คณะกรรมการค่าจ้าง หรือ บอร์ดไตรภาคี ประชุมหารือค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ 1 ต.ค. ขณะที่ผู้ประกอบการและกลุ่มนายจ้าง ระบุเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว ด้านนักวิชาการมอง เป็นการตอบโจทย์นโยบายหาเสียง
พรุ่งนี้ (14 พ.ค. 67) จะมีการประชุมของคณะกรรมการค่าจ้าง หรือ ไตรภาคี เกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาท ต่อวัน ซึ่งวันนี้ (13 พ.ค.) ฝ่ายแรงงาน และนายจ้าง ได้เข้าพบ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน เพื่อชี้แจงเหตุผลสนับสนุนและผลกระทบจากนโยบายดังกล่าว
ชวนคุยประเด็นร้อน...ครม.เศรษฐา 1/1 "เป็นของใคร โดยใคร และเพื่อใคร ?" ทำไมกระทรวงการคลังมีรัฐมนตรี 4 คน ? ส่วน "อุ๊งอิ๊ง" นำเพื่อไทยแถลง "10 เดือนที่ไม่รอ ทำต่อให้เต็ม 10" ฟาด "คู่แข่ง" อย่าใช้วาทกรรมต่าง ๆ โจมตีเพื่อไทย ด้าน "เศรษฐา" ประกาศปัดฝุ่นใช้ยุทธศาสตร์ "ทักษิณ - ยิ่งลักษณ์โมเดล"
การเตรียมประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ วันที่ 1 พ.ค. ที่เป็นวันแรงงานในมุมของแรงงาน ย่อมเป็นข่าวดีท่ามกลางข้อมูลผลสำรวจของผู้ประกอบการเกินครึ่งที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งค่าแรงใหม่คาดว่าจะเริ่มมีผลตั้งแต่ 1 ต.ค. นี้ เป็นต้นไป โดยคณะกรรมการไตรภาคีจะนัดประชุมในวันที่ 14 พ.ค. นี้ เพื่อรองรับประกาศอย่างเป็นทางการทำให้แรงงานหลายคนหวังว่าค่าแรงที่เพิ่มขึ้นจะมาช่วยบรรเทาค่าครองชีพได้
ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมา นโยบายหนึ่งที่ถูกพูดถึงคือการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ไม่ว่าจะเป็น 400 หรือ 600 บาท เพื่อช่วยเหลือด้านค่าครองชีพให้แก่แรงงาน แล้วในมุมของผู้ประกอบการนโยบายนี้เป็นไปได้หรือไม่ ? หากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนค่าแรงงานขั้นต่ำของไทยมากหรือน้อยอย่างไร ? ร่วมพูดคุยกับ คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย