หลัง ก.มหาดไทยออกหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เมื่อวันที่ 12 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยเพิ่มคุณสมบัติการเป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ เป็นเงื่อนไขในการรับเบี้ยยังชีพ เครือข่ายภาคประชาสังคม จึงรวมตัวคัดค้านเงื่อนไขดังกล่าว
กลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมืองหลังจากตัวแทนพรรคการเมืองต่างๆ ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ มีการแก้ไขหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุใหม่ ที่จ่ายให้เฉพาะผู้มีรายได้น้อย ล่าสุด รมว.มหาดไทยชี้แจงว่า เรื่องนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ รอทางคณะกรรมการผู้สูงอายุกำหนดเกณฑ์การจ่าย
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นสวัสดิการของรัฐสำหรับคนไทยอายุมากกว่า 60 ปี แต่ ก.ค.ที่ผ่านมา ปลัดฯ ก.การคลัง ระบุกำลังศึกษามาตรการลดรายจ่าย หนึ่งในนั้น คือ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แนวคิดดังกล่าวสร้างความไม่สบายใจต่อภาคประชาสังคม เตรียมยื่นหนังสือคัดค้านวันนี้
กรมบัญชีกลาง ชี้แจง กรณีเรียกเงินเก็บเงินเบี้ยผู้สูงอายุคืนรวมดอกเบี้ย กว่า 84,000 บาท เหตุระเบียบกระทรวงมหาดไทย กำหนดคุณสมบัติ ผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะต้องไม่เป็นผู้ได้รับเงินบำนาญพิเศษจึงต้องคืนเงินดังกล่าว
กลุ่มผู้สูงอายุจากทั่วประเทศ รวมตัวกันหน้ากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ พม. เพื่อเรียกร้องความคืบหน้า การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 1,000 บาทแบบถ้วนหน้า หลังจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนสวัสดิการโดยรัฐ มีมติเมื่อ ก.พ. 67 ปรับขี้นเบี้ยผู้สูงอายุ เป็น 1,000 บาทต่อเดือน และเปลี่ยนวิธีจ่ายเป็นแบบได้ทุกคนเท่ากัน เพื่อรองรับไทยกำลังเข้าสู่งสังคมสูงวัยในอนาคต โดยมีผู้แทนจากกรมกิจการผู้สูงอายุมารับเรื่อง พร้อมระบุว่าการอนุมัติเบี้ยผู้สูงอายุถ้วนหน้า อยู่ในขั้นตอนการเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ภายในมิถุนายนนี้ ติดตามชมรายการสถานีประชาชนย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/program/People/episodes/102080
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนับได้ว่าเป็นเงินก้อนสำคัญ สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุบางกลุ่ม แต่ในปี 66 คณะรัฐมนตรี เหมือนจะมีแนวคิดการปรับวิธีจ่ายเงินให้กับผู้สูงอายุใหม่ การปรับวิธีนี้จะทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำหรือไม่ และควรมีวิธีคิดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุใหม่อย่างไร คุณพรวดี ลาทนาดี พูดคุยกับคุณฉัตร คำแสง ในทันโลก 101
การปรับหลักเกณฑ์พิจารณา “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” กลับมาเป็นข้อถกเถียง ซึ่งทำให้ผู้สูงอายุบางคนไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจากภาครัฐ เป็นที่กังวลกันว่าอาจจะมีผู้สูงอายุที่ตกหล่นไป แล้วเราจัดการกับปัญหานี้อย่างไรบ้าง ? ร่วมพูดคุยกับ ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง ทีดีอาร์ไอ