ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"นพดล" วอนเลิกปลุกกระแสการเมือง MOU44-เกาะกูด

การเมือง
1 พ.ย. 67
13:11
695
Logo Thai PBS
"นพดล" วอนเลิกปลุกกระแสการเมือง MOU44-เกาะกูด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"นพดล" ชี้จุดกระแส "เกาะกูด" หวังผลการเมืองคล้ายปราสาทพระวิหาร บานปลายจนเสียความสัมพันธ์กัมพูชา ยันยังเป็นของไทยมาตลอด MOU 44 ไม่ทำให้เสียดินแดน

วันนี้ (1 พ.ย.2567) นายนพดล ปัทมะ พรรคเพื่อไทย อดีตรมว.การต่างประเทศ ระบุถึงการเคลื่อนไหวจุดกระแส "เกาะกูด" ว่า เป็นความพยายามบิด เบือนข้อมูล หวังผลทางการเมืองทำลายเสถียรภาพของรัฐบาล เพราะเป็นกระแสอ่อนไหว หากไม่รีบชี้แจงข้อเท็จจริงอาจจะบานปลายเหมือนไฟลามทุ่ง

ข้อเท็จจริงคือ เกาะกูดเป็นของไทยตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสมานานแล้ว ไม่มีใครสามารถยกเกาะกูดให้กัมพูชาได้ คนไทยไปเที่ยวได้ตลอด และกัมพูชาไม่เคยเรียกร้องสิทธิเหนือเกาะกูด

อ่านข่าว ยกเลิกด่วน MOU44 พปชร.หวั่นไทยเสียดินแดนกระทุ้ง "แพทองธาร"

นายนพดล ปัทมะ พรรคเพื่อไทย อดีตรมว.การต่างประเทศ

นายนพดล ปัทมะ พรรคเพื่อไทย อดีตรมว.การต่างประเทศ

นายนพดล ปัทมะ พรรคเพื่อไทย อดีตรมว.การต่างประเทศ

วอนเลิกปลุกกระแส "เกาะกูด" หวังผลการเมือง

นายนพดล กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้เลิกปลุกกระแสไทยเสียเกาะกูดในขณะนี้เพราะเป็นความเท็จ รัฐบาลนี้รักประเทศชาติ ไม่มีใครจะทำให้ไทยเสียดินแดน

ส่วนที่มีการบิดเบือนว่า MOU 44 จะทำให้ไทยเสียดินแดน ย้ำว่า MOU 44 ที่ลงนามโดยนายสุรเกียรติ เสถียรไทย รมว.ต่างประเทศในขณะนั้น ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเกาะกูด

สาระสำคัญของ MOU 44 เป็นกรอบการเจรจาเรื่องพื้นที่ทางทะเลและพื้นที่พัฒนาร่วม เนื่องจากทั้งไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์ในเขตไหล่ทวีปทับซ้อนกัน 2 ประเทศเลือกวิธีเจรจาทางการทูต จึงเป็นที่มาของ MOU 44 เพื่อวางกรอบในการเจรจา บนพื้นฐานกฎหมายระหว่างประเทศ

โดยระบุชัดเจนว่าเนื้อหาของ MOU 44 และการเจรจาจะไม่มีผลกระทบต่อการอ้างสิทธิ์ทางทะเลของทั้งไทยและกัมพูชา และกลไกการเจรจาจะต้องกระทำโดยคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา หรือ JTC

ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากกระทรวงพลังงาน กองทัพ กระทรวงการต่างประเทศ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่จากกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ซึ่งคนอื่นไปเจรจาไม่ได้ แม้แต่ตัวนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ในรัฐบาลก่อนนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ก็เคยใช้การเจรจาตามกรอบของ MOU 44 มาก่อน

ลั่นไม่เคยทำให้ไทยเสียเขาพระวิหาร 

นายนพดล กล่าวอีกว่า ไม่อยากให้นำเรื่องดินแดนมาบิดเบือนใส่ร้าย อย่างเช่นที่เคยถูกกระทำในอดีต และถูกใส่ร้ายว่าเป็นคนยกปราสาทพระวิหารให้กัมพูชา ทั้งที่ไทยยกปราสาทพระวิหารให้กัมพูชา ตามคำตัดสินศาลโลกไปแล้วตั้งแต่ปี 2505 ที่มีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ขณะนั้นถ้าไม่จุดกระแสคลั่งชาติในกรณีเขาพระวิหาร เพื่อหวังผลการเมืองในไทยจะรักษาได้ทั้งดินแดน และความสัมพันธ์ที่ดีกับกัมพูชา การจุดกระแสด้วยความเท็จ ทำให้มีการปะทะตามแนวชายแดนมีทหารเสียชีวิต

และทำให้ในปี 2554 กัมพูชากลับไปศาลโลกอีกครั้ง เพื่อยื่นตีความคำพิพากษาศาลโลกปี 2505 จนมีคำตัดสินตีความคดีปราสาทพระวิหารเดิมออกมาในปี 2556 ซึ่งในคำพิพากษาก็ระบุชัดเจนว่ากัมพูชา ไม่ได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกรวมพื้นที่ซับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร

อ่านข่าว

แบ่งเกาะกูด ขุมทรัพย์ใต้ทะเล "ไทย-กัมพูชา" จุดจบ "แพทองธาร"

"เจ๊อ้อย" ให้ปากคำเพิ่มเติมปมโอนเงินให้ทนายดัง 71 ล้าน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง