ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เมื่อ "ทรัมป์" ถอนตัว "ข้อตกลงปารีส" โลกจะเดือดขึ้นหรือไม่

ต่างประเทศ
21 ม.ค. 68
11:37
12
Logo Thai PBS
เมื่อ "ทรัมป์" ถอนตัว "ข้อตกลงปารีส" โลกจะเดือดขึ้นหรือไม่
America Is Back! "ทรัมป์" ถอนตัวข้อตกลงปารีส-เมินลดภาวะโลกร้อน โลกจะเดือดขึ้นหรือไม่หลังฉุดอุณหภูมิโลกไม่อยู่พุ่ง 1.5 องศาเซลเซียสต่อปี

หลังจาก โดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวคำปฏิญาณตาม จอห์น โรเบิร์ตส์ ประธานคณะผู้พิพากษาศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกา เพื่อสาบานตนเป็นประธานาธิบดีคนที่ 47และดำรงตำแหน่งเป็นทางการ

วันนี้ (21 ม.ค.2568) เว็บไซต์ Whitehouse.gov ของทำเนียบขาว สะท้อนถึงการถ่ายโอนอำนาจ โดยเป็นภาพของทรัมป์ พร้อมข้อความว่า 

America Is Back

Every single day I will be fighting for you with every breath in my body. I will not rest until we have delivered the strong, safe and prosperous America that our children deserve and that you deserve. This will truly be the golden age of America.

อเมริกากลับมาแล้ว! ทุก ๆ วัน ฉันจะต่อสู้ เพื่อคุณด้วยลมหายใจทุกลมหายใจ ฉันจะไม่หยุดพักจนกว่าเราจะสร้างอเมริกาที่เข้มแข็ง ปลอดภัย และเจริญรุ่งเรืองที่ลูก ๆ ของสมควรได้รับ และคุณสมควรได้รับ นี่จะเป็นยุคทองของอเมริกาอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ภายในเว็บไซต์ทำเนียบขาว ยังรวมถึงชีวประวัติของทรัมป์ เจ.ดี. แวนซ์รองประธานาธิบดี และเมลาเนีย ทรัมป์ สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง รวมถึงคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ตลอดจนส่วนที่ระบลำดับความสำคัญของรัฐบาลชุดใหม่ 

อ่านข่าว "ทรัมป์" สาบานตนเป็น ปธน.สหรัฐฯ คนที่ 47 เดินหน้านโยบายผู้อพยพ

ครั้งที่ 2 ทรัมป์ถอนข้อตกลงปารีส-เมินโลกร้อน 

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า หลังการเข้าพิธสาบานตนของ ทรัมป์ ได้ลงนามยกเลิกคำสั่งฝ่ายบริหาร 78 ฉบับที่เป็นการเพิกถอนคำสั่งหรือแผนริเริ่มต่าง ๆ ในยุคของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ต่อหน้าฝูงชนจำนวนมากที่สนามกีฬาแคปิตอลวัน 

คำสั่งดังกล่าว ยังรวมถึงการถอนตัวจากความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Agreement) คำสั่งให้ทุกกระทรวงจัดการกับภาวะเงินเฟ้อ การดำเนินการเรียกพนักงานของรัฐบาลกลางกลับเข้าทำงาน และคำสั่งคืนเสรีภาพในการพูดและป้องกันไม่ให้รัฐบาลเซ็นเซอร์เสรีภาพในการพูดในอนาคต

ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงาน 

ในสุนทรพจน์เปิดงาน ทรัมป์ประกาศ “สถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงานแห่งชาติ” แม้ว่าขณะนี้สหรัฐฯ จะผลิตน้ำมันมากกว่าประเทศอื่นๆ ในช่วงเวลาใดๆ ก็ตามเขาตั้งใจที่จะปรับปรุงกระบวนการอนุญาตและทบทวนกฎระเบียบที่  “สร้างภาระเกินควรต่อการผลิตและการใช้พลังงาน รวมถึงการขุดและแปรรูปแร่ธาตุที่ไม่ใช่เชื้อเพลิง” ตามรายการลำดับความสำคัญจากสำนักงานข่าวของทรัมป์

เขายังตั้งใจที่จะดำเนินการเพื่อยุติการให้เช่าที่ดินและน้ำสำหรับพลังงานลม และยกเลิกการกระทำของรัฐบาลไบเดนที่ส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า

ทรัมป์มองว่าราคาพลังงานเป็นสิ่งสำคัญต่อภารกิจในการแก้ไขปัญหาค่าครองชีพที่เพิ่มมากขึ้น และโต้แย้งว่าการลดขั้นตอนราชการที่ไม่จำเป็นจะช่วยลดราคาพลังงานลงและต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อโดยรวม

ทรัมป์กล่าวระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์รับตำแหน่งว่า “วิกฤตเงินเฟ้อเกิดจากการใช้จ่ายเกินตัวและราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมวันนี้ผมจึงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงานระดับชาติ

เราจะขุดเจาะน้ำมัน 

นักวิทยาศาสตร์ประกาศเมื่อต้นเดือนนี้ว่า โลกได้เพิ่มอุณหภูมิโลกขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เป็นครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นเกณฑ์สำคัญที่ผู้เชี่ยวชาญที่ทำการวิจัยจุดเปลี่ยนแปลงของโลกได้เตือนมนุษยชาติให้หลีกเลี่ยง และเป็นเป้าหมายที่ผู้นำโลกใฝ่ฝันเมื่อได้ลงนามในข้อตกลงปารีสในปี 2558

เมื่ออุณหภูมิเกิน 1.5 องศา วิกฤตสภาพอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการกักเก็บความร้อน และมลพิษจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เริ่มที่จะเกินขีดความสามารถของมนุษยชาติและโลกธรรมชาติที่จะปรับตัวได้

เดวิด เวิร์ธ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ของบอสตันคอลเลจและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศ กล่าวว่า การที่สหรัฐฯ เข้าร่วมการเจรจาระดับนานาชาติเกี่ยวกับปัญหาสภาพอากาศในลักษณะขึ้น ๆ ลงๆ อาจสร้างอันตรายได้

ความสมบูรณ์ของความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ในประเด็นนี้จะถูกนำมาตั้งคำถาม รวมถึงความน่าเชื่อถือในฐานะหุ้นส่วนสนธิสัญญาด้วย

การถอนข้อตกลงปารีสของทรัมป์ ถือเป็นหนึ่งประเด็นการเมืองว่าด้วยสิ่งแวด ล้อมที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก ก่อนหน้านี้ในสมัยแรกของทรัมป์ ได้ประ กาศถอนตัวออกจากการเป็นภาคีข้อตกลงปารีส เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2560) ซึ่งเป็นข้อตกลงที่รัฐบาลอเมริกันภายใต้การกำกับดูแลของประธานาธิบดี บารัค โอบามา ได้ลงสัตยาบันไว้เมื่อเดือนธ.ค.2559

การถอนตัวครั้งนี้ อาจส่งผลต่อการไม่บรรลุข้อตกลงลดก๊าซเรือนกระจก และอุณหภูมิของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เนื่องจากสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่ปล่อยมลพิษมากที่สุดอันดับ 2 ของโลก

สำนักข่าวต่างประเทศ ระบุว่า การถอนตัวออกจากข้อตกลงปารีส ซึ่งเป็นสนธิสัญญาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศที่ประเทศต่างๆ เกือบ 200 ประเทศตกลงที่จะทำงานร่วมกันเพื่อจำกัดภาวะโลกร้อน หลังจากปี 2567 โลกได้ก้าวข้ามการลดอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูง 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งนับย้อนไปถึงวันที่มีการนำข้อตกลงปารีสมาใช้

ข้อตกลงปารีสคืออะไร?

ในปี 2558 ประเทศต่างๆ มากกว่า 190 ประเทศได้รวมตัวกันที่การประชุมสุด ยอดด้านสภาพภูมิอากาศขององค์การสหประชาชาติที่กรุงปารีส และเห็นชอบกับสิ่งที่ต่อมาเรียกว่า ข้อตกลงปารีสหรือข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อจำกัดภาวะโลกร้อนให้อยู่ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส แต่จะดีกว่าหากอยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส

ประเทศต่าง ๆ ต่างเห็นพ้องกันว่าควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1.5 หรือ 2 องศาเซล เซียส โดยเกณฑ์ที่ต่ำกว่าเป็นเกณฑ์ที่นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศเสนอแนะ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นว่าธรรมชาติและความสามารถในการปรับตัวของมนุษยชาติต่อภาวะโลกร้อน จะลดลงอย่างมากหากโลกต้องเผชิญกับภาวะโลกร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 1.5 องศาเซลเซียส

รัฐบาลของไบเดน เสนอเป้าหมายใหม่ที่ทะเยอทะยานในนามของสหรัฐฯ ในเดือนธ.ค.2567 โดยระบุว่าประเทศจะลดมลภาวะทางอากาศลงมากถึง 66% จากระดับปี 2542 ภายในปี 2578

อ่านข่าว 

ย้อนผลงานสะเทือนโลก เมื่อครั้ง "ทรัมป์" นั่งเก้าอี้ผู้นำสหรัฐฯ สมัยแรก

“ทรัมป์” คืนบังลังก์ เขย่า “เทรดวอร์” สงครามการค้าสะเทือนทั่วโลก 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง