ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

แก้ไฟป่าดอยหลวงเชียงดาว สู่ความยั่งยืน

ภูมิภาค
16 พ.ย. 67
14:06
251
Logo Thai PBS
แก้ไฟป่าดอยหลวงเชียงดาว สู่ความยั่งยืน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
“หัวใจสำคัญของพื้นที่สงวนชีวมณฑล คือ ต้องมี ‘มนุษย์’ อยู่ร่วมกับ ‘ธรรมชาติ’ มีการบริหารจัดการพื้นที่ และการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างยั่งยืน”

กลายเป็นโจทย์ของการบริหารพื้นที่ดอยหลวงเชียงดาว ที่ต้องมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมควบคู่กันไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยไม่แยก ‘มนุษย์’ ออกจาก ‘ธรรมชาติ’ ส่วนโจทย์ใหญ่ยอดดอยหลวงเชียงดาวไม่ไหม้ และการขยายบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรม และที่พักยังเป็นโจทย์สำคัญที่ท้าทาย

การปิดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงใหม่เมื่อ 26 เม.ย.2567 หลังจากเกิดเหตุไฟป่าและการบินสำรวจของนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ ร่วมกับ นายกริชสยาม คงสตรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) พบสภาพปัญหาไฟป่าและวงจรไฟป่าเกิดขึ้นในพื้นที่ทุกปี รวมถึงการขยายตัวของที่พักและการจัดการขยะ พบพื้นที่อาจมีการบุกรุกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

การแก้ปัญหากลายเป็นโจทย์ร่วมที่ต้องหาทางออกร่วมกัน และนำมาสู่การลงนามในบันทึกความร่วมมือ เมื่อวันที่ 9 ส.ค.2567 และสามารถเปิดการเข้าศึกษาพื้นที่ได้ 11 ก.ย.ที่ผ่านมา

นายพรนรินทร์ คุ้มทอง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว และผู้จัดการพื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยหลวงเชียงดาว ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอส ศูนย์ข่าวภาคเหนือ ถึงความคืบหน้าการเปิดพื้นที่ให้เข้าศึกษาธรรมชาติ และแนวทางการป้องกันไฟป่ายั่งยืน

นายพรนรินทร์ เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เปิดพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว มีผู้เข้ามาจากด่านเมืองคอง-นาเลา วันหนึ่งหลายพันคน แต่การขึ้นดอยหลวงเชียงดาว นับตั้งแต่เปิดจองมีคนจองมาเป็นจำนวนมาก แต่จำกัดขึ้นได้เพียงวันละหนึ่งร้อยคนเท่านั้น เพื่อรักษาระบบนิเวศน์

แต่จุดที่ยังมีนักท่องเที่ยวน้อยอยู่คือบริเวณ บ้านสันป่าเกี๊ยะ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม แม้จะเปิดเส้นทาง แต่ก็ยังเดินทางลำบาก แต่ก็ยังมีนักท่องเที่ยวเดินทางไป การเปิดให้เข้าพื้นที่ศึกษาธรรมชาติ สะท้อนถึงความสำคัญพื้นที่ว่า มีผู้สนใจเดินทางเข้ามาพื้นที่

แต่โจทย์สำคัญคือ จะทำอย่างไรให้คนและธรรมชาติ อยู่ร่วมกันได้ โดยเฉพาะปัญหาไฟป่า ยังเป็นโจทย์ท้าทายพื้นที่ โดยเฉพาะยอดดอยหลวงเชียงดาวแม้จะไม่เกิดไฟป่าลามไปถึงยอดดอย แต่การใช้ประโยชน์พื้นที่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเฝ้าระวัง

แผนป้องกันไฟป่าปีนี้ ?

หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว ระบุว่า เริ่มมีการพูดคุยตั้งแต่จบฤดู เพราะเป็นเงื่อนไขสำคัญการเปิด-ปิด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยแม้หมดไฟป่ายังต้องมีความร่วมมือทำงานร่วมกันต่อเนื่อง มีการพูดคุยหลายชุมชนดูแลป้องกัน เช่น ต้องทำแนวป้องกันไฟ สำคัญสุดต้องช่วยกันดับไฟ รวมถึงทำอย่างไรไม่ให้เกิดไฟป่า เพราะถ้าไม่เกิดไฟป่าก็ไม่ต้องมาดับ เป็นเรื่องที่ขุมชนต้องให้ความร่วมมือ

ถ้าชุมชนให้ความร่วมมือไม่บุกรุกขยายพื้นที่ และร่วมกันดูแลไฟป่า เชื่อมโยงกันในอนาคต ก็อาจมีหลักเกณฑชัดเจนเรื่องการให้พักของนักศึกษาธรรมชาติ จะช่วยให้เศรษฐกิจชุมชนดีขึ้น

ส่วนปัญหาแนวเขตและการบุกรุกพื้นที่ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว ย้ำว่า มีการสำรวจตาม ม.121 ถึงการครอบครองแนวเขตปัจจุบันตรวจสอบร่วมกันได้ระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้นำชุมชนในเรื่องการบุกรุก การขยายพื้นที่ซึ่งโอกาสจะขยายมีน้อยลงไปด้วย โดยให้ชุมชนช่วยกันดูแล

และล่าสุดก็ได้รับการสนับสนุนโดรนตรวจจับความร้อน ที่สามารถตรวจสอบพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น จะช่วยยับยั่งการบุกรุกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

จุดบอดและปัญหาในพื้นที่ ก็คลายๆจุดแข็ง คือ ความร่วมมือในบางชุมชน ซึ่งอาจเป็นพื้นที่ห่างไกล หรือขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการพื้นที่ เป็นหนึ่งในแผนที่จะต้องเร่งทำความเข้าใจในปีนี้

งบประมาณก็เป็นเรื่องสำคัญ ทั้งงบประมาณภาครัฐ ภาคเอกชนที่จะสนับสนุนเข้ามาจะต้องกระจายไปถึงชุมชน เครือข่ายไฟป่า ไปหนุนให้ชุมชนมีศักยภาพมากขึ้น การสร้างระบบจัดการร่วม แบ่งปันเป็นธรรม ร่วมกับทุกภาคส่วน

สำหรับการบริหารจัดการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวสู่ความยั่งยืน ณ ห้องประชุมอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการลงนามในมี 4 ประเด็นได้แก่
1.ทุกฝ่ายเห็นชอบข้อตกลงร่วมกันกำหนดมาตรการและแนวทางปฏิบัติ 3 เรื่อง ได้แก่ การจัดการไฟป่า,การจัดการพื้นที่บุกรุกใหม่ หลังปีพ.ศ. 2557 และการจัดระเบียบที่พักผู้ศึกษาธรรมชาติ.
2.การจัดการไฟป่า ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือในการป้องกันไฟป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งราษฎรที่มีแปลงที่ดินทำกินติดป่า ให้มีการทำแนวกันไฟทุกราย ผู้ไม่ปฏิบัติตามมาตรการต้องได้รับโทษตามกฎระเบียบชุมชน หากเกิดไฟป่าลุกลามเข้าสู่พื้นที่ป่าต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

3.การจัดการพื้นที่บุกรุกหลังปีพ.ศ. 2557 ชุมชนกับเจ้าหน้าที่ร่วมกันตรวจสอบจัดให้มีมาตรการแนวทางในการคืนพื้นที่ และฟื้นฟูพื้นที่ให้กลับมาสมบูรณ์ดังเดิม ผู้ไม่ปฎิบัติตามต้องถูกดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
4.การจัดระเบียบที่พักผู้ศึกษาธรรมชาติ ในระยะเร่งด่วนทุกฝ่ายเห็นชอบไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนรายของผู้จัดหาที่พักและจำนวนบ้านพัก จนกว่าจะมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน

สำหรับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงใหม่ความพยายามแก้ปัญหา

- ปี 2566 ช่วยกันนำ ฮ.ดับไฟ
- ปี 2567 เกิดไฟป่าซ้ำเดิม ภาพข่าวที่ออกไป “ดอยนาง” ท่านอธิบดี จึงลงพื้นที่ด่วน บ.สันป่าเกี๊ยะ เห็นรีสอร์ตกำลังก่อสร้างด้วยอิฐถือปูน ไม่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ชาวบ้านที่ตกลงไว้
- เมื่อบินไปดูต้นน้ำแม่กอก มีสวนส้มกำลังเผาป่า
- ร่องแม่ก๊ะ บ.สันป่าเกี๊ยะ มีการขยายพื้นที่หลังปี 2557
- ข้ามมา บ.นาเลา เห็นรีสอร์ตใหม่ 2-3 แห่ง ทั้งขยะหลังรีสอร์ต ในป่าอนุรักษ์มีความเสียหาย
- สถานการณ์ไฟป่าไม่ได้เลวร้ายเท่าปี 2566 แต่สถานการณ์ที่เห็นไฟป่าและการขยายพื้นที่ปี 2567 ทำให้ผู้บริหารระดับสูงปิดป่า เพื่อให้คุยกันเรื่องการจัดระเบียบ 3 เรื่องคือ ไฟป่า,การขยายพื้นที่หลังปี 2557,การขยายโฮมสเตย์ จะเอาอย่างไร?
- อธิบดีกรมอุทยานฯ ให้โจทย์ตกลงคุยกับชาวบ้าน ทำอย่างไรให้เกิดความร่วมมือ ข้อตกลงร่วมกันอย่างไร? ให้มีกรอบที่ชัดเจน “ตั้งคณะทำงานแนวทางท่องเที่ยวป่าเชิงอนุรักษ์” สร้างเศรษฐกิจชุมชน โดยปริมาณไม่มากเกินไป และสิ่งปลูกสร้างทิศทางเดียวกัน ที่สำคัญ “ประกอบอาชีพอย่างไรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”
- ประกาศควบคุมเข้า-ออก สุ่มตรวจ
- สุ่มตรวจตามพื้นที่ 3 หมู่บ้าน ห้ามรับนักท่องเที่ยว
- ประชุมร่วมส่วนราชการประกาศปิด
- 7 พ.ค.67 ผอ.สบอ.16 รับฟังปัญหาพื้นที่ ตกลงร่วมกัน 4 ข้อ โดยภาคประชาชนคุยกันคัดเลือกคณะกรรมการฯผู้ประกอบการท่องเที่ยว
- 8-9 พ.ค.67 รองอธิบดีฯลงพื้นที่ ตัวแทน 3 หมู่บ้านให้ข้อมูล
- 16 พ.ค.67 สบอ.16 ประชุมคืบหน้าแก้ปัญหา
- 18 พ.ค.67 ประชุมร่วมกับชาวบ้าน สำรวจพื้นที่ต้องสงสัยรุกพื้นที่ บ.สันป่าเกี๊ยะ
- 29 พ.ค.67 ประชุมถอดบทเรียนไฟป่า
- 10 มิ.ย.67 ประชุมฟังรับฟังความเห็น
- 11 มิ.ย.67 ตรวจสอบพื้นที่ไหม และดูการจัดการขยะ บ.สันป่าเกี๊ยะ กระบวนการชุมชนจัดการขยะ ทำเตาขยะไร้ควัน
- 12 มิ.ย.67 ประชุมคณะทำงาน
- 15 มิ.ย.67 ลงพื้นที่ บ.เลาวู
- 24 มิ.ย.67 ยื่นเอกสารขอความเห็น บ.เลาวู บ.สันป่าเกี๊ยะ
- 28 มิ.ย.67 ประชุมคณะทำงานฯ ตามอธิบดีแต่งตั้ง
- 1 ก.ค.67 ประชุมร่วม สส.เขต 6
- 8 ก.ค.67 ประชุมหารือ สส.เขต 6 และกลุ่มพรีมูฟ
- 12-13 ก.ค.67 คณะทำงานระดับกรมฯ ลงพื้นที่ บ.นาเลาใหม่ บ.เลาวู รับฟังความเห็นชาวบ้าน
- 19 ก.ค.67 คณะทำงานฟื้นฟูฯ สำรวจพื้นที่ถือครอง
- 2 ส.ค.67 คณะทำงานฯสำรวจบ้านพัก บ.สันป่าเกี๊ยะ
- 5 ส.ค.67 นำโดรนบินสำรวจ บ.เลาวู สำรวจพื้นที่ รูปแบบอาศัยบ้านพัก
- 7 ส.ค.67 นำโดรนสำรวจ บ.นาเลาใหม่

สำหรับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว มีพื้นที่กว่า 3 แสนไร่ ครอบคลุมพื้นที่ "ดอยหลวงเชียงดาว" ซึ่งยูเนสโกประกาศให้เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลเมื่อปี 2564 และ ถือเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งที่ 5 ของประเทศไทย

"ดอยหลวงเชียงดาว" ยังเป็น 1 ใน 7 กลุ่มป่าเป้าหมายของจังหวัดเชียงใหม่ในการบูรณาการร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน โดยภาครัฐ และ ภาคประชาชน ระดมกำลังคน และ งบประมาณเฝ้าระวัง พร้อมตั้งเป้าลดจุดความร้อนลงจากปีก่อนหน้า ร้อยละ 50 หรือ ไม่เกิน 284 จุด

แต่หลังสิ้นสุดฤดูไฟป่า กลับพบว่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว มีจุดความร้อนมากถึง 338 จุด หรือ ลดลงเพียงร้อยละ 40 ส่วนพื้นที่เผาไหม้มีเนื้อที่รวมกว่า 9 หมื่นไร่

รายงาน : ทีมศูนย์ข่าวภาคเหนือ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง