วันนี้ (11 ต.ค.2567) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลา โหม แถลงภายหลังการประชุมสภากลาโหม ครั้งที่ 9 /2567 ที่ศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม ถึงเรื่องการฟื้นฟูพื้นที่เกิดอุทกภัยของหน่วยทหาร และกองทัพว่า ในที่ประชุมสภากลาโหมวันนี้ได้คุยกับผู้บัญชาการเหล่าทัพ ในเรื่องนี้ โดยมีการสรุป 3 มาตรการแก้ไขปัญหา ซึ่งในส่วนของการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นนั้น
โดยต้องขอชื่นชมเหล่าทัพ พร้อมให้กำลังใจ เพราะว่าหลังจากเกิดเหตุ รัฐบาลไม่ต้องสั่งการอะไร เพราะทหารปฏิบัติหน้าที่อยู่แล้วในการลงไปช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดภัย สามารถเข้าถึงพื้นที่และทำงานได้ทันที
อ่านข่าว เปิดใจ "มิน-พีชญา" ปัดโยงธุรกิจดิไอคอน-รับค่าจ้างแค่พีอาร์
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม
จากนั้นจึงมีการตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) ส่วนหน้าขึ้น ขณะนี้มี น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รมช. มหาดไทย และพล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รมช.กลาโหม ยังปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่อุทกภัย โดยจะทำงานให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน
ครั้งนี้เป็นการท่วมแบบพิเศษ ไม่เคยเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ขึ้นมาก่อน และพบว่ามีเหมืองอยู่ในพื้นที่บริเวณนั้น รวมทั้งมีโคลนมีต้นไม้ ไหลลงมาตามกระแสน้ำเป็นจำนวนมาก
น้ำท่วมแม่สาย จ.เชียราย รอบที่ 9 เมื่อช่วงต้นเดือนต.ค.
เล็งขุดลอกแม่น้ำสาย-แก้น้ำท่วม
ส่วนการฟื้นฟูนั้น ทางทหารพิจารณาแล้วว่า วงเงิน 9,000 บาท ที่มอบให้ผู้ได้รับผลกระทบนั้น ยังไม่สามารถช่วยฟื้นฟูได้ทั้งหมด แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมกำลังใจได้มีการมอบหมายให้จัดการประชุมและหาทางออกว่าจะใช้กฎระเบียบหรือนโยบา อย่างไรให้ประชาชนได้รับความช่วยเหลือได้มากขึ้น
มีการพูดคุยถึงการแก้ไขปัญหาในพื้นที่อำเภอแม่สายระยะยาวด้วย โดยในส่วนของแม่น้ำสาย อาจจะต้องมีการขุดลอกใหม่
โดยในที่ประชุมสภากลาโหมได้มีการนำภาพถ่ายดาวเทียมของบริเวณดังกล่าวมาดูในที่ประชุม และเห็นว่าทางน้ำเหลือเพียงแค่ 20 เมตรเท่านั้น จึงคิดว่าต้องดำเนินการทันที หลังจากปัญหาเฉพาะหน้าได้ผ่านพ้นไป โดยจะมีการเรียกประชุม ศปช.วันที่ 15 ต.ค.นี้ เพื่อพิจารณาว่าจะทำอย่างไรในด้านการหารือกับเมียนมา
เจ้าหน้าทีทำแนวกั้นลำน้ำแม่สายไหลทะลักเข้าท่สมชุมชนเมื่อช่วงต้นเดือนต.ค.ที่ผ่านมา
เร่งแก้รุกล้ำแม่น้ำสาย 2 ฝั่ง
โดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ และกองบัญชาการกองทัพไทย ซึ่งได้มีการประสานกับทางการเมียนมา เพื่อจะพูดคุยกันแล้วว่าอาจจะต้องมีการผลักดันพื้นที่รุกล้ำออกไปทั้งหมดทั้งสองฝ่าย ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถพูดคุยกันได้ ส่วนเรื่องอื่น ๆ จะต้องดูว่าแก้ไขอย่างไรได้บ้าง เช่น เรื่องดิน และ
หากแก้ไขปัญหาไม่ได้ อาจจะถึงขั้นต้องเปลี่ยนแปลงหรือย้าย ซึ่งเป็นเรื่องที่กำลังคิดกันอยู่กำลังคาดการณ์ว่าหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นทุกปี ในระยะเวลาไม่ถึง 100 ปี บ้านเมืองที่อยู่ในบริเวณนั้น ก็อาจกลายเป็นเมืองใต้ดินไปได้ จากการถูกสิ่งต่างๆ ทับถม
น้ำท่วมแม่สาย จ.เชียราย รอบที่ 9 เมื่อช่วงต้นเดือนต.ค.
ส่วนกรณีที่หากมีการย้ายเมือง จะต้องมีการเวนคืนพื้นที่เพื่อรองรับด้วยหรือไม่ นายภูมิธรรมกล่าวว่า กรณีดังกล่าว ขอให้เป็นกรณีสุดท้าย หากไม่สามารถแก้ไขด้วยวิธีอื่นได้แล้วจริง ๆ เนื่องจากจะต้องดูทั้งเรื่องทำเลที่ตั้ง งบประมาณ และเรื่องอื่น ๆ ด้วย
สำหรับมาตรการรองรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลาง และภาคใต้นั้น นายภูมิธรรม ระบุว่าขณะนี้รัฐบาลก็ได้ดูแลสถานการณ์ทั่วประเทศอยู่แล้ว ขณะนี้ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ เริ่มมีฝนตก จึงได้มีการสั่งการให้มีการป้องกันสถานการณ์อุทกภัย ในทุกพื้นที่ดังกล่าวไว้แล้ว
อ่านข่าวอื่นๆ