ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ
ติดตาม Thai PBS

20 ปีสึนามิ จุดเปลี่ยนรับมือ "ภัยพิบัติ"

ภัยพิบัติ
18 ธ.ค. 67
16:35
0
Logo Thai PBS
20 ปีสึนามิ จุดเปลี่ยนรับมือ "ภัยพิบัติ"

วันนี้ (18 ธ.ค.2567) จากเสวนา รำลึก "20 ปี สึนามิ จุดเปลี่ยน…ภัยพิบัติ" ชวนร่วมรำลึก "20 ปี สึนามิ จุดเปลี่ยน…ภัยพิบัติ" เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี เหตุคลื่นยักษ์สึนามิ ถล่ม 6 จังหวัดทางภาคใต้ของไทย เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2547 

นายไมตรี จงไกรจักร์ ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท และอดีตผู้ประสบเหตุสึนามิ จ.พังงา กล่าวว่า หลังเกิดเหตุสึนามิพัดถล่มชายฝั่งอันดามันของไทย ภาพคือมีเห็นศพจำนวนมากกองระเกะระกะ และมีซากปรักหักพังเหมือนโดนนิวเคลียร์ ที่ยังเหลือคือบ้าน 2 ชั้น ส่วนบ้านชั้นเดียวพังไปหมด และนึกว่าอาจจะเกิดคลื่นอีกหรือไม่

ตัดสินใจเก็บเศษขยะที่ลอยมาต่อแพ นำศพ และคนพิการขึ้นแพ โชคดีที่เจอศพของพ่ออยู่ในบ้าน จึงนำศพออกมาได้ เมื่อเจอคนเจ็บเริ่มคลานเข้ามา ก็รู้สึกว่าโชคดีคนไม่ตายหมด ยังมีคนที่มีชีวิตรอดอยู่ จึงหนีต่อ
นายไมตรี จงไกรจักร์ ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท และอดีตผู้ประสบเหตุสึนามิ

นายไมตรี จงไกรจักร์ ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท และอดีตผู้ประสบเหตุสึนามิ

นายไมตรี จงไกรจักร์ ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท และอดีตผู้ประสบเหตุสึนามิ

ไมตรี ยอมรับว่ายุ่งไปหมดจริง ๆ ต้องการหนีเข้าป่า ขึ้นเขา จากนั้นเมื่อไปถึงโรงพยาบาล มีข่าวว่าแก๊สจะระเบิดก็หนีไปที่ตะกั่วป่า มีคนตะโกนว่า น้ำมา ๆ ก็วิ่งหนี ซึ่งจริงๆ คือ น้ำดื่ม ซึ่งตอนนั้นสับสนไปหมด

ขณะนั้นผมเป็นสมาชิก อบต.ด้วย ก็นำไปศพพ่อไปที่วัด และโทรให้ญาติมารับศพพ่อไปบำเพ็ญกุศล ทุกคนไม่คิดว่าศพจะมาก รถกู้ภัยก็ไปแถวเขาหลัก ศพเข้ามาก็ช่วยเก็บ ปักไม้ไว้ที่ศพให้เขามาเก็บ เดินช่วยหาศพ 

จนมีการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือ เริ่มจากจัดตั้งห้องสุขา ซึ่งขณะนั้นชาวบ้านต้องการห้องน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่นอกเหนือจากปัจจัย 4 ทั้งที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษ โรค และเมื่อจัดตั้งได้ก็ทำให้มีผู้มารวมกันมากขึ้น

ศ.กิตติคุณ ดร.ปัญญา จารุศิริ นักธรณีวิทยาแผ่นดินไหว

ศ.กิตติคุณ ดร.ปัญญา จารุศิริ นักธรณีวิทยาแผ่นดินไหว

ศ.กิตติคุณ ดร.ปัญญา จารุศิริ นักธรณีวิทยาแผ่นดินไหว

ฉีกตำราคลื่นสึนามิมหาสมุทรอินเดีย

ศ.กิตติคุณ ดร.ปัญญา จารุศิริ นักธรณีวิทยาแผ่นดินไหว กล่าวว่า วันแรกหลังเหตุการณ์เพียงหนึ่งวันคือ 28 ธ.ค.2547 ทีมนักธรณีวิทยาจากจุฬาลงกรณ์ลงพื้นที่ ภาพที่เห็นคือความเสียหายจากสึนามิที่กลืนทุกอย่างราบเป็นหน้ากลองรู้สึกน่ากลัว

ยอมรับว่าโอกาสเกิดสึนามิในมหาสมุทรอินเดียไม่ปรากฎในหนังสือและตำราเรียนที่เคยเป็นองค์ความรู้ ที่พบความเสี่ยงเพียงรอบมหาสมุทรแปซิฟิกไม่เลยลึก เข้ามาถึงมหาสุมทรอินเดีย

อดีตนักวิชาการแผ่นดินไหว ระบุว่า หากเทียบเคียงโอกาสคลื่นยักษ์ขนาดใหญ่ในไทยคงมีเพียงเคสคลื่นแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราชเมื่อปี 2505 แต่ไม่ใช่อิทธิพลจากพายุ เพราะสึนามิเป็นอิทิพลภายใต้แผ่นเปลือกโลก

คำถามคือหากรู้ว่าถ้ามีโอกาสเกิดสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย จะมีคนตายมากมายหรือไม่ พร้อมคำถามว่าทำไมชาวเลถึงรอดตาย เพราเขาถูกสอนให้เห็นว่าหากมีคลื่นยักษ์ ต้องขึ้นไปที่ระดับน้ำทะเลสูงกว่า และนั่นคือสิ่งที่รับรู้เราปล่อยให้ซ้อมด้วยการให้คนวิ่งอย่างเดียวไม่ได้

ส่วนคำถามว่า จุฬาทำอะไรต่อในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นสิ่งที่ตั้งโจทย์ คือตอนนั้นอยู่หน่วยวิจัยธรณีวิจัยแผ่นดินไหว จึงต้องหาคำตอบว่ามีโอกาสจะเกิดอีกหรือไม่ในอนาคต มันไม่ง่าย เพราะแม้แต่แผ่นดินจากรอยเลื่อนยังหา

เสวนา รำลึก

เสวนา รำลึก

เสวนา รำลึก "20 ปี สึนามิ จุดเปลี่ยน…ภัยพิบัติ"

นักวิชาการ บอกว่า หาคำตอบว่าสึนามิ พาตะกอนทราย ถ้าเคยเกิดในอดีตแสดงว่ามีตะกอนทรายแบบสึนามิอยู่ข้างใต้ และทำไมญี่ปุ่นต้องตั้งชื่อว่าสินามิ คลื่นท่าเรือ หมายถึงเกิดประจำ แต่ไม่ใช่ว่าทุกจุดจะมีความสามารถในการกักตะกอน แต่ไม่มีทุกจุดที่จะกักตะกอน

จากการวิจัยข้อมูลว่าที่เกาะพระทอง มีต้นแสม ต้นโกงกางที่เก็บตะกอน และสำรวจจนได้คำตอบว่าครั้งแรกเคยเกิดสึนามิ เมื่อ 600 ปี ขนาด 9 และมีการวิจัยต่อถึงโอกาสจะเกิดขึ้นในอนาคตในราว 400 ปี สอดคล้องหัวเกาะอาเจะห์ ของอินโดนีเซีย 

มองว่าบทเรียนจากญี่ปุ่น พบว่ากำแพงยักษ์ไม่สามารถป้องกันได้หรือไม่ ถอดแบบฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ทำกำแพงไม้แบบป่าโกงกางจะช่วยแรงจากคลื่นจะลดลง
พญ.คุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ อดีต ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์

พญ.คุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ อดีต ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์

พญ.คุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ อดีต ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์

"ภัยพิบัติ" ต้องบริหารแบบพิเศษ

"ขณะนั้นเป็นเวลา 1 ปีเศษที่ตั้งสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เมื่อทราบถึงเรื่องนี้ว่า มีผู้เสียชีวิต 500 คน และไม่มีหมอนิติเวชในพื้นที่ จึงขออนุญาตรัฐมนตรีในการลงพื้นที่ 8 คนไปที่ จ.ภูเก็ต ก่อนและเห็นถึงความยุ่งเหยิง ของพื้นที่ และได้ข้อมูลว่า จ.พังงา มีผู้เสียชีวิต 10 เท่าของ จ.ภูเก็ต รวมถึงการสื่อสารที่ล่ม จึงทำให้การสื่อสารยากลำบาก จากนั้นจึงเดินทางไปยัง จ.พังงา"

แพทย์หญิงคุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ อดีต ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า กรณีสึนามิไม่ควรมองเป็น "ภัยพิบัติ" แต่ควรมองเป็น "สถานการณ์วิกฤต" จะช่วยให้เข้าใจปัญหามากขึ้น เพราะมีทั้งเรื่องคน เรื่องสัตว์ และสิ่งของ 

เพราะเวลานั้นระบบรัฐต้องรอคำสั่ง แต่ตนเองรู้ว่าคนในพื้นที่ต้องการอะไร และได้ขอลงพื้นที่ ซึ่งปัญหามีให้แก้ทุกวัน เช่น ปัญหาระบบการสื่อสาร และค่อย ๆ แก้ปัญหาไปทีละจุด

ขณะนั้นปัญหาคือรัฐมีความไม่พร้อม เช่น นายกรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีดูเป็นจังหวัด แต่พื้นที่ที่ต้องบริหารจัดการมีมาก หรือ ปภ.ก็ไม่รู้ยอดผู้เสียชีวิตได้ ตำรวจก็มองเป็นเรื่องอาชญากรรม

ทุกอย่าง จึงเป็นการแก้ไขปัญหารายวัน และค่อย ๆ แก้ปัญหาไป โดยต้องลดความเสี่ยง และอยากให้ถอดบทเรียน ซึ่งถ้าถอดบทเรียนดีจะได้ประโยชน์ 

แพทย์หญิงคุณหญิง พรทิพย์ กล่าวว่า กรณีสึนามิผู้เสียชีวิตต้องจัดการภายหลังแต่ต้องเร็วในการวางระบบ ไม่ต้องรีบคืนศพ เห็นได้จากขณะนั้นมีอาสาสมัครจำนวนมาก และอาสาอาจมีความขัดแย้งกันบ้าง ทำให้การจัดการศพมีปัญหา เช่น จัดการศพครอบครัวเดียวกันอยู่คนละวัด สิ่งเหล่านี้ควรถอดบทเรียนอย่างยิ่ง

ดังนั้น ปัญหาการบริหารจัดการต้องเป็นการบริหารแบบพิเศษ ไม่ใช่การบริหารแบบโครงสร้างตามปกติ เช่น เรื่องการขอไฟฟ้าใช้ในพื้นที่ ขณะนั้น ต้องขอตามขั้นตอนซึ่งค่อนข้างล่าช้า แต่ที่ได้ไฟมาใช้ทันที คือ ได้ขอไปยัง นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ก็ได้ทันที เพราะเป็นเพื่อนกัน ดังนั้น ควรมีการจัดการอบรมการบริหารสถานการณ์พิเศษ แก่ผู้นำในระดับต่าง ๆ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง