วันนี้ (15 ม.ค.2568) นายจักกฤช อุเทนสุต รองอธิบดีกรมศุลกากร กรมศุลกากรจับกุมขยะอิเล็กทรอนิกส์ นำเข้าทางท่าเรือแหลมฉบัง จำนวน 10 ตู้คอนเทนเนอร์ น้ำหนักกว่า 256 ตัน ซึ่งเป็นผลจากจากการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด พบว่าอาจมีการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางท่าเรือแหลมฉบัง ในวันที่ 3 ม.ค.หรือช่วงวันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมา
กรมศุลกากร ตรวจสอบตู้สินค้าต้องสงสัย 10 ตู้คอนเทนเนอร์ ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี พบว่ามีการแสดงข้อมูลในใบขนสินค้าเป็น “เศษโลหะและโลหะเก่าใช้แล้ว” เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ จึงได้ทำการอายัดตู้สินค้าดังกล่าวเพื่อตรวจสอบโดยละเอียด
ผลการตรวจสอบ พบว่าสินค้ามีต้นกำเนิดจากญี่ปุ่น 9 ตู้ และฮ่องกง 1 ตู้ ภายในพบเศษชิ้นส่วนอุปกรณ์ หรือส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ไม่ได้มีสภาพเป็นเศษขยะอิเล็กทรอนิกส์ ปริมาณกว่า 256,320 กิโลกรัมหรือ 256 ตัน
กรมศุลกากรยึดขยะอิเล็กทรอนิกส์ 256 ตันนำเข้าจากญี่ปุ่นและฮ่องกง ซุกที่ท่าเรือแหลมฉบัง
สินค้าดังกล่าวถือเป็นของต้องห้ามตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2563 ถือเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ต้องได้รับอนุญาตให้นำเข้าจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
นอกจากนี้การนำเข้าสินค้าดังกล่าวต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายและการกำจัดของเสียอันตรายข้ามแดนกรณีเป็นความผิดตามมาตรา 202 มาตรา 244 ประกอบมาตรา 252 มาตรา 243 แห่งพ.ร.บ.บศุลกากร พ.ศ.2560 และพ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 มาตรา 5 วรรคสอง มาตรา 18 วรรคสอง มาตรา 23 และมาตรา 73 ประกอบประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย
ตรวจสอบตู้สินค้าต้องสงสัย 10 ตู้คอนเทนเนอร์ ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี พบสำแดงในใบขนสินค้าเป็น “เศษโลหะและโลหะเก่าใช้แล้ว”
พ.ศ.2556 บัญชีที่ 5.2 ของเสียเคมีวัตถุ ลำดับที่ 2.18 ชิ้น ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หรือเศษชิ้นส่วนอุปกรณ์ หรือส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ไม่ได้ และอนุสัญญาบาเซล ว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายและการกำจัดของเสียอันตรายข้ามแดน
พบ 4 เดือนจับแล้ว 25 คดี
สำหรับสถิติการจับกุมของที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ในปีงบ 2568 (1 ต.ค.2567-14 ม.ค.) ได้แก่ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ 19 คดี น้ำหนัก 256,643 กิโลกรัม เศษพลาสติก 6 คดี น้ำหนัก 322,980 กิโลกรัม รวม 25 คดี น้ำหนัก 579,623 กิโลกรัม สำหรับในปีงบ 2567 จับกุมขยะเทศบาล 9 คดี น้ำหนัก 1,259,942 กิโลกรัม
ตรวจสอบตู้สินค้าต้องสงสัย 10 ตู้คอนเทนเนอร์ ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี พบสำแดงในใบขนสินค้าเป็น “เศษโลหะและโลหะเก่าใช้แล้ว”
นอกจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ กรมศุลกากร ยังเฝ้าระวังสินค้าที่มีผลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพและสุขอนามัยของประชาชนอื่น ๆ ด้วย เช่น เศษพลาสติก ซึ่งเป็นไปตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ที่ห้ามนำเข้าเศษพลาสติก ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา
อ่านข่าว
สั่งหยุดลอบหลอม “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” เขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา