ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สว.ผ่านร่าง "กม.ประมง" ชาวเลค้านใช้ "อวนมุ้ง" จับตอนกลางคืน

การเมือง
13 ม.ค. 68
13:23
89
Logo Thai PBS
สว.ผ่านร่าง "กม.ประมง" ชาวเลค้านใช้ "อวนมุ้ง" จับตอนกลางคืน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สว.ผ่านร่างพ.ร.บ.ประมงฉบับใหม่ มติ 165 ต่อ 11 เสียง ตั้งกมธ. 21 คนพิจารณาอีก 30 วัน ส่วนชาวเลเดินหน้าค้านใช้มาตรา 69 ห่วง "อวนมุ้ง" จับสัตว์น้ำตอนกลางคืน

วันนี้ (13 ม.ค.2568) การประชุมวุฒิสภาที่มี พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานในที่ประชุม พิจารณาเรื่องด่วน ร่างพ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมงปี 2558 โดยนายอัครา พรหมเผ่า รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยผู้แทนจากกรมประมง เข้าร่วมประชุมชี้แจงว่า ในร่างกฎหมายฉบับนี้มีแก้ไข 71 มาตรา 24 ประเด็น

ต่อมาที่ประชุมวุฒิสภา ลงมติเห็นด้วย 165 ต่อ 11 งดออกเสียง 7 ไม่ลงคะแนน 1 เสียง เห็นชอบร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมงปี 2558 โดยตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาศึกษา 21 คน 

ค้านใช้ "อวนมุ้ง" จับสัตว์น้ำตอนกลางคืน

ขณะที่สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย และเครือข่ายกว่า 100 คน ได้เดินทางมาทำกิจกรรม และยื่นหนังสือต่อ สว. เรียกร้องให้ทบทวนการแก้ไขมาตรา 69 ที่จะเปิดช่องให้ใช้อวนตาถี่ทำการประมงในเวลากลางคืน

โดยตัวแทนได้นำอวนมุ้งยาวกว่า 2 กิโลเมตร มาประกอบการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ก่อนเข้ายื่นหนังสือต่อ สว. เพื่อให้ทบทวนการแก้ไขกฎหมายประมง

สาระสำคัญคือ ให้ทบทวนโดยเฉพาะ มาตรา 69 ที่มีความกังวลว่า จะเป็นการเปิดช่อง ให้สามารถทำการประมงอวนตาถี่ด้วยวิธีล้อมจับในเวลากลางคืนได้เฉพาะกลุ่ม

สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย และเครือข่ายกว่า 100 คน ทำกิจกรรม และยื่นหนังสือต่อ สว. เรียกร้องให้ทบทวนการแก้ไข ม. 69

สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย และเครือข่ายกว่า 100 คน ทำกิจกรรม และยื่นหนังสือต่อ สว. เรียกร้องให้ทบทวนการแก้ไข ม. 69

สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย และเครือข่ายกว่า 100 คน ทำกิจกรรม และยื่นหนังสือต่อ สว. เรียกร้องให้ทบทวนการแก้ไข ม. 69

นายปิยะ เทศแย้ม นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้าน เดินทางมาเป็นตัวแทนมอบหนังสือถึงประธานวุฒิสภาในวันนี้ แสดงความกังวลว่า หากมาตรามีผลบังคับใช้  “อวนตามุ้ง” จะจับสัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อนจำนวนมากไปด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจประมาณแสนล้านบาทต่อปี

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งข้อเรียกร้องหลัก คือ การพิจารณาในชั้นกรรมาธิการวิสามัญของวุฒิสภา ขอให้มีตัวแทนชาวประมงพื้นบ้าน ตัวแทนองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม และตัวแทนนักวิชาการด้านทรัพยากรทะเลชายฝั่งและการประมง เข้าไปร่วมพิจารณาด้วย

โดยในวันนี้ สว.จะมีการพิจารณาพ.ร.บ.ประมง วาระแรก และอาจมีการตั้งกมธ. พิจารณาร่างกฎหมายด้วย ซึ่งคาดว่าอาจจะใช้เวลาประมาณ 30 วันในการพิจารณา

นอกจากนี้ ยังมีมาตราอื่น ๆ ที่ชาวประมงพื้นบ้านมีความกังวล เช่น ยกเลิกการคุ้มครองแรงงานในภาคการแปรรูปอาหารทะเล และอนุญาตการขนถ่ายสัตว์น้ำกลางทะเลระหว่างเรือประมงได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การทำประมงผิดกฎหมายได้

หลังจากเสร็จสิ้นการยื่นหนังสือในวันนี้ ชาวประมงพื้นบ้านก็ยังมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องค่ะ โดยในเวลาประมาณบ่ายโมง จะมีการทำกิจกรรมที่พรรคเพื่อไทย จากนั้นสี่โมงเย็น จะไปทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ที่หอศิลปวัฒนธรรม เพื่อเดินหน้าคัดค้านมาตรานี้ต่อไป

กรมประมง แจงปม ม.69 

นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง ชี้แจงประเด็นปลากะตักเป็นสัตว์น้ำขนาดเล็กที่มีอายุขัย 1 ปี ซึ่งสัตว์น้ำจะเกิดใหม่อย่างรวดเร็วหากมีการบริหารจัดการที่ดีทุกปี โดยกรมประมงเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เพื่อประมวลจำนวนสัตว์น้ำในท้องทะเล แบ่งสัตว์น้ำเป็น 3 กลุ่ม สัตว์หน้าดิน ปลาผิวน้ำ ปลากะตัก ซึ่งมีข้อมูลทางวิชาการพบว่า 1 ปีจับได้ 2.1 แสนตัน จึงมีการนำไปพิจารณาออกใบอนุญาตจับสัตว์น้ำ

โดยพบว่า 1 ปีจับได้กว่า 90,000 ตัน ทรัพยากรที่เหลือว่าเป็นการตายไปตามวัย และเป็นไปตามวัฏจักรห่วงโซ่อาหาร

ไทยมีการนำเข้าปลากะตัก จากต่างประเทศปีละ 20,000 ตัน แทนที่จะเป็นผู้ผลิต และเหตุผลที่ต้องเปิดการจับนอก 12 ไมล์ทะเล ตามหลักเกณฑ์วิธีการ ซึ่งปลากะตักในรอบ 12 เดือน หากจับในอวนล้อมจับที่ปนสัตว์อื่นน้อยที่สุด ฝั่งอ่าวไทยจะอยู่ในช่วงเดือนม.ค.-ถึงมี.ค. ส่วนทะเลฝั่งอันดามันอยู่ในช่วงเดือน พ.ค.-ถึง ก.ค. 

อ่านข่าว จับตา! ชาวประมงร้องหยุด ม.69 สภาจ่อเคาะกม.อวนตาเล็ก

ยังต้องออกกฎหมายลูกรองรับ

ขณะนี้กรมประมงกำลังพิจารณาวิธีการ เพื่อออกกฏหมายลูกมารองรับ หลังกฏหมายฉบับนี้ผ่าน เช่นการติดตั้ง VMS ในเรือทุกลำ และส่งสัญญาณทุก 15 นาที เพื่อติดตามการทำประมง และต้องกำหนดโควตาการจับ ไม่ต้องมีการนำเข้าเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจไม่กระทบ และเรือ ที่ใช้ต้องไม่ใช่เป็นการต่อเรือใหม่ต้องให้เรือที่ต่อในปัจจุบันที่มีอยู่จำนวนไม่มาก

กรมประมง จะต้องนำข้อมูลทั้งหมดไปขอความเห็นชอบ และกลับมาสู่กระบวนการตามกฏหมาย หากผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นว่ายังไม่มีข้อมูลเพียงพอ จำเป็นต้องต้องใช้การทดลองทางวิชาการหรืออิงจากสถาบันใดเข้ามาช่วยก็ต้องมีการช่วยกันเพื่อนำทรัพยากรอันมีค่ามาใช้เกิดประโยชน์สูงสุด 

และชี้แจงว่าการแก้ไขกฎหมายครั้งนี้จะ เป็นการเสนอจากพรรคการเมืองและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านกลไกของรัฐสภา เป็นการสร้างบริบทในการยอมรับ บริบทของประเทศไทยในการใช้ทรัพยากร และไม่ได้ขัดต่อพันธะกรณีระหว่างประเทศ และมีการชี้แจงสหภาพยุโรปตลอดระยะเวลา และมั่นใจว่าการบังคับใช้กฎหมายสามารถดำเนินการได้ตามที่มีการแก้ไขปรับปรุง

 

 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง