วันนี้ (16 ม.ค.2568) นายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ อดีตอธิบดีอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด ให้ความเห็นถึงแนวทางการรื้อคดีสำคัญว่า ตามหลักกฎหมายคดีอาญาหากพนักงานสอบสวน สอบสวนจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้ว และส่งสำนวนให้พนักงานอัยการ พนักงานอัยการมีคำสั่งในสำนวนนั้นแล้ว จะถูกแยกพิจารณาออกเป็น 2 ส่วน
- "ปอ-แซน" แถลงชี้กรณีจำลองเหตุ "แตงโม" ตกเรือ ไม่ตรงเหตุการณ์จริง
- เริ่มแล้ว รอบแรก "ปอย" จำลองเหตุการณ์แตงโมตกเรือ
1.พนักงานอัยการสั่งฟ้องตามความเห็นของพนักงานสอบสวนทุกข้อหาและมีการสั่งฟ้องไป ซึ่งคดีก็จะดำเนินไปถึงชั้นศาลตัดสิน 2.พนักงานอัยการเห็นต่างจากพนักงานสอบสวน ก็อาจจะมีการสั่งไม่ฟ้อง ซึ่งการสั่งไม่ฟ้องอาจจะมีการสั่งไม่ฟ้องบางข้อหาหรือทุกข้อหา ที่พนักงานสอบสวนตั้งมาก็ได้
นายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ อดีตอธิบดีอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด
ทั้ง 2 กรณีนี้ หากจะมีการรื้อคดีขึ้นมาใหม่ กรณีแรกที่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง ซึ่งแย้งกับความเห็นของพนักงานสอบสวน หากคดีเสร็จเด็ดขาดทุกข้อหาไปแล้วจะรื้อฟื้นคดีนี้ขึ้นมาใหม่ได้ หลักมีอยู่คือจะต้องมีพยานหลักฐานใหม่ขึ้นมา เช่น ในขณะเกิดเหตุ สำนวนปรากฏมีประจักษ์พยานอยู่ประมาณ 4-5 คน แต่ในชั้นสอบสวนติดตามตัวได้ 2-3 คน ที่เหลือไม่สามารถติดตามได้
แต่หลังจากพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องแล้วตำรวจสามารถติดตามตัวบุคคลที่เหลือมาได้ และบุคคลที่เหลือให้การต่างจากคนที่ได้ให้การไว้แล้วเดิม ส่วนนี้ถือเป็นพยานหลักฐานใหม่ ที่สามารถจะยื่นคำร้องเข้ามาให้รื้อฟื้นขึ้นมาพิจารณาใหม่ได้
ส่วนกรณีที่ 2 พนักงานอัยการ สั่งฟ้องตามพนักงานสอบสวนไปแล้วทุกข้อหาและดำเนินการฟ้องไปยังศาล กระบวนการก็จะต้องสืบพยานโจทก์จำเลยไปจนกว่าศาลจะตัดสิน และเมื่อศาลตัดสินแล้วคดีต้องถึงที่สุดไม่มีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา กรณีนี้หากมีจำเลยติดคุก หรือ ไม่มีใครติดคุกก็ตาม
แต่มีผู้ได้รับผลกระทบคือ "จำเลย" จึงจะมีสิทธิ์ร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นมาได้ใหม่ แต่ต้องมีเงื่อนไข คือพบว่า พยานหลักฐานที่นำมาใช้ลงโทษจำเลยเป็นพยานเท็จหรือมีพยานหลักฐานใหม่อื่นซึ่งสามารถพิสูจน์ ความบริสุทธิ์ของจำเลยได้ที่ไม่เคยถูกใช้มาก่อน
ส่วนคดีที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เช่น คดีของของ น.ส.นิดา พัชรวีระพงษ์ หรือ แตงโม นั้นนส่วนตัวมองว่า เป็นการกระทำของภาคเอกชน ที่จะพิสูจน์ข้อเท็จจริงอะไรบางอย่างว่า ทฤษฎีหรือการสอบสวนของพนักงานสอบสวนนั้นสมบูรณ์ครบถ้วนมากน้อยเพียงใด ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งแต่ว่าไม่มีผลอะไรในทางคดีเพราะพนักงานอัยการและพนักงานสอบสวนจะพิจารณา ฟ้องหรือไม่ฟ้องบุคคลใดก็แล้วแต่จะต้องพิจารณาหลักฐานเฉพาะในสำนวนสอบสวนเท่านั้น
ส่วนกรณีที่ ก่อนหน้านี้กลุ่มของนายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงษ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม มีการนำเอกสารพยานหลักฐานไปมอบให้กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ ยืนยันว่า ในทางกฎหมายดีเอสไอก็ไม่มีอำนาจที่จะรื้อคดี เพราะคดีดังกล่าวไม่เข้าข่ายเป็นคดีพิเศษ สิ่งที่ทำได้ คือ เข้ามาสังเกตการณ์ ขณะที่ การจะรื้อฟื้นคดีขึ้นมาใหม่นั้นจะต้องมีคณะกรรมการรื้อฟื้นคดีของกระทรวงยุติธรรม 1 ชุด ที่จะคอยพิจารณาว่า คดีใดสามารถรื้อฟื้นได้
ส่วนประเด็น ที่นายอัจฉริยะ ระบุว่า จะมีการยื่นคำร้องกับดีเอสไอเพื่อขอให้พิจารณาเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐในข้อหาปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ส่วนตัวก็มองว่า เป็นคนละส่วนกัน ซึ่งกระบวนการพิสูจน์ตรวจสอบจะต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมดไม่เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด
อ่านข่าว : 4 พยาน เข้าให้ข้อมูล "ดีเอสไอ" คดีแตงโม เสียชีวิต
เริ่มแล้ว รอบแรก "ปอย" จำลองเหตุการณ์แตงโมตกเรือ
"ปานเทพ" นำอาสาสมัครจำลองสถานการณ์ "แตงโม" ตกเรือ