เริ่มปี 2568 เดือน มกราคม "เบี้ยผู้สูงอายุ" เงินเข้าบัญชีแล้ววันนี้ "10 มกราคม" ซึ่งผู้สูงอายุที่จะได้รับเงินจะต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไปผ่านการลงทะเบียนก่อนหน้านี้แล้ว พร้อมกางตารางการจ่ายเงิน "เบี้ยสูงอายุ 2568"
"เบี้ยผู้สูงอายุ" หรือ "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" เป็นสวัสดิการที่ทางภาครัฐจัดสรรให้แก่ "ผู้สูงอายุ" ที่มี "อายุ 60 ปีขึ้นไป" เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายการดำรงชีวิตในแต่ละเดือน แต่ละปีจะมีการเปิดให้ผู้ที่มีคุณสมบัติรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุรายใหม่มาลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ และการรับเงินเบี้ยผู้สูงอายุจะต้องละทะเบียนก่อน
ตารางการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568
ภาครัฐจะโอนเงินผ่านธนาคารที่ผู้สูงอายุลงทะเบียนไว้ ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน หากวันที่ 10 ของเดือนใดตรงกับ "วันหยุดเสาร์ อาทิตย์" หรือ "วันหยุดนักขัตฤกษ์" ก็จะเลื่อนจ่ายเงินเป็นก่อนวันที่ 10 ของเดือนนั้น ๆ ดังนั้นอาจจะได้รับเงิน ไม่ตรงกันในแต่ละเดือน โดย เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2568 จะโอนเงินเข้าบัญชี ดังนี้
- มกราคม : วันศุกร์ที่ 10 มกราคม 2568
- กุมภาพันธ์ : วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568
- มีนาคม : วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2568
- เมษายน : วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน 2568
- พฤษภาคม : วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2568
- มิถุนายน : วันอังคารที่ 10 มิถุนายน 2568
- กรกฎาคม : วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม 2568
- สิงหาคม : วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม 2568
- กันยายน : วันพุธที่ 10 กันยายน 2568
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ได้เงินเท่าไหร่
- อายุ 60 - 69 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 600 บาท
- อายุ 70 - 79 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 700 บาท
- อายุ 80 - 89 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 800 บาท
- อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 1,000 บาท
เงื่อนไขลงทะเบียน "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" รอบใหม่ เช็กคุณสมบัติ
รายใหม่ ลงทะเบียน "เบี้ยผู้สูงอายุ" สำหรับผู้สูงอายุ อายุครบ 60 ปี ประจำปีงบประมาณ 2569 มาเช็กเงื่อนไข และขึ้นตอน เอกสารที่ต้องใช้ในการขอรับสิทธิ พร้อมปฎิทินการจ่ายเงิน มาอัปเดตกัน
- สัญชาติไทย
- เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปี ยังไม่เคยลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
- เป็นผู้ที่จะมีอายุครบ 60 ปี โดยเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2509 ลงทะเบียนรับเงินประจำปีงบประมาณ 2569
- ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่
- ผู้รับเงินบํานาญ เบี้ยหวัด บํานาญพิเศษหรือ เงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน
- ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ผู้ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจํา หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจํา
ลงทะเบียนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ได้เมื่อไหร่
กรณีมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เคยลงทะเบียน
- ลงทะเบียนได้ตั้งแต่ เดือน ตุลาคม - พฤศจิกายน 2567 และเดือน มกราคม – กันยายน 2568 จะได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2568 เป็นต้นไป (ไม่มีจ่ายย้อนหลัง)
กรณีจะอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ในปีงบประมาณ 2569 (เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2509)
- ลงทะเบียนเพื่อยืนยันสิทธิขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ ตั้งแต่เดือน ตุลาคม - พฤศจิกายน 2567 และเดือน มกราคม – กันยายน 2568
ผู้ที่ลงทะเบียนจะได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเดือนถัดไปจากเดือนที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เช่น เกิดเดือน "กุมภาพันธ์" จะได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเดือน "มีนาคม" เป็นเดือนแรก
"ผู้สูงอายุ" สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนได้ และหากผู้สูงอายุมีความประสงค์โอนเงินเข้าบัญชีผู้อื่น ต้องมีหนังสือมอบอำนาจตัวจริง พร้อมสำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ อย่างละ 1 ชุด
ยื่นเอกสารแล้ว จะได้รับเงินเมื่อไหร่
ผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนไว้ ตั้งแต่วันที่ 1- 30 พฤศจิกายน ของทุกปี จะได้รับเงินเบี้ยยังชีพ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมของปีถัดไป (ไม่มีการจ่ายย้อนหลัง)
เอกสารที่ต้องเตรียม
สำหรับเอกสารที่ต้องเตรียม ดังนี้
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด
2. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
3. สำาเนาสมุดบัญชีธนาคาร จำนวน 1 ชุด
ในกรณีผู้สูงอายุที่มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุย้ายทะเบียนบ้านให้เทศบาล หรือ อบต. ที่เคยจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดิมยังคงจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจนกว่าจะสิ้นสุดปีงบประมาณ นั้น คือเดือนกันยายน
และหากมีความประสงค์จะรับเบี้ยยังชีพกับเทศบาล หรือ อบต. แห่งใหม่ ต้อง ไปจดทะเบียนเพื่อขอรับเบี้ยยังชีพที่เทศบาล หรือ อบต.แห่งใหม่ ภายในวันที่ 1 - 30 พฤศจิกายนของทุกปี และเริ่มรับเงินที่ใหม่ในเดือนตุลาคม ของปีถัดไป (เอกสารต้องลงลายมือชื่อ สำเนาถูกต้องทุกฉบับ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเขียนได้ ให้พิมพ์ลายมือแทน)
การลงทะเบียนล่วงหน้าเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ได้รับสิทธิตามกำหนดเวลา
อย่างไรก็ตาม หากผู้สูงอายุมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ทางหน่วยงานที่ลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไว้ โดยในกรุงเทพมหานครสามารถสอบถามได้ที่สำนักงานเขต ส่วนต่างจังหวัดสอบถามได้ที่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในท้องถิ่น หรือติดต่อ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เบอร์ 02-2419000 ต่อ 4131
อ้างอิงข้อมูล กรมกิจการผู้สูงอายุ, องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแฮ้ว
อ่านข่าว : "บัตรประชาชน" ใช้อย่างไรปลอดภัย หากข้อมูลหลุดจะเกิดอะไรขึ้น?
ปีใหม่ 2568 ลอกคราบเหมือนงู! เริ่มต้นชีวิตใหม่ "เปลี่ยนแปลง-เติบโต"
ถ่ายรูปข้อมูลบัตรประชาชน ผิด PDPA หรือไม่? เจ้าของมีสิทธิแค่ไหน