.ค. 67
15:01
13,059
Logo Thai PBS
"หมูเด้ง" รันได้ทุกวงการ แต่จะมา "ละเมิดลิขสิทธิ์" กันไม่ได้นะนุด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กระแส "หมูเด้ง" รันทุกวงการทั่วโลกในตอนนี้ ต่อยอดธุรกิจให้กับพ่อค้าแม่ขายแทบทั้งสิ้น คุณลูกค้าหลายคนไถหน้าฟีด ก็จะเห็นผลิตภัณฑ์ที่มีรูปหน้าตาเจ้าฮิปโปแคระแห่งเขาเขียวเต็มไปหมด คำถามคือ ทำได้หรือไม่ ? แล้วถ้าจะทำ จะทำอะไรได้บ้างที่ "ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์" ?

ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เมื่อมี "อะไรบางอย่าง" เป็นกระแสฟีเวอร์ ติดลมบน แล้วนักธุรกิจทั้งรายใหญ่ รายกลาง รายเล็ก ทั้งหลายจะนำไปต่อยอดสร้างรายได้ให้กับตัวเอง "หมูเด้ง" ที่เด้งเข้าทุกวงการ ณ ตอนนี้ก็เช่นกัน แรก ๆ ก็ "ปัง" หลัง ๆ อาจจะ "พัง" ได้ เพราะสินค้าบางตัวอาจเข้าข่าย "ละเมิดลิขสิทธิ์" จากที่จะขายสร้างรายได้ อาจถูกจับดำเนินคดีแทน

บางคนสงสัย ทำไมจะใช้ไม่ได้ ในเมื่อ "หมูเด้ง" เป็นสัตว์ของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ก็เสมือนเป็นบุคคลสาธารณะ  

กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกมาอธิบาย สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนว่า "หมูเด้ง" เป็น "สัตว์" ตัวน้องไม่ถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และทางสวนสัตว์เปิดเขาเขียวผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ก็ไม่เคยประกาศ "ห้าม" ถ่ายรูป ถ่ายวิดีโอ ถ่ายคลิป เจ้าเซเลบตัวดังอยู่แล้ว 

ที่ห้ามก็มีแต่ อย่ารังแก อย่าขว้างปาสิ่งของใส่น้องและแม่โจน่า รวมถึงสัตว์ในสวนสัตว์ตัวอื่น ๆ 

หนูไม่มีลิขสิทธิ์ แต่หน้าตาหนูอยู่บนสินค้า มีลิขสิทธิ์นะคะ

หนูไม่มีลิขสิทธิ์ แต่หน้าตาหนูอยู่บนสินค้า มีลิขสิทธิ์นะคะ

หนูไม่มีลิขสิทธิ์ แต่หน้าตาหนูอยู่บนสินค้า มีลิขสิทธิ์นะคะ

อ่านข่าว : กระแส "หมูเด้ง" ซอฟต์พาวเวอร์ต่อยอดธุรกิจ

ทำไม "หมูเด้ง" ไม่สามารถถือลิขสิทธิ์ได้ ?

"สัตว์" ไม่สามารถถือเป็นลิขสิทธิ์ได้ เพราะ "ลิขสิทธิ์" เป็นสิทธิ์ที่คุ้มครอง "ผลงานสร้างสรรค์" ที่เกิดจากความคิดและการแสดงออกของ "มนุษย์" เช่น งานเขียน ภาพวาด ดนตรี ภาพยนตร์ และ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ลิขสิทธิ์ จะคุ้มครองเฉพาะ สิ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ทางปัญญา ที่เป็นเอกลักษณ์ และ แสดงออกในรูปแบบที่จับต้องได้

ดังนั้น "สัตว์" จึงไม่ใช่ผลงานสร้างสรรค์ที่เกิดจากการแสดงออกทางปัญญาของมนุษย์ และไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากการออกแบบหรือความคิด การเกิดของสัตว์ที่แม้จะมาจากการจับคู่ผสมพันธุ์ให้ ก็ถือเป็นกระบวนการทางธรรมชาติ ไม่ใช่กระบวนการสร้างสรรค์ทางปัญญาที่มนุษย์สามารถอ้างความเป็นเจ้าของหรือสิทธิ์ลิขสิทธิ์ได้ 

ที่มา : กรมทรัพย์สินทางปัญญา

ที่มา : กรมทรัพย์สินทางปัญญา

ที่มา : กรมทรัพย์สินทางปัญญา

อ่านข่าว : เปิดใจแอดมิน "เบนซ์" ผู้จัดการ "หมูเด้ง" ดาราสาวแห่งเขาเขียว

"งานสร้างสรรค์" จาก "หมูเด้ง" จะได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ 

  • ภาพถ่ายหมูเด้ง หากมีการถ่ายภาพหมูเด้งโดยช่างภาพหรือประชาชนที่เข้าชมก็ตาม ภาพถ่ายนั้นจะได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ เพราะภาพถ่ายถือเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่เกิดจากความคิดและทักษะของคนที่กดชัตเตอร์
  • ภาพวาดหมูเด้ง หากมีการวาดภาพหมูเด้งโดยศิลปินหรือประชาชนที่เข้าชมก็ตาม ภาพนั้นจะเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์

รู้หรือไม่ : หากมนุษย์พยายามใช้สัตว์สร้างงานศิลปะหรือภาพถ่าย เช่น ควาญช้างให้ช้างวาดรูปหมูเด้ง ภาพนั้นจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของควาญช้าง ผู้ควบคุมกระบวนการ ไม่ได้เป็นลิขสิทธิ์ของช้าง เช่นเดียวกับกรณี ภาพลิงเซลฟี่สุดดัง ที่สุดท้ายศาลสหรัฐฯ ตัดสินให้ ลิขสิทธิ์ ตกเป็นของช่างภาพชาวอังกฤษ "เจ้าของกล้อง"   

นอกจากนี้ ยังมีผลงานประเภทต่าง ๆ ที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครอง ได้แก่ 

  • งานวรรณกรรม (หนังสือ บทความ บทกลอน โปรแกรมคอมพิวเตอร์)
  • นาฏกรรม (ท่าเต้น ท่ารำ ที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว)
  • ศิลปกรรม (ภาพวาด ภาพถ่าย)
  • ดนตรีกรรม (เนื้อร้อง ทำนองเพลง)
  • โสตทัศน์วัสดุ (วีซีดีคาราโอเกะ)
  • ภาพยนตร์
  • สิ่งบันทึกเสียง (เทป ซีดีเพลง)
  • งานแพร่เสียงแพร่ภาพ (รายการวิทยุโทรทัศน์)
  • งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์หรือแผนกศิลปะ (การเพ้นต์ศิลปะบนร่างกาย)

ยกตัวอย่าง เช่น บทความเรื่อง "หมูเด้ง" รันวงการบิตคอยน์ เมลเบิร์นส่ง "เพสโต้" ประชันความดัง หากมีผู้อื่นนำบทความนั้น ๆ ไปเผยแพร่ต่อ ทำซ้ำ ฯลฯ โดยมิได้ขออนุญาตและได้รับการยินยอมจากคนเขียนบทความนั้น ๆ ถือว่า "ละเมิดลิขสิทธิ์" แต่ละเมิดต่อผู้เขียน ไม่ได้ละเมิดต่อหมูเด้ง

แชะปุ๊บ "ลิขสิทธิ์" เกิดปั๊บ

"ลิขสิทธิ์" จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยที่เจ้าของผลงานไม่ต้องไปดำเนินการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์จะคุ้มครองงานที่เป็นต้นฉบับ ซึ่งเป็นผลมาจากความคิดสร้างสรรค์และการแสดงออกที่เป็นเอกลักษณ์ของผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้น ๆ 

แม้ลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นทันทีหลังการสร้างสรรค์ผลงาน แต่เจ้าของลิขสิทธิ์ก็ควรปกป้องคุ้มครองสิทธิของตนเอง ด้วยการเก็บรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ที่ตนเองเป็นผู้สร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์สิทธิหรือความเป็นเจ้าของผลงานในอนาคต หรือ ในกรณีที่เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยการไปแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา 

แต่การแจ้งข้อมูล ก็เป็นแค่การแจ้งเท่านั้น ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะออกเพียงหนังสือรับรองให้ว่าผลงานที่นำมาแจ้งนั้น ผู้แจ้งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานชิ้นนั้นเท่านั้น ไม่ใช่การรับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด 

หนูไม่มีลิขสิทธิ์ แต่หน้าตาหนูอยู่บนสินค้า มีลิขสิทธิ์นะคะ

หนูไม่มีลิขสิทธิ์ แต่หน้าตาหนูอยู่บนสินค้า มีลิขสิทธิ์นะคะ

หนูไม่มีลิขสิทธิ์ แต่หน้าตาหนูอยู่บนสินค้า มีลิขสิทธิ์นะคะ

ยกตัวอย่างเช่น 

  • นาย A ถ่ายรูปหมูเด้งจังหวะอ้าปากพอดี นาย B มาเห็นรูปแล้วชอบ เลยไปถ่ายหมูเด้งอ้าปากบ้าง แม้นางแบบจะตัวเดียวกัน สถานที่คอกเดียวกัน ความเกรี้ยวกราดของน้องเหมือนกัน อ้าปากองศาเดียวกัน แต่ภาพของนาย B ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของนาย A 

  • อีกกรณีหนึ่ง ถ้านาย B นำภาพถ่ายของนาย A ไปแชร์ต่อในช่องทางออนไลน์ของตัวเอง เอาไปถ่ายเอกสารเป็นรูปแปะฝาบ้านตัวเอง เอาไปบอกว่าเป็นภาพของตัวเอง โดยไม่ได้ขออนุญาตและไม่ได้รับการยินยอมจากนาย A ลักษณะนี้เข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์นาย A ทันที  
ซ้ายถ่ายโดยนาย A ขวาถ่ายโดยนาย B แม้จะมุมเดียวกัน ก็ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ซ้ายถ่ายโดยนาย A ขวาถ่ายโดยนาย B แม้จะมุมเดียวกัน ก็ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ซ้ายถ่ายโดยนาย A ขวาถ่ายโดยนาย B แม้จะมุมเดียวกัน ก็ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

อ่านข่าว : หลงรัก "หมูเด้ง" สาวบินข้ามโลก 18 ชม.เจอเซเลบ 4 ขาเมืองไทย

"ขอแล้วต้องให้" ถึงจะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

การละเมิดลิขสิทธิ์ คือ การใช้ผลงานที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ เช่น การทำซ้ำ ดัดแปลง หรือ เผยแพร่ผลงาน โดยไม่ได้รับการยินยอม 

รูปแบบการละเมิดลิขสิทธิ์

  • การทำซ้ำ (Copying) คัดลอกหรือบันทึกผลงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • การเผยแพร่ (Distribution) แจกจ่ายหรือเผยแพร่ผลงานผ่านสื่อทั้งทางออฟไลน์และออนไลน์
  • การดัดแปลง (Modification) การเปลี่ยนแปลงผลงานต้นฉบับ เช่น การแปลงเนื้อหาเป็นรูปแบบอื่น หรือ สร้างผลงานอื่นที่ใช้เนื้อหาต้นฉบับเดิม
  • การแสดงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณะ การใช้ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ในกิจกรรมสาธารณะ เช่น การฉายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต

การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี พ.ศ.2558 เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีดิจิทัล 

กรณีละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง ตามมาตรา 69 กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต ได้แก่ ทำซ้ำหรือดัดแปลง นำออกเผยแพร่ต่อสาธาธารณชน ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท และหากกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน-4ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000-800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กรณีละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม การละเมิดโดยบุคคลใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดย
ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ซึ่งกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร
มาตรา 70 ระบุ ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท ถ้าการกระทำความผิดเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ 3 เดือน-2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000-400,000 บาท หรือทั้งจำทั้ง

กรณีการกระทำละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ และ กรณีการละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี มาตรา 70/1 ผู้ใดกระทำการละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท

กรณีการทำซ้ำโดยการบันทึกเสียงหรือภาพหรือทั้งเสียงและภาพจากภาพยนตร์อันมีลิขสิทธิ์ในโรงภาพยนตร์ มาตรา 69/1 ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน-4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000-800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หนูไม่มีลิขสิทธิ์ แต่หน้าตาหนูอยู่บนสินค้า มีลิขสิทธิ์นะคะ

หนูไม่มีลิขสิทธิ์ แต่หน้าตาหนูอยู่บนสินค้า มีลิขสิทธิ์นะคะ

หนูไม่มีลิขสิทธิ์ แต่หน้าตาหนูอยู่บนสินค้า มีลิขสิทธิ์นะคะ

อ่านข่าว : PETA เรียกร้อง "หมูเด้ง" ฮิปโปแคระคืนป่า-อ้างโชว์หาประโยชน์

จะรวยจาก "หมูเด้ง" ยังไงในแบบตัวเอง ?

"หมูเด้ง" ถือเป็นสัตว์ในการดูแลของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว เสมือนเป็นทรัพย์สมบัติของสวนสัตว์ การเข้าไปถ่ายรูป คลิป วิดีโอ ที่ไม่ได้เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ย่อมไม่ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือละเมิดสิทธิของหมูเด้งหรือสวนสัตว์เปิดเขาเขียวแต่อย่างใด 

แต่สำหรับพ่อค้าแม่ค้าหลาย ๆ คนที่คิดจะนำหมูเด้งไปต่อยอดผลิตภัณฑ์ อาจต้องเช็กให้ถี่ถ้วนก่อนว่า ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับหมูเด้ง ถูกจดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าแล้วหรือยัง เพื่อไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และรักษาความถูกต้องความเป็นธรรม 

ที่มา : กรมทรัพย์สินทางปัญญา

ที่มา : กรมทรัพย์สินทางปัญญา

ที่มา : กรมทรัพย์สินทางปัญญา

เช่น ไปเที่ยวสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ถ่ายรูปหมูเด้งมา แล้วอยากจะนำไปสกรีนเป็นเสื้อใส่เอง หรือทำแจกในครอบครัว ก็สามารถนำรูปที่ถ่ายเองนั้นทำได้ ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ใคร แต่หากสกรีนออกมาแล้ว และนำไปขายหารายได้ อาจเข้าข่ายความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าได้

ความพยายามสร้างสรรค์ผลงานจากความคิดและแนวคิดของตนเอง ถือเป็นการพัฒนาตัวเอง สร้างผลงานที่ไม่เลียนแบบคนอื่น หรือหากต้องการใช้ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เช่น ภาพจากเพจ ขาหมู แอนด์เดอะแก๊ง หรือ เพจของ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ควรติดต่อเจ้าของลิขสิทธิ์เพื่อขออนุญาตในการใช้งาน และที่สำคัญ ต้องให้เครดิตแก่เจ้าของผลงานต้นแบบด้วย 

การได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง การให้เครดิต ช่วยลดความเสี่ยงในการละเมิดลิขสิทธิ์ และเป็นการให้เกียรติแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงาน
ที่มา : กรมทรัพย์สินทางปัญญา

ที่มา : กรมทรัพย์สินทางปัญญา

ที่มา : กรมทรัพย์สินทางปัญญา

ที่มา :
- พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2558)
- เว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา
-บทความเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ในประเทศไทย โดย Tilleke & Gibbins
- World Intellectual Property Organization (WIPO) : ข้อมูลเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในประเทศไทย

อ่านข่าวอื่น :

นายกฯ ตอบตั้ง "ณัฐวุฒิ" ช่วยงาน ไม่เกี่ยวรับมือกลุ่มชุมนุม

"อนุทิน" รับพา "เนวิน" เข้าจันทร์ส่องหล้า กินมื้อเย็นฉลองวันเกิด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง