ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

คนไข้ สปสช. 130 คนใช้แผ่นปิดกะโหลกไทเทเนียมฝีมือคนไทย

Logo Thai PBS
คนไข้ สปสช. 130 คนใช้แผ่นปิดกะโหลกไทเทเนียมฝีมือคนไทย
TCELS ติดตามผล "แผ่นปิดกะโหลกไทเทเนียม" ฝีมือคนไทยหลังนำไปใช้กับผู้ป่วยในระบบ สปสช.ปี 2567 รักษาแล้ว 130 คน ชี้อีก 1,000-4,000 คนรอการรักษา

วันนี้ (1 พ.ย.2567) นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักหลักประกันสุข ภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า หลังจากมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อ 4 ก.ย.2566 เห็นชอบการเพิ่มสิทธิประโยชน์บริการแผ่นปิดกะ โหลกศีรษะเฉพาะบุคคลผลิตจากโลหะไทเทเนียมด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ สำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดสมองและไม่สามารถใช้กะโหลกเดิมในการปิดศีรษะได้

โดยมีโรงพยาบาลติดต่อขอใช้เวชภัณฑ์แผ่นปิดกะโหลกศีรษะจากโลหะไทเท เนียม 3-5 แห่ง สะท้อนถึงการยอมรับในนวัตกรรมทางการแพทย์ที่คิดค้นจากนักวิจัยไทย และเป็นที่ต้องการของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วย

นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผอ.โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า โรงพยาบาลมีศักยภาพในการรักษาโรคทางสมองและระบบประสาทไขสันหลังได้ทุกประเภท ทั้งการบาดเจ็บทางสมอง เส้นเลือดโป่งพองในสมอง เนื้องอกในสมองและไขสันหลัง กระดูกคอสันหลังส่วนอกจนถึงสะเอวกดทับเส้นประสาท การระบายน้ำในช่องเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง

รวมถึงการผ่าตัดปิดกะโหลกด้วยนวัตกรรมแผ่นปิดกะโหลกศีรษะ จากโลหะไทเทเนียม นวัตกรรมแผ่นปิดกะโหลกไทเทเนียมนี้ผลิตด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ ที่ออกแบบให้เข้ากับกะโหลกของผู้ป่วยแต่ละราย ช่วยป้องกันความเสียหายของเนื้อสมอง ควบคุมความดันในสมองให้เป็นปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสฟื้นฟูสมรรถภาพและกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักหลักประกันสุข ภาพแห่งชาติ (สปสช.)

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักหลักประกันสุข ภาพแห่งชาติ (สปสช.)

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักหลักประกันสุข ภาพแห่งชาติ (สปสช.)

TCELS แผ่นปิดกะโหลกไทเทเนียม

โดย TCELS ได้ผลักดันนวัตกรรมแผ่นปิดกะโหลกไทเทเนียมนี้ ด้วยการต่อยอดจากการสนับสนุนนวัตกรรมไทยจากหน่วยสนับสนุนทุนอื่น เช่น หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ที่ได้สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งการเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพสูงและเท่าเทียมสำหรับประชาชน

ในปีงบ 2567 มีผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยนวัตกรรมนี้แล้ว 130 คน จำนวน 132 ชิ้น มูลค่ารวมกว่า 4.67 ล้านบาท คาดว่าจะช่วยผู้ป่วยที่รอการรักษาทั่วประเทศได้ถึง 1,000-4,000 คน

โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยวัยทำงาน และผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนนที่ได้รับบาดเจ็บศีรษะอย่างรุนแรง

สำหรับกะโหลกไทยเทเนียม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนการผลักดันนวัตกรรมไทยสู่การใช้ประโยชน์ นำโดยนางนริศา มัณฑางกูร ผอ.โปรแกรมบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์และหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลการให้บริการสิทธิประโยชน์ "แผ่นปิดกะโหลกไทเทเนียม" นวัตกรรมฝีมือคนไทย ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

พร้อมร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีแถลงข้อตกลงความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กับ สปสช.ในการเป็นหน่วยบริการรับส่งต่อโรคทางสมอง ระบบประสาทไขสันหลัง และการใช้นวัตกรรมแผ่นปิดกะโหลกศีรษะด้วยวัสดุไทเทเนียมและ PMMA

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง