ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"นพดล" ชี้แจงกรณีเจรจา "MOU 44" ปัดยอมรับเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา

การเมือง
12 ธ.ค. 67
11:44
65
Logo Thai PBS
"นพดล" ชี้แจงกรณีเจรจา "MOU 44"  ปัดยอมรับเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"นพดล" ชี้แจงการเจรจาภายใต้กรอบ "MOU 44" ไม่ได้เป็นการยอมรับเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา ยืนยันไม่เสียดินแดนแม้ตารางมิลลิเมตรเดียว ยก 4 เหตุผลหากยกเลิก "MOU 44" เชื่อรัฐบาลจะดูแลผลประโยชน์ของชาติอย่างดี และการเจรจาจะดำเนินอย่างโปร่งใส

วันนี้ (12 ธ.ค.2567) นายสรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทยเพื่อ พร้อมด้วยนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ประธาน สส.พรรคเพื่อไทย นายนพดล ปัทมะ และนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย แถลงหลังประชุมพรรคเสร็จสิ้น

นายนพดล กล่าวว่า สส.มีการพูดคุยที่จะสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลอย่างเต็มที่เกี่ยวกับ MOU 2544 ซึ่งทุกรัฐบาลใช้เป็นกรอบในการเจรจาเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล (OCA) และในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ใช้ดำเนินการเจรจา ซึ่งเนื้อหาไม่ได้มีผลกระทบต่อเรื่องสิทธิด้านเขตแดน

นายสรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทยเพื่อ พร้อมด้วยนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ประธาน สส.พรรคเพื่อไทย นายนพดล ปัทมะ และนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ร่วมแถลงกรณี MOU 2544

นายสรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทยเพื่อ พร้อมด้วยนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ประธาน สส.พรรคเพื่อไทย นายนพดล ปัทมะ และนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ร่วมแถลงกรณี MOU 2544

นายสรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทยเพื่อ พร้อมด้วยนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ประธาน สส.พรรคเพื่อไทย นายนพดล ปัทมะ และนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ร่วมแถลงกรณี MOU 2544

รวมถึงกรณีที่มีการยื่นหนังสือต่อรัฐบาลเชื่อว่า รัฐบาลจะตอบข้อข้องใจของผู้ยื่นหนังสือได้ทุกประเด็นในเวลาที่เหมาะสม เรื่องนี้ไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องของกลุ่มพันธมิตรใหม่หรือกรณีของนายสนธิ ลิ้มทองกุลว่า เป็นศัตรูทางการเมือง เพราะถือว่าเป็นคนไทยที่มีข้อห่วงใยที่จะต้องรับฟัง แต่สิ่งหนึ่งที่ยอมรับไม่ได้คือการใช้ความเท็จในการขับเคลื่อนกระบวนการที่จะกระทบสถานภาพของรัฐบาล

โดยยกประเด็นที่มีการกล่าวหามาชี้แจงว่า การดำเนินการเจรจาตาม MOU 2544 ว่า เป็นการยอมรับเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา ยืนยันไม่ใช่ข้อเท็จจริงแต่เป็นความเข้าใจผิดและวิเคราะห์เองโดยสิ้นเชิง เพราะคนพวกนี้เคยวิเคราะห์ว่า ตนเองจะทำให้เสียดินแดนแต่สุดท้ายศาลก็พิพากษาว่าไม่ใช่ข้อเท็จจริงและจะต้องฟังกรมสนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งถือที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาล

นายนพดล ปัทมะ รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย อดีต รมว.ต่างประเทศ

นายนพดล ปัทมะ รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย อดีต รมว.ต่างประเทศ

นายนพดล ปัทมะ รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย อดีต รมว.ต่างประเทศ

โดยเฉพาะกรมสนธิสัญญาและกฎหมายยืนยันว่า MOU 2544 ไม่ได้ทำให้เสียดินแดนหรือยืนยันเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา ยืนยันรัฐบาลนี้จะไม่ยอมเสียดินแดนแม้แต่ตารางมิลลิเมตรเดียว

ขอให้สบายใจว่าการเจรจา ไทยจะไม่ยอมรับเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา หากการเจรจาล้มเหลวไปไม่ได้ก็ไม่กระทบสิทธิของไทยและกัมพูชาและถ้ายืนยันตามที่ประกาศเขตไหล่ทวีปในปี 2516 คือ ท่าทีของประเทศไทยยังไม่เปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นไม่มี MOU ขายชาติใด ๆ

และปฏิเสธข้อกล่าวหาว่า รัฐบาลจ้องเกี๊ยะเซียะกับกัมพูชาเพื่อนำน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมาแบ่งปันกันโดยไม่สนใจเรื่องเขตแดน ชี้เป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลความจริง หากซึ่งรัฐบาลไม่สามารถดำเนินการเช่นนั้นได้ตาม MOU 2544 ในข้อ 2 ที่ระบุไว้ว่า เรื่องเขตแดนกับเรื่องการพัฒนาร่วมกันจะต้องผูกกันเป็นเรื่องควบคู่ขนานกันไปไม่สามารถเจรจาเรื่องผลประโยชน์และแยกเรื่องเขตแดนไว้ภายหลังนั้นไม่สามารถที่จะทำได้

ดังนั้น ถ้ายกเลิก MOU 2544 ผลจะตามมาอย่างไรคือ 1. การอ้างสิทธิ์ในเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 และของไทยเมื่อปี 2516 จะยังคงอยู่ทุกประการ 2.พื้นที่ทับซ้อน 26,000 ตร.กม.จะยังคงอยู่ทุกประการ 3.เราจะพลาดข้อได้เปรียบที่จะผูกพันให้กัมพูชามาเจรจาตามกฎหมายระหว่างประเทศออกไป 4. กัมพูชาและไทยยังมีพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ 1982 ต้องเจรจาโดยสุจริตและต้องหาข้อยุติที่เป็นธรรม แม้ไม่มี MOU 2544 ก็ยังต้องเจรจากันต่อไป

เมื่อมีสะพานที่ต้องข้ามอยู่แล้วคุณจะไปพังสะพานแล้วบอกไปสร้างสะพานใหม่เพื่ออะไร ไม่สมเหตุสมผล

ทั้งนี้ ได้ให้ความมั่นใจว่าในฐานะ สส.พรรคเพื่อไทยมั่นใจว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ และ คณะรัฐมนตรีจะดูแลผลประโยชน์ของชาติอย่างดี และการเจรจาจะดำเนินอย่างโปร่งใสไม่ให้เกิดการเสียพื้นที่ และท้ายที่สุดไม่มีการงุบงิบ เพราะกระบวนการจะต้องผ่าน 5 กระบวนการกลั่นกรอง ที่ประชาชนจะมองเห็นทุกขั้นตอน ทั้ง 1.การเจรจาของคณะทำงานทางเขตแดนและพัฒนาร่วม 2.คณะอนุกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) 3. คณะกรรมการเทคนิคร่วมชุดใหญ่ 4. คณะรัฐมนตรี
และ 5. ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา

รัฐบาลไหนทำให้เสียดินแดนไม่มีทางอยู่เป็นรัฐบาลได้ และประชาชนจะไม่ให้อภัย อาจต้องติดคุกด้วย และรัฐบาลพรรคเพื่อไทยมีเกียรติประวัติในการปกป้องดินแดนจะรักษาดินแดนของเราอย่างดีที่สุด ในการเจรจายืนยันจะรักษาได้ทั้งดินแดนและความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน

อ่านข่าว : ปัดฝุ่น "MOU44" พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา 

กต.แจงปมพื้นที่ทับซ้อน MOU44 คนไทยต้องเห็นชอบก่อน  

รู้หรือไม่? “MOU44” มีที่มาอย่างไร และทำไมควรจะยกเลิก  

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง