ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ" กระตุ้นเศรษฐกิจ (ไม่) สะเทือน ผู้ประกอบการ ?

เศรษฐกิจ
24 ธ.ค. 67
15:54
310
Logo Thai PBS
"ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ" กระตุ้นเศรษฐกิจ (ไม่) สะเทือน ผู้ประกอบการ ?
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ใน 4 จังหวัดพื้นที่เศรษฐกิจ เมื่อวานนี้ (23 ธ.ค.2567) หลังจากมีการขยับเข้า-ออกหลายครั้ง จนได้ข้อสรุปเคาะตัวเลขอยู่ที่ 400 บาท/วัน ปรากฏการณ์ฝนตกไม่ทั่วฟ้า ทำให้เกิดคำถาม ว่า จะทำให้แรงงานไทยสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ ท่ามกลางมรสุมเศรษฐกิจหรือไม่ และหากปรับขึ้นค่าแรงแล้ว นายจ้างจะยังจ้างงานอีกหรือไม่ 

นับแต่ปี 2565 คณะกรรมการค่าจ้างจะมีมติปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจาก 313 – 336 บาทต่อวัน เป็น 328 – 354 บาทต่อวัน แล้วแต่พื้นที่ เพียงอีก 2 ปีให่หลังกว่าคณะกรรมการบอร์ด 3 ฝ่าย คือ นายจ้าง ลูกจ้างและผู้ประกอบการจะมีความเห็นตรงกันได้ ก็ใช้เวลาต่อรองนาน จนกระทั่ง เมื่อช่วงค่ำวานนี้ ( 23 ธ.ค.) ได้มีมติปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ในพื้นที่ 4 จังหวัด 1 อำเภอ ได้แก่ จ.ภูเก็ต, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง และ สุราษฎร์ธานี เฉพาะ อ. เกาะสมุย ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ให้มีอัตราลดหลั่นลงมา มีผลวันที่ 1 ม.ค. 2568 นี้

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุว่า การปรับขึ้นค่าแรง ไม่เกี่ยวกับการที่บริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ ทยอยปิดกิจการ และอย่ามองว่า ปีนี้มีคนถูกปลดจากงาน มีบริษัทกี่บริษัทปิดไปแล้ว แต่ทำไม ไม่มีใครเคยพูดว่า ปีนี้มีการจ้างงานเพิ่มเท่าไหร่ ในสิ่งที่เป็นธุรกิจใหม่ ๆ มีแต่คนโจมตีว่าการขึ้นค่าแรงทำให้ธุรกิจปิดกิจการ แต่สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการประกาศค่าแรงด้วยซ้ำ

แม้ลูกจ้างยังเฮได้ไม่เต็มปาก แต่การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ก็คำถามสำคัญตามมาว่า ผลลัพธ์ที่ได้ คือ"กระตุ้นเศรษฐกิจ (Stimulus)" เพิ่มเม็ดเงินให้ลูกจ้างมีศักยภาพในการซื้อ (Purchasing) เพิ่มขึ้น หรือส่งผลกระทบ (Impact) ต่อ "ผู้ประกอบการ" ที่ต้องแบกรับค่าจ้างที่ต้องจ่ายอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: ThaiPBS Media Stock

ที่มา: ThaiPBS Media Stock

ที่มา: ThaiPBS Media Stock

บทเรียน "ต่างแดน" ขึ้นค่าแรงไม่ช่วย "กระตุ้นเศรษฐกิจ"

จากบทความวิจัย Research: When a Higher Minimum Wage Leads to Lower Compensation เขียนโดย ฉิวผิง ยู (Qiuping Yu) และคณะ ตีพิมพ์ใน Havard Business Review ชี้ว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในแต่ละครั้งของรัฐบาล มลรัฐ (Federal Government) ในสหรัฐอเมริกา แม้ไม่ได้กระทบอัตราการจ้างงาน แต่กลับทำให้ "ชั่วโมงการทำงาน (Working Hours)" ของลูกจ้างลดลง หากขึ้นค่าแรง 1 ดอลลาร์สหรัฐ ลูกจ้างจะถูกลดชั่วโมงการทำงานลงร้อยละ 11.6 จากที่เคยทำงานอยู่ และจะสูญเสีย "สวัสดิการพนักงาน (Labour Benefits)" เพิ่มขึ้นด้วย

กล่าวคือ ผู้ประกอบการสามารถใช้ช่องว่างทางกฎหมายกับลูกจ้างได้ เมื่อ "ต้นทุนการจ้างงาน" เพิ่มขึ้นจากนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แต่นายจ้างจะไปลดชั่วโมงการทำงานและสวัสดิการของลูกจ้างลง เช่น เดิมลูกจ้างทำงานวันละ 8 ชั่วโมง พร้อมสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล อาจจะเหลือเวลาทำงานเพียง 5 ชั่วโมง และไม่ได้รับค่ารักษาพยาบาลใด ๆ เลย หรืออาจจะจ้างงานเพิ่มเป็น "2 กะ" ในระยะเวลา 8 ชั่วโมง โดยไม่ให้สวัสดิการ

ที่มา: ThaiPBS Media Stock

ที่มา: ThaiPBS Media Stock

ที่มา: ThaiPBS Media Stock

หมายถึงค่าแรงขั้นต่ำส่งผลเสีย (Negative Impact) ต่อตลาดแรงงานและลูกจ้างด้วยซ้ำไป

ทั้งนี้ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ระบุว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ อุปทาน (Supply) ของตลาดแรงงานมีมากขึ้น ทำให้ อุปสงค์ (Demand) ของผู้ประกอบการลดลง การจะทำให้เกิดดุลยภาพ (Equilibrium) ได้นั้น นายจ้างและลูกจ้างต้อง "ถอยคนละก้าว" คือ นายจ้างลดชั่วโมงการทำงานและสวัสดิการ ส่วนลูกจ้างก็ต้องยอมทำตามเพื่อให้มีงานทำ และเมื่อรายได้จากการทำงานลดลงจากจำนวนชั่วโมงที่ลดลง ผลกระทบต่อเนื่องที่ตามมา คือ "กำลังซื้อ" ต่อหัวของแรงงานก็จะลดลงตามด้วย เศรษฐกิจก็จะไม่เติบโต ส่งผลให้เกิดสภาวะชะงักงัน (Stagnation)

ที่มา: Making the Minimum Wage Work: An Examination of the Economic Impact of the Minimum Wage

ที่มา: Making the Minimum Wage Work: An Examination of the Economic Impact of the Minimum Wage

ที่มา: Making the Minimum Wage Work: An Examination of the Economic Impact of the Minimum Wage

อย่างไรก็ตาม บทความวิจัย Making the Minimum Wage Work: An Examination of the Economic Impact of the Minimum Wage เขียนโดย สตีฟ คาลันดรินโญ (Steve P. Calandrillo) และ เทเลอร์ ฮัลเพริน (Taylor Halperin) ศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน (University of Washington School of Law) แย้งว่า ปัจจุบัน การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไม่ได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอะไรมากมาย เพราะนายจ้างยินดีที่จะจ่ายเงินเดินสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ สำหรับแรงงานที่ทำได้หลากหลาย (Multi-skilled Labour)แต่ปัญหาอยู่ที่ "การจัดเก็บภาษี (Revenue)" จะลำบากมากขึ้น

ต้องไม่ลืมว่า การจ้างงานในอัตราเงินเดือนสูงมาก ๆ แม้จะมีการเก็บภาษีใน "อัตราก้าวหน้า (Progressive Taxation)" ใครรายได้มาก จ่ายมาก รายได้น้อย จ่ายน้อย แต่ก็มีสิทธิในการ "ลดหย่อนภาษี (Deduction of Expenses)" ที่ไม่น้อยเช่นกัน หมายความว่า การมุ่งเก็บภาษีขนานหนักจากแรงงานเปี่ยมคุณภาพเพียงคนเดียว ไม่ตอบโจทย์การนำเงินเข้ารัฐบาล เพื่อดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่จะเพิ่ม GDP ของประเทศได้

ที่มา: ThaiPBS Media Stock

ที่มา: ThaiPBS Media Stock

ที่มา: ThaiPBS Media Stock

ขณะเดียวกัน นโยบายเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อหวังให้เกิดรายได้ในมือของแรงงาน เพื่อเก็บภาษีที่เพิ่มมากขึ้นในภายหลัง ไม่ได้ตอบโจทย์ผู้ประกอบการ เหมือนตกอยู่ในสภาวะหวานอมขมกลืน (Bittersweet) ของไตรภาคี (รัฐบาล ผู้ประกอบการ และแรงงาน) 

ดังจะเห็นได้ว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ มีผลกระทบเชิงลบ "ทั้งขึ้นทั้งล่อง" ต่อเศรษฐกิจของประเทศ อย่างแรก ในมุมของนายจ้าง สามารถใช้ช่องว่างเพื่อทำให้ธุรกิจตนเองไม่เสียเปรียบนโยบายภาครัฐ  โดยการปรับลดชั่วโมงทำงานและสวัสดิการลง หรือไม่ก็จ้างเฉพาะแรงงานมากทักษะ เพื่อให้คนเดียวทำได้ทุกอย่างแทนการจ้างจำนวนมาก หรือ รัฐบาลหวังเพิ่มค่าแรงเพื่อเก็บภาษีเพิ่มขึ้น แต่กลับไม่ได้รับผลตอบแทนเท่าที่ควร ดังนั้นจากการกระทำของนายจ้าง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจึงแทบเป็นไปไม่ได้

ที่มา: ThaiPBS Media Stock

ที่มา: ThaiPBS Media Stock

ที่มา: ThaiPBS Media Stock

"อาเซียน" ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เจอปัญหา "งานไม่เดิน"

กรณีศึกษาสหรัฐฯ อาจเป็นสิ่งไกลตัวสำหรับแรงงานในประเทศไทย เนื่องจากมีบริบทและวิธีการทำงานที่ต่างกัน สหรัฐฯ จ่ายค่าแรงเป็น "รายชั่วโมง (Hourly)" ส่วนไทยจ่ายค่าแรง "รายเดือน (Monthly)" หากศึกษาจากเพื่อนบ้าน เช่น "ASEAN" อาจสมเหตุสมผลมากกว่า

ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยธนาคาร OCBC ระบุว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำใน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้น "โดยตรง" เพราะการเติบโตมาจาก "การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI)" ที่เล็งเห็นว่าศักยภาพของ "ตลาด" ในประเทศเหล่านี้มีมากที่สุดในอาเซียน กลับกัน การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทำให้แรงงาน "ขี้เกียจ" มากยิ่งขึ้น

ในมาเลเซีย ค่าแรงขั้นต่ำมีอัตราการเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 5-8 ต่อปี แต่ "ผลลัพธ์การทำงานเฉลี่ยต่อหัวของแรงงาน (Output per Workers)" กลับอยู่ที่อัตราเติบโตร้อยละ 2-3 ต่อปี ส่วนอินโดนีเซีย อัตราการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 7-9 ต่อปี แต่ Output per Workers อยู่ที่ร้อยละ 2-3 เพียงเท่านั้น

ที่มา: OCBC

ที่มา: OCBC

ที่มา: OCBC

หมายความว่า ยิ่งค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นมากเท่าไร ประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานมาเลเซียและอินโดนีเซียกลับคงที่หรือมีแนวโน้มที่จะลดลงมากเท่านั้น

ส่วนเวียดนาม แม้อัตราค่าแรงขั้นต่ำจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1-2 ต่อปี แต่ผลลัพธ์การทำงานเฉลี่ยต่อหัวของแรงงานกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 7-8 ต่อปี เป็นภาพสะท้อนอย่างดีว่า การตะบี้ตะบันขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอย่างเดียว อาจไม่ได้ตอบโจทย์ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการทำงานของแรงงานเสมอไป

ที่มา: OCBC

ที่มา: OCBC

ที่มา: OCBC

ธุรกิจไทย "จ่ายเกินขั้นต่ำ" นายจ้างรายย่อย กระทบหนัก

ดังกล่าว เป็นกรณีศึกษาจากต่างประเทศ หากย้อนกลับมาพิจารณาบริบทของไทย การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ มีผลกระทบอย่างไร ฝ่ายใดได้หรือเสียประโยชน์มากกว่ากัน

ข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม เรื่อง การกระจายของค่าจ้างในระดับต่าง ๆ ชี้ให้เห็นว่า ผู้มีรายได้ "เกินกว่า 575 บาทต่อวัน" มีอัตราเพิ่มขึ้นในระยะเวลา 12 ปี (2545 - 2567) มากกว่า 4 เท่า โดยปี 2567 อยู่ในสัดส่วนเกือบร้อยละ 50 ของจำนวนผู้ประกันตนทั้งหมด ขณะที่ผู้มีรายได้ "ต่ำกว่า 300 บาทต่อวัน" กลับมีอัตราตำ่กว่าร้อยละ 15 ของจำนวนผู้ประกันตนทั้งหมด หมายความว่า ผู้ประกอบการไทย "จ่ายเกินค่าแรงขั้นต่ำ" มานานแล้ว

ที่มา: สำนักงานประกันสังคม

ที่มา: สำนักงานประกันสังคม

ที่มา: สำนักงานประกันสังคม

จากชุดข้อมูลดังกล่าว ไม่สามารถระบุ "จำนวนวันทำงาน" ของผู้ประกันตนได้ แต่สามารถอนุมานได้ว่า หากอยู่ในระบบประกันสังคม ต้องเป็นผู้ที่สังกัดบริษัทหรือหน่วยงานอย่างถาวร หรือทำงานลักษณะฟรีแลนซ์หรือรับจ้างนอกระบบเศรษฐกิจ ปัญหาจึงมีอยู่ที่ว่าเมื่อผู้ประกอบการไทย "จ่ายเกินเพดาน" มานาน การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท จะส่งผลกระทบอย่างไร

ข้อมูลจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า จำนวนแรงงานทั้งหมดประมาณ 11.9 ล้านคน ในปี 2567 ส่วนใหญ่สังกัด "ธุรกิจขนาดใหญ่ (Big Business)" กว่า 8.82 ล้านคน หรือ ร้อยละ 74.11 ของจำนวนแรงงานทั้งหมด ซึ่งได้รับค่าแรงที่มากกว่า 400 บาท มากถึง 2.9 ล้านคน หรืออัตราร้อยละ 33 จากจำนวนแรงงานในบริษัทยักษ์ใหญ่

ตรงข้าม ในส่วนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่มีแรงงาน 3.09 ล้านคน กลับมีแรงงานที่ได้รับค่าแรงมากกว่า 400 บาทเพียง 1.11 ล้านคน หรือร้อยละ 36 จากจำนวนแรงงานใน SMEs ทั้งหมด

หรือหากมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจริง ๆ SMEs จะได้รับผลกระทบทั้งหมด เนื่อง จากสัดส่วนของแรงงานที่รายได้ต่ำกว่า 400 บาท มีมากถึง 2 ล้านกว่าคน "การเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน" อาจส่งผลกระทบร้ายแรง ทำให้การเกิด "เลิกจ้างครั้งใหญ่ (The Great Lay-off)" และกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ในแง่ขาดกำลังซื้อ แต่อาจไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรม เพราะไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหลักที่จ่ายแบบเต็มสตรีม

ที่มา: Is Value Added Tax reduction a suitable policy for Thailand?

ที่มา: Is Value Added Tax reduction a suitable policy for Thailand?

ที่มา: Is Value Added Tax reduction a suitable policy for Thailand?

บทความ Is Value Added Tax reduction a suitable policy for Thailand? เขียนโดย ฐิตานันท์ วงศ์ประภารัตนา พบว่า ประเทศพึ่งพา "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" และ "ภาษีเงินได้นิติบุคคล" รวมถึง "ภาษีอื่น ๆ" กว่าร้อยละ 70-80 ของภาษีทั้งหมด หากขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs ที่จะต้องเสียภาษีครบทั้ง 3 รูปแบบ และได้รับผลกระทบเต็ม ๆ หากขึ้นค่าแรงข้นต่ำ และธุรกิจเหล่านี้เกิดล้มขึ้นมา นอกจากการจ้างงานจะไม่เกิดขึ้น รัฐบาลจัดเก็บภาษีไม่ได้ ยังจะลุกลามไปถึงบริษัทขนาดใหญ่ ที่ถึงแม้จะอุ้มแรงงานได้ แต่ก็จะสูญเสียตลาดในประเทศ ในการขายสิ้นค้าและบริการตามมาด้วย

ที่มา: Is Value Added Tax reduction a suitable policy for Thailand?

ที่มา: Is Value Added Tax reduction a suitable policy for Thailand?

ที่มา: Is Value Added Tax reduction a suitable policy for Thailand?

ข้อเสนอนักวิชาการ "ปรับขึ้นค่าแรง + มาตรการเสริม"

การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แม้จะยังไม่ครอบคลุมทั้งประเทศ แต่จากกรณีศึกษาในต่างประเทศ รวมถึงบริบทธุรกิจและแรงงานไทย จะพบว่า "มีผลกระทบเชิงลบ" ที่ต้องเฝ้าระวังอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะ SMEs ที่อาจจะต้องมีการเลิกจ้างระดับมหาศาล จากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เนื่องจากไม่สามารถแบกรับภาระค่าจ้างที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าว

บทความวิจัยของ สตีฟ คาลันดรินโญ และ เทเลอร์ ฮัลเพริน เสนอทางออกไว้ 6 แนวทาง ดังนี้

  1. ต้องค่อย ๆ ปรับขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ควรปรับทีเดียวในอัตราสูง อย่างน้อย ๆ ต้องวางแผนระยะยาวและต่อเนื่อง แม้จะเปลี่ยนรัฐบาลหรือผู้นำประเทศไปหลายต่อหลายคน นโยบายขึ้นค่าแรงต้องยังอยู่
  2. นับรวมรายได้เสริมจากกำารทำงานเป็นรายได้ทั้งหมด หมายความว่า หากพนักงานไดทิปหรือค่าล่วงเวลา ให้เหมารวมไปเป็นค่าแรง เพื่อจัดเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย และมาจัดสรรเปนสวัสดิการจากภาครัฐในภายหลัง ไม่ต้องหวังพึ่งน้ำบ่อหน้าเรื่องการขึ้นค่าแรง

  3. งดเว้นขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเยาวชน หากบรรดาเด็ก ๆ ทำงานพาร์ทไทม์ หรือ ทำงานเต็มเวลา ให้นับเป็นรายได้เสริม ต้องจ่ายในอัตราที่มากกว่าปกติ เพื่อให้พวกเขาจุนเจือตนเองและครอบครัวได้ และเมื่อเข้าสู่วัยทำงาน จะได้มีเงินในบัญชีมากพอที่จะไม่เลี่ยงภาษี

  4. งดเว้นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อทำให้กลุ่มธุรกิจเหล่านี้สามารถตั้งตัวได้ และมีกำไรมากพอที่จะขยับสถานะเป็นธุรกิจที่มั่นคงมากพอที่จะสอดรับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

  5. ดึงดูดใจด้วยเอกสิทธิ์ทางภาษี เช่น หากบริษัทใดเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำตามนโยบายภาครัฐ จะงดเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้อย่างต่ำ 1 ปี หรือหากแรงงานที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้น ต้องการลงทุนในตราสารหนี้หรือพันธบัตรรัฐบาล จะเพิ่มผลตอบแทน 1.5 เท่า หรือลดราคาให้

  6. เลือกขึ้นค่าแรงขั้นต่ำตามภาระที่แรงงานมี เช่น ในเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ จะได้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมากกว่าเมืองรองหรือเมืองชนบท เพราะ ค่าเช่าที่พัก ค่าอาหาร และค่าเดินทาง ต้องเสียไปมากกว่าหลายเท่าตัว

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของไทย ยังไม่เกิดขึ้นครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด มีแต่เพียงข้อเสนอและพื้นที่นำร่อง ไม่สามารถฟันธงได้ว่า หากปรับขึ้นทั้งแผ่นดินจริง ๆ จะมีผลกระทบอะไรตามมาเป็นระลอก หรืออาจจะมีอะไรที่คาดไม่ถึงตามมาอีก ก็เป็นได้

ที่มา: ThaiPBS Media Stock

ที่มา: ThaiPBS Media Stock

ที่มา: ThaiPBS Media Stock

แหล่งอ้างอิง

อ่านข่าว

ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทุกจังหวัด สูงสุด 400 ใน 4 จังหวัด 1 อำเภอ

กว่าจะถึงวัน ปรับขึ้น "ค่าแรง" วันละ 400 บ. รัฐบาลเพื่อไทย 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง