"ภูมิธรรม" ลงพื้นที่เกาะกูด จ.ตราด ยืนยันกัมพูชา ไม่เคลม และยอมรับว่าเป็นดินแดนไทย ให้กำลังใจกำลังพล ย้ำเกาะกูดเป็นของไทย ขอให้กลุ่มการเมืองคำนึงถึงประโยชน์ชาติ ขณะที่ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบที่พัก บางแห่งถูกยกเลิกการจองกว่าร้อยละ 50
ชวนคุยประเด็นร้อน...เลื่อนโหวต "เพิ่มผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ การบินไทย" เป็น 29 พ.ย. 67 ส่วนเลือกตั้งบอร์ดแบงก์ชาติยังต้องลุ้น หลายฝ่ายหวั่นรัฐแทรกแซง ขณะที่ กมธ.ความมั่นคง เชิญผู้บริหาร รพ.ตำรวจ ชี้แจง "กรณีทักษิณรักษาตัวชั้น 14" แล้วเกาะกูดจะจบอย่างไร ? ด้านบิ๊กป้อมสั่งลุย "ยกเลิก MOU เกาะกูด"
ตามที่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกาศเดินหน้าตั้งทีม JTC เพื่อเจรจา MOU 44 ระหว่างไทย-กัมพูชา โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนกลางเดือน พ.ย.นี้นั้น ผศ. อัครพงษ์ ค่ำคูณ นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องเขตแดนจากสถาบันปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยว่า ก่อนที่รัฐบาลจะพูดคุยกับกัมพูชา รัฐบาลน่าจะทำความเข้าใจกับคนในประเทศก่อน และนำเรื่องเข้าสภาฯ อธิบายถึงเหตุผลความจำเป็น และสิ่งที่ประชาชนจะได้รับ โดยทำเป็นวงพูดคุยแบบปิด ไม่ให้เรื่องละเอียดอ่อนที่เป็นความลับรั่วไหลออกไป
วันนี้ (5 พ.ย. 67) นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา ตั้งข้อสังเกต MOU44 ระหว่างไทย-กัมพูชา แม้รัฐบาล นำโดย น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ จะออกมายืนยันว่า เกาะกูดเป็นของไทย แต่นายคำนูญก็สงสัยว่าแล้วพื้นที่ทางทะเลรอบเกาะกูดเป็นของไทยด้วยหรือไม่ เพราะมองว่าไทยควรต้องเป็นเจ้าของด้วย นายคำนูณยังตั้งข้อสงสัยการไปยอมรับเส้นเขตแบ่งปันผลประโยชน์ไทย-กัมพูชา ใต้เส้น 11 องศา ไปทางตะวันตก ใน #MOU44 ซึ่งมีพื้นที่กว้างมาก การยอมรับดังกล่าวอาจทำให้ไทยเสียผลประโยชน์ในอนาคต กรณีหากรุ่นลูกหลานจะเจรจาเขตแดน แต่พบว่ารุ่นบรรพบุรุษไปยอมรับเขตแบ่งปันผลประโยชน์แล้ว
ปมปัญหาเรื่องเกาะกูด หากไม่นับในสื่อออนไลน์ที่เริ่มพูดถึงกันมาสักพัก ยังถูกกล่าวถึงอย่างชัดเจน ในการแถลงข่าวของพรรคพลังประชารัฐสัปดาห์ก่อน ในวันที่โยนระเบิดปมคดีดิไอคอนกลับไปยังพรรคเพื่อไทย พวกเขายังพ่วงเรื่องอำนาจอธิไตยทางทะเล เกาะกูด และพื้นที่ทับซ้อนขึ้นมา จนนำไปสู่กระแสวิจารณ์กว้างขวางมากขึ้น หลังการประชุมนัดพิเศษเมื่อช่วงบ่ายวานนี้ (4 พ.ย. 67) นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร ยืนยันว่า ใน MOU 44 ไม่มีอะไรเกี่ยวกับเกาะกูด ไม่ได้เป็นการถกเถียงเรื่องเกาะกูด
กระแส-เรียกร้อง ให้รัฐบาล ยกเลิก "MOU-2544" รองนายกฯ ภูมิธรรม เวชยชัย ย้ำว่าสนธิสัญญาฝรั่งเศส ระบุชัด "เกาะกูด" เป็นของไทย สอดคล้องกับคำสัมภาษณ์ ของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ ที่ย้ำว่าทุกตารางนิ้วของ "เกาะกูด" เป็นของไทย พร้อมอธิบายว่า " MOU-2544" เป็นการลงนามของ "ไทย-กัมพูชา" ดังนั้น การจะยกเลิก ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่สามารถทำได้ แต่ถ้าจะยกเลิกจริง จะต้องเห็นพ้องต้องกันทั้งสองฝ่าย
ชวนคุยประเด็นร้อน...ดรามาฝ่ายการเมืองเสนอชื่อ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" นั่งประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย อธิบายชัด ๆ วิธีการเลือกกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ฟังอ.วีระ อธิบาย อำนาจกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย แล้ว"เกาะกูด" เขตแดนทางทะเลที่ทับซ้อน และแหล่งพลังงานใต้ทะเล สุดท้ายแล้วจะจบอย่างไร ?
กรณี MOU44 ระหว่างรัฐบาลไทย-กัมพูชา เมื่อปี 2544 ที่ขณะนี้หลายฝ่ายกังวลว่าอาจทำให้ไทยเสียดินแดนบริเวณเกาะกูดหรือไม่ เพราะกัมพูชาลากเส้นเขตแดนทับเกาะกูด รศ. ปณิธาน วัฒนายากร นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ มองว่าเรื่องนี้มีความล่อแหลม ไทยมีมุมที่ได้เปรียบและเสียเปรียบ จึงต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยกรณีเขาพระวิหาร แต่สำคัญที่สุดคือ ทั้ง 2 ประเทศควรเดินหน้าร่วมกันพัฒนาเรื่องพลังงาน
หนึ่งในนโยบายที่นายภูมิธรรม เวชยชัย กำชับเหล่าทัพ คือการดูแลแนวชายแดนให้เกิดความสงบเรียบร้อย ซึ่งเป็นเหตุผลให้ ผู้บัญชาการทหารเรือ ลงพื้นที่ติดตามภารกิจการดูแลความมั่นคงชายแดน ของหน่วยปฏิบัติการเกาะกูด จังหวัดตราด และกล่าวย้ำให้เชื่อมั่น ว่ากองทัพเรือ จะดูแลอธิปไตยและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างเต็มที่