อินโดนีเซียในฐานะสมาชิกกลุ่ม บริกส์ (BRICS) มีบทบาทที่สำคัญในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และยังเป็นผู้นำในโลกมุสลิมสายกลาง มีประชากรประมาณ 280 ล้านคน ซึ่งถือเป็นอันดับสี่ของโลก
การเข้าร่วมเป็นสมาชิกบริกส์ อย่างเต็มตัว เมื่อต้นเดือนม.ค.2568ที่ผ่านมา ต้องยอม รับว่าไม่ธรรมดาหลังจากบราซิลรับช่วงเป็นประธานต่อจากรัสเซีย
อินโดนีเซียเป็นสมาชิกอาเซียนแรกที่เข้าร่วมกลุ่ม บริกส์ ก่อนหน้านี้ มีการคาดการณ์ว่าไทยจะเป็นสมาชิกแรกในช่วงรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน โดยมีการโฆษณาว่าจะเข้าร่วมก่อนใครเพื่อนในอาเซียนในเดือนตุลาคมปี 2567 เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากจีนและรัสเซีย แต่สุดท้ายไทยกลับได้สถานะเป็นหุ้นส่วนบริกส์ ร่วมกับอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม
อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้ผลักดันให้ไทยสมัครสมาชิกเมื่อปีที่แล้ว ผ่านพรรคเพื่อไทย ในช่วงที่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน เป็นประธาน เพื่อสนับสนุนโปรไฟล์รัสเซีย ขณะที่กระทรวงต่างประเทศของไทยไม่มีข้อขัดข้อง แต่แนะนำให้สมัครหลังจากเข้าสู่กระบวนการพิจารณาสมาชิกเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับการเป็นสมาชิกของ องค์กรความมือเศรษฐกิจและพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development—OECD)
เมื่อบราซิลเข้ามาเป็นประธาน ไทยจึงขาดประเทศที่จะผลักดันอย่างจริงจัง กอปรกับความไม่แน่นอนของการเมืองภายในไทย อาจจะรออีกสามปีที่จีนจะเป็นประธาน จีนอยากเห็นไทยเป็นสมาชิกบริกส์เต็มตัว
อินโดนีเซียได้วางแผนยุทธศาสตร์เข้าร่วม บริกส์ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในปีนี้เป็นปีครบรอบ 70 ปีของการประชุมประวัติศาสตร์ที่บันดุงในปี 1955 ซึ่งอดีตประธานาธิบดีสุกาโนเป็นผู้นำในการจัดประชุมใหญ่ให้กับประเทศที่เพิ่งได้รับการปลดปล่อยจากอาณานิคมในเอเชียและแอฟริกา การประชุมนี้มีถึง 29 ประเทศ เพื่อประกาศอิสรภาพและแสดงจุดยืนร่วมกันที่จะไม่ขึ้นอยู่กับมหาอำนาจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
การเปลี่ยนสถานะจากหุ้นส่วน บริกส์ เป็นสมาชิกเต็มตัวของอินโดนีเซียเกิดขึ้นภายในช่วงเปลี่ยนผ่านเก้าสัปดาห์ ซึ่งถือว่าเร็วมาก และสะท้อนถึงความต้องการของ บริกส์ ที่จะมีอินโดนีเซียเข้าร่วมด้วย ท่าทีและจุดยืนของอินโดนีเซียในเรื่องการเมืองระหว่างประเทศจะช่วยลดความรู้สึกต่อต้านโลกตะวันตกในหมู่สมาชิก บริกส์ในปัจจุบัน
บราโปโว สุปีอันโต ประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย มีความทะเยอทะยานที่จะเป็นผู้นำในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา หรือ Global South ขณะเดียวกัน อินโดนีเซียยังได้สมัครเข้าเป็นสมาชิก องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) หรือ The Organization for Economic Cooperation and Development ก่อนไทย โดยคาดว่าจะได้รับสถานะสมาชิกเต็มตัวภายในสามปี
ส่วนไทยอาจจะใช้เวลานานถึงห้าปีเพราะต้องมีการแก้ไขกฎหมายและระเบียบข้อบังคับมากมายกว่าสองร้อยมาตรา
มาเลเซียมีโอกาสสูงจะเป็นสมาชิกบริกส์ ใหม่เต็มตัวในปลายปีนี้ นายกรัฐมนตรี อันวาร์ อิบราฮิม เล่นการเมืองระดับโลกที่ชาญฉลาด เข้าใจและสามารถพูดจาจูงใจประชาคมโลกได้ ล่าสุดมีข่าวดัง อันวาร์ กำลังเชิญ ลูอิส อีนาซียู ลูลา ดา ซิลวา ประธานาธิบดีบราซิล มาเป็นแขกและประธานเข้าร่วมประชุมสุดยอดอา เซียนต้นตุลาคมนี้ อาจจะมีปูตินเข้ามาร่วมด้วยโดยอันวาได้เชิญเรียบร้อยแล้ว
ขณะเดียวกันเวียดนามเลือกที่จะดำเนินการอย่างช้า ๆ เป็นหุ้นส่วนบริกส์ไปก่อน ไม่มีภัยอันตรายจากแรงกดดันภายนอก เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาที่เห็นบริกส์เป็นคู่อริ
ปัจจุบัน สมาชิกอาเซียนที่ต้องการเข้าร่วม บริกส์ เพื่อแสดงความยืดหยุ่นทาง การทูตและแสวงหามิตรภาพทั่วโลกต้องการมีส่วนในการร่วมสร้างระเบียบโลกใหม่ที่เท่าเทียมและยุติธรรม
ในขณะที่ประเด็นเศรษฐกิจที่ละเอียดอ่อน เช่นการใช้หรือไม่ใช้ดอลลาร์เป็นสกุลเงินซื้อขาย และแลกเปลี่ยน ยังถือเป็นเรื่องรองที่ต้องผูกมัดกับมาตราการเหล่านี้
ขณะนี้ตัวเลขการค้าของอินโดนีเซียและมาเลเซีย รวมทั้งไทยและเวียดนามกับโลกตะวันตกและจีนยังมาเป็นอันดับหนึ่ง การขยายตลาดการค้าและดึงทุนในกลุ่มบริกส์ยังไม่ถึงโอกาสถือเป็นการเริ่มต้น ทั้งสี่สมาชิกอาเซียนเตรียมตัวรับความเสี่ยงที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วงของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ตั้งท่าเพิ่มกำแพงภาษีอย่างเดียว
ส่วนสิงค์โปร์และฟิลิปปินส์ยังคงไม่มีท่าทีสมัครเข้าบริกส์ในวันข้างหน้าอย่างแน่ นอน เพราะถือว่าอยู่ทางฝ่ายโลกตะวันตก
คอลัมน์มองเทศคิดไทย : กวี จงกิจถาวร
อ่านข่าว:
สหรัฐฯ ยกระดับความปลอดภัยรับพิธีสาบานตน "ทรัมป์"
TikTok กลับมาให้บริการอีกครั้งในสหรัฐฯ หลังจอดำไปหลายชั่วโมง
ผู้ประท้วงหลายพันคนรวมตัว ก่อนพิธีสาบานตนรับตำแหน่งของ "ทรัมป์"